พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงค้าไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ไม้ที่นำมาจำหน่ายเป็นไม้ที่ได้มาจากการกระทำผิด ต้องริบ
ตั้งโรงค้าไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 84 ฉะนั้น ไม้หวงห้ามแปรรูปที่นำมาไว้จำหน่ายในโรงค้าไม้ที่ตั้งขึ้นเป็นผิดนั้น จะซื้อมาโดยชอบหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นไม้ที่มีไว้เนื่องจากการกระทำผิด ต้องริบ ตามมาตรา 74
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดทรัพย์ภาษีอากรอยู่ภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทรัพย์สินยังเป็นของลูกหนี้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระค่าภาษีอากรที่ค้าง แต่ยังไม่ทันได้ขาย จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจึงยังคงอยู่แก่จำเลย และเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายย่อมเป็นทรัพย์ที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่มีทางที่จะถือได้ว่าทรัพย์นั้นได้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขับรถ: ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยเป็นแต่เพียงลูกจ้างขับรถยนต์ ซึ่งรับจ้างบรรทุกคนโดยสารและบรรทุกของเพื่อสินจ้าง ย่อมจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 ไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างขับรถไม่ถือเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยเป็นแต่เพียงลูกจ้างขับรถยนต์ซึ่งรับจ้างบรรทุกคนโดยสารและบรรทุกของเพื่อสินจ้าง ย่อมจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 ไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่12/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องซ้ำ: ผลกระทบต่อจำเลยและความเป็นธรรมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การแล้วก่อนวันชี้สองสถานหนึ่งวัน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งให้ส่งสำเนาให้จำเลย ถึงวันชี้สองสถานศาลยังไม่ได้สั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้านว่าทำให้จำเลยเสียหาย ดังนี้ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ควรดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังให้การแล้วและผลกระทบต่อจำเลย ศาลพิจารณาถึงสิทธิของจำเลยและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การแล้วก่อนวันชี้สองสถานหนึ่งวัน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งให้ส่งสำเนาให้จำเลย ถึงวันชี้สองสถานศาลยังไม่ได้สั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคัดค้านว่าทำให้จำเลยเสียหาย ดังนี้ ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ควรดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลอาญาไม่มีอำนาจสั่งปล่อยตัวผู้ถูกขังโดยหมายศาลทหาร แม้เป็นคดีที่โต้แย้งถึงอำนาจศาล
ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และศาลทหารตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหารต่างมีฐานะเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน จึงต่างไม่มีอำนาจเหมือนกัน ศาลต่อศาลจะมีอำนาจเหนือกันได้ก็แต่เฉพาะที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ฉะนั้น ศาลอาญาจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะมีอำนาจสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติได้ออกหมายขังไว้ได้
บุคคลที่ลงชื่อในหมายขังของศาลหาใช่กระทำเป็นส่วนตัวไม่ แต่กระทำในนามของศาลและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย จึงต้องถือว่าศาลนั้นเป็นผู้ก่อให้เกิดการขังนั้นขึ้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขับ หรือจำคุก ฯ มาได้เท่านั้น จะขยายความออกไปให้ศาลหมายเรียกศาลด้วยกันมาหาได้ไม่
บุคคลที่ลงชื่อในหมายขังของศาลหาใช่กระทำเป็นส่วนตัวไม่ แต่กระทำในนามของศาลและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย จึงต้องถือว่าศาลนั้นเป็นผู้ก่อให้เกิดการขังนั้นขึ้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขับ หรือจำคุก ฯ มาได้เท่านั้น จะขยายความออกไปให้ศาลหมายเรียกศาลด้วยกันมาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา เมื่อเหตุยกฟ้องเป็นเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา กรณีเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้ – การฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้เก็บรักษาสัญญาไว้และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทนโจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดย ส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริงโจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่าส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้โดยชอบแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส.ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือส.มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เสียได้