คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1586

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: ไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิปกครองเด็ก
บิดามารดาพิพาทกันเรื่องบุตรจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลให้บุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยตลอดชีวิตของจำเลย และมารดาเด็กยังได้จดทะเบียนเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมของจำเลยอีก แต่ปรากฏว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของจำเลยขาดความยินยอมของสามีจำเลย จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 และ พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว 2478 มาตรา 22 ดังนี้ จึงไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็ก และจำเลยเป็นบุคคลภายนอกคดีที่บิดามารดาเด็กยอมความกัน จำเลยจึงไม่ได้สิทธิตามกฎหมายอย่างไร ฉะนั้นจำต้องคืนเด็กให้แก่บิดามารดาเด็กนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: ผลหลังการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม และผลของการกระทำของผู้ปกครอง
เมื่อยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่เขาแล้วบิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วและแม้ภายหลังผู้รับบุตรบุญธรรมจะวายชนม์ เด็กนั้นก็ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของผู้วายชนม์นั้นอยู่ ฉะนั้นบิดามารดาเดิมของเด็กนั้นหรือภริยาของผู้รับบุตรบุญธรรมย่อมไม่มีอำนาจปกครองเด็กนั้นตามกฎหมายจึงไม่มีอำนาจทำนิติกรรมแทนเด็กได้ ถ้าขืนทำไปนิติกรรมนั้นๆ ก็ไม่ผูกพันเด็กให้ต้องรับผิด
มารดาเดิมของเด็กซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นอยู่ได้ตั้งตัวเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ฟ้องเรียกมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แล้วได้ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลให้แบ่งทรัพย์กัน โดยวิธีขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันศาลก็พิพากษาให้เป็นไปตามยอม ต่อมาได้มีการขอตั้งผู้ปกครองเด็กนั้นซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองจึงร้องขอต่อศาลในคดีเดิมให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกเอาเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้ายฟ้องดังนี้ การกระทำของผู้ปกครองดังกล่าวย่อมเป็นการรับรองกิจการที่มารดาเดิมของเด็กได้กระทำไปในเรื่องนั้น การกระทำของผู้ปกครองจึงย่อมผูกพันเด็กเหมือนเด็กได้ทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเด็กจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมดังกล่าวแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: สิทธิในการทำนิติกรรมและการผูกพันตามการกระทำของผู้ปกครอง
เมื่อยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่เขาแล้ว บิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบูญธรรมแล้ว และแม้ภายหลังผู้รับบุตรบูญธรรมจะวายชนม์ เด็นนั้นก็ยังคงเป็นบุตรบูญธรรมของผู้วายชนม์นั้นอยู่ ฉะนั้นบิดามารดาเดิมของเด็กนั้น หรือภริยาของผู้รับบุตรบูญธรรมย่อมไม่มีอำนาจปกครองเด็กนั้นตามกฎหมายจึงไม่มีอำนาจทำนิติกรรมแทนเด็กได้ ถ้าขืนทำไป นิติกรรมนั้นๆไม่ผูกพันเด็กให้ต้องรัยผิด
มารดาเดิมของเด็กซึ่งเป็นบุตรบูญธรรมคนอื่นอยู่ได้ตั้งตัวเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ฟ้องเรียกมรดกของผู้รับบุตรบูญธรรม แล้วได้ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลให้แบ่งทรัพย์กัน โดยวิธีขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกัน ศาลก็พิพากษาให้เป็นไปตามยอม ต่อมาได้มีการขอตั้งผู้ปกครองเด็กนั้น ซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองจึงร้องขอต่อศาลในคดีเดิมให้ดำนเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกเอาเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้าย ดังนี้ การกระทำของผู้ปกครอง
ดังกล่าวย่อมเป็นการรับรองกิจการที่มารดาเดิมของเด็กได้กระทำไปในเรื่องนั้นการกระทำของผู้ปกครองจึงย่อมผูกพันเด็กเหมือนเด็กได้ - ทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเด็กจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมดังกล่าวแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรของบุตรบุญธรรม: การรับมรดกแทนที่กันได้ตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่ ก.ม.ให้ไว้ตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: การรับมรดกแทนที่
บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่กฎหมายให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกบุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน vs สิทธิครอบครองที่ดิน
บุตรบุญธรรมตาม ก.ม.เก่า ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตาม ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 นั้น ไม่มีสิทธิรับมฤดกของผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่)
ฟ้องบรรยายว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามฤดก เจ้ามฤดกตายแล้วทรัพย์สินตกทอดมายังตนกับสามี ได้ครอบครองมาโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 6 ปี จำเลยเข้ามาไถหว่านในนาพิพาทนี้ จึงขอให้ขับไล่นั้น ถือว่าโจกท์ได้อ้างสิทธิครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นหลักแห่งขอ้หาในการขอให้บังคับจำเลยด้วย มิใช่อ้างสิทธิรับมฤดกแต่อย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า: สิทธิรับมรดก vs. สิทธิครอบครอง
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่)
ฟ้องบรรยายว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายแล้วทรัพย์สินตกทอดมายังตนกับสามี ได้ครอบครองมาโดย ความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 6 ปี จำเลยเข้ามาไถหว่านในนาพิพาทนี้ จึงขอให้ขับไล่นั้นถือว่า โจทก์ได้อ้างสิทธิครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นหลักแห่งข้อหาในการขอให้บังคับจำเลยด้วย มิใช่อ้างสิทธิรับมรดกแต่อย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับการพิจารณา
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันท์สามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้ มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ป.ม.แพ่งฯ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมฤดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ป.ม.แพ่ง ฯ
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มฤดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ. ได้รับโองเด็กเป็นบุตร อันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมฤดกของ พ. หรือไม่ ยังไม่ปรากฎ ความข้อนี้คู่ความยกขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์ ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้ แล้วพิพากษาใหม่.
of 4