พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,032 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารเท็จที่ยื่นต่อศาลไม่ถือเป็นพยานหลักฐานสำคัญ หากข้อความในเอกสารนั้นไม่กระทบต่อการเรียกร้องค่าจ้าง
แต่เดิมจำเลยได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องเรียกมรดก ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญายอมกับอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจ่ายค่าจ้างว่าความไม่ครบตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าจ้างว่าความ จำเลยได้นำเอกสารใบมอบอำนาจซึ่งจำเลยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนในการว่าจ้างว่าความ หากไม่ได้รับความยินยอมจากตัวแทนก็ไม่ผูกมัดจำเลยแสดงต่อศาล ศาลพิพากษาว่าทรัพย์มรดกที่ฟ้องเรียกนั้นมีราคาเพียง 1 ล้าน โจทก์ได้ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยได้รับมรดกเพียง 2 แสนบาท ได้จ่ายค่าจ้างทนายเป็นเงิน 27,000 บาท พอสมควรแก่การปฏิบัติงานแล้ว โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีอาญาในคดีนี้ว่าจำเลยแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ศาลฎีกาเห็นว่าใบมอบอำนาจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารเท็จในการต่อสู้คดีแพ่ง ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 หากไม่มีผลต่อการตัดสิน
แต่เดิมจำเลยได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องเรียกมรดกต่อมาจำเลยได้ทำสัญญายอมกับอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจ่ายค่าจ้างว่าความไม่ครบตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าจ้างว่าความ จำเลยได้นำเอกสารใบมอบอำนาจซึ่งจำเลยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนในการว่าจ้างว่าความ หากไม่ได้รับความยินยอมจากตัวแทนก็ไม่ผูกมัดจำเลยแสดงต่อศาล ศาลพิพากษาว่าทรัพย์มรดกที่ฟ้องเรียกนั้นมีราคาเพียง 1 ล้าน โจทก์ได้ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยได้รับมรดกเพียงสองแสนบาท ได้จ่ายค่าจ้างทนายเป็นเงิน 27,000 บาท พอสมควรแก่การปฏิบัติงานแล้ว โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีอาญาในคดีนี้ว่าจำเลยแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180ศาลฎีกาเห็นว่าใบมอบอำนาจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีค่าเสียหายจากรถชน มีประเด็นคู่ความเดียวกัน ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่า จำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีประมาทจากอุบัติเหตุรถชน เมื่อศาลเคยพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว ฟ้องใหม่เป็นฟ้องต้องห้าม
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยและจำเลยร่วมแล้วแม้จำเลยและจำเลยร่วมจะคัดค้านไม่ยอมให้ถอน แต่ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร เพราะศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 175 วรรคสอง
ในคดีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเพื่อวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น เป็นเรื่องที่แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรจะยกขึ้นหรือไม่ก็ได้
ในคดีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเพื่อวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น เป็นเรื่องที่แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรจะยกขึ้นหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยและจำเลยร่วมแล้วแม้จำเลยและจำเลยร่วมจะคัดค้านไม่ยอมให้ถอนแต่ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร เพราะศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 175 วรรค 2
ในคดีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเพื่อวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น เป็นเรื่องที่แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรจะยกขึ้นหรือไม่ก็ได้
ในคดีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเพื่อวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น เป็นเรื่องที่แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรจะยกขึ้นหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในสัญญาขายฝาก: การตีความเจตนาที่แท้จริงและการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
เอกสารสัญญาขายฝากข้อแรกมีว่า ตกลงขายฝากมีกำหนดสองปีแต่ข้ออื่นถัดไปมีว่า กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปีข้อความทั้งสองข้อนี้จึงขัดแย้งกัน เพราะมีข้อความไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ทั้งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยให้การตลอดจนคำแถลงรับของโจทก์จำเลยนั้นก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ไม่ชัดแจ้งพอที่จะให้ศาลตีความตามเอกสารนั้นได้ กรณีจึงชอบที่จะให้มีการสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าเป็นเช่นใดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เอกสารสัญญาขายฝากข้อแรกมีว่า ตกลงขายฝากมีกำหนดสองปี แต่ข้ออื่นถัดไปมีว่า กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ข้อความทั้งสองข้อนี้จึงขัดแย้งกันเพราะมีข้อความไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ทั้งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยให้การตลอดจนคำแถลงรับของโจทก์จำเลยนั้นก็ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ไม่ชัดแจ้งพอที่จะให้ศาลตีความตามเอกสารนั้นได้ กรณีจึงชอบที่จะให้มีการสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าเป็นเช่นใดเสียก่อน