พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,032 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-228/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดต้องครอบครองเป็นเจ้าของต่อเนื่องเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินที่มีโฉนดเป็นสำคัญ นั้น เมื่อจำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมายังไม่ถึง 10 ปี ย่อมยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ ฉะนั้น จะยกอำนาจปรปักษ์ขึ้นยันต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-228/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดต้องครอบครองนาน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินมีโฉนดเป็นสำคัญ นั้นเมื่อจำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมายังไม่ถึง 10 ปี ย่อมยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ฉะนั้น จะยกอำนาจปรปักษ์ขึ้นยันต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายชัดเจน และหักวันควบคุมออกจากโทษได้
(1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้น โดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วัน กล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั่นเอง แต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉย ๆ โดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาล แต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2) ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้ เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วัน ฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2508)
(2) ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้ เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วัน ฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้มีการสลักหลังและการอายัดเช็ค
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยได้รับการสลักหลังมาจากผู้ทรงคนอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คไว้โดยไม่สุจริตการที่จำเลยขออายัดเช็คนั้นต่อธนาคารไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบกับมาตรา914
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่งดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้นก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่งดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้นก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ทรงเช็ค แม้การได้มาซึ่งเช็คจะต่างจากที่ฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยได้รับการสลักหลังมาจากผู้ทรงคนอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คไว้โดยไม่สุจริต การที่จำเลยขออายัดเช็คนั้นต่อธนาคาร ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ประกอบกับมาตรา 914
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งเช็คจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้น ก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้าง ก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งเช็คจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้น ก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้าง ก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต่อศาล ไม่จำเป็นต้องสาบานตนก่อน หากความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิได้วางเกณฑ์องค์ประกอบความผิดไว้ว่า พยานที่เบิกความเท็จนั้นจะต้องได้สาบานหรือปฏิญาณตัวแล้วด้วยจึงจะมีความผิดดังเช่นในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 155ความมุ่งหมายอันเป็นสารสำคัญของมาตรา 177 อยู่ที่จะเอาผิดกับผู้เบิกความในข้อสำคัญแห่งคดีด้วยความเท็จเป็นสำคัญเพราะการเบิกความเท็จต่อศาลย่อมมีส่วนทำให้เสื่อมเสียความยุติธรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95-96/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่กระทบสิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิ
จำเลยครองครองที่ดินมีโฉนดมาเกิน 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ จำเลยจะอ้างอำนาจกาาครอบครองโดยปรปักษ์ใช้ยันกับโจทก์ซึ่งได้สิทธิในที่ดินนั้นมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคท้าย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุละเมิด ไม่เป็นโมฆะ แม้ลงวันที่ย้อนหลัง หากเจตนาคือการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ใช่เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยตามสัญญากู้ ซึ่งมีมูลหนี้เดิมจากการทำละเมิดของจำเลย อายุความเรียกร้องต้องเป็นไปตามเรื่องกู้ มิใช่เรื่องมูลละเมิด
จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยทำสัญญากู้ให้ไว้และโจทก์ยอมให้ลงวันที่ในสัญญากู้ย้อนหลังไปไม่ถือว่าสัญญากู้นั้นมีวัตถุประสงค์โดยตรงอันจะมีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการต้องหาคดีอาญาฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและไม่ใช่เป็นการทำสัญญากู้เพื่อให้โจทก์ช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดทางอาญาด้วยสัญญากู้จึงไม่เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีเป็นเรื่องจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทแก่เรือน เรือนครัว ยุ้งข้าว ข้าวเปลือก สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและต้นผลไม้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้ว
จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยทำสัญญากู้ให้ไว้และโจทก์ยอมให้ลงวันที่ในสัญญากู้ย้อนหลังไปไม่ถือว่าสัญญากู้นั้นมีวัตถุประสงค์โดยตรงอันจะมีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการต้องหาคดีอาญาฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและไม่ใช่เป็นการทำสัญญากู้เพื่อให้โจทก์ช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดทางอาญาด้วยสัญญากู้จึงไม่เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีเป็นเรื่องจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทแก่เรือน เรือนครัว ยุ้งข้าว ข้าวเปลือก สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและต้นผลไม้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อประชาชนตามประกาศคณะปฏิวัติฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่ มาตรา 217 ถึง มาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์