คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าในที่ดินควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น 'ที่ดินควบคุม' ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกเพื่อประกอบธุรกิจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย
จำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อประกอบการค้า ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยด้วย ตึกพิพาทก็มิใช่เคหะอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ
คดีนี้ พิพาทกันก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ออกใช้ จึงต้องบังคับคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อฟังว่าจำเลยใช้ตึกพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจการค้า จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่อค้าขายย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวระบุว่า ให้เช่าเป็นที่อยู่และค้าขาย แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เช่าเช่าด้วยเจตนาประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนสำคัญ แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489
เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีนี้พิพาทกันก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวออกใช้ ทั้งคดีก็ฟังได้ว่าผู้เช่าได้ใช้ห้องพิพาทโดยเจตนาเพื่อประกอบธุรกิจการค้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือค้าเป็นหลัก กำหนดสิทธิคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่จะถือว่าการเช่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าเช่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือไม่เป็นหลัก ถ้าเช่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแม้จะใช้เป็นที่ประกอบธุรกิจการค้า ฯ ด้วย ก็ย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าไม่ใช่เช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย แต่เพื่อประกอบธุรกิจการค้า ฯ แม้จะอยู่อาศัยด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การที่จะวินิจฉัยว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการค้านั้น จะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงแห่งการเช่าเป็นสำคัญ จะเพ่งเล็งเฉพาะข้อความในสัญญาเป็นประมาณไม่ได้ เช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 104 ตารางวา ปลูกบ้านไว้ถึง 8 หลัง ใช้อยู่อาศัยส่วนตัวเพียงหลังเดียว นอกนั้นปลูกให้คนอื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์จากค่าเช่า แม้สัญญาเช่าจะระบุว่าเช่าเพื่อปลูกบ้านอาศัยก็ตาม การใช้ที่เช่าก็ผิดจากจุดประสงค์ของการเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว แม้จะมีบ้านที่ใช้อยู่อาศัยเองหลังหนึ่ง ก็ยังต้องถือว่าเช่าที่รายนี้เพื่อการค้า
การที่ผู้ให้เช่าที่ดินให้ความยินยอมในการที่ผู้เช่าเอาบ้านให้เช่านั้น หามีผลให้การเช่าเพื่อการค้าเปลี่ยนไปเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นบังคับใช้กฎหมายควบคุมค่าเช่าสำหรับสถานศึกษา ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
การบัญญัติกฎหมายให้ทรัพย์สินของสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันนั้น ไม่ใช่เป็นการให้สิทธิพิเศษแก่สถานศึกษานั้นอันจะเป็นผลให้ไม่เสมอกันในกฎหมาย หรือทำให้เกิดเอกสิทธิขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมค่าเช่า: สิทธิของผู้เช่าช่วง
เดิมที่ดินและตึกพิพาทเป็นของโจทก์ให้ผู้ร้องเช่าอยู่อาศัยอันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่ามาก่อนแล้วต่อมาโจทก์โอนขายตึกให้จำเลยโดยไม่ขายที่ดินซึ่งมีเนื้อที่เพียงเท่าที่ตัวตึกตั้งอยู่ จำเลยรับซื้อตึกแล้วขอเช่าที่ดินเพียง 1 ปี พอซื้อแล้วจำเลยก็ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าที่ดินให้โจทก์เลย โจทก์จึงฟ้องและศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ดังนี้ จะเอาผลคำพิพากษานั้นมาบังคับขับไล่ผู้ร้องด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าแก่ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2497 มาตรา 3 ทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้างสถานศึกษานั้น ถ้าอยู่ภายในเขตที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศแล้ว ก็ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นค่าเช่าสำหรับทรัพย์สินจุฬาฯ เพื่อการศึกษา แม้ยังไม่มีงบประมาณสร้าง
ตามพ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้างสถานศึกษานั้น ถ้าอยู่ภายในเขตที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศแล้ว ก็ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตึกที่ไม่ได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ และผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้น เป็นสัญญาที่มีผลผูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา สัญญานั้นจึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับจำเลยเมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกรายพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้ ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับๆละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียวมีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วโดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่1593/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับผู้ให้เช่ารายใหม่สิ้นสุด และผลของการไม่จดทะเบียนสัญญาเช่า
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว นั้น เป็นสัญญาที่มีผลพูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาสัญญานั้น จึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับเลย เมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้
ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียว มีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้ว โดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่ 1593/2494)
of 4