พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้ – การฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้เก็บรักษาสัญญาไว้และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทนโจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดย ส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริงโจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่าส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้โดยชอบแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส.ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือส.มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนและหลักการรับผิดชอบของตัวการ จำเลยต้องหลงเชื่อว่าเป็นกิจการของตัวการ
การที่จะถือว่าเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มารตรา 821 นั้น บุคคลภายนอกจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของตัวการถ้าไม่หลงเช่นนั้น กล่าวคือ เชื่อว่าเป็นกิจการของผู้มาติดต่อเอง ก็ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: ความเข้าใจผิดในกิจการ
การที่จะถือว่าเป็นตัวแทนเชิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 นั้น บุคคลภายนอกจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของตัวการ ถ้าไม่หลงเช่นนั้น กล่าวคือ เชื่อว่าเป็นกิจการของผู้มาติดต่อเอง ก็ไม่ใช่กรณีตาม มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: ผลของการสมรสก่อนการเพิกถอนสมรสเดิม
จำเลยจะอ้างในคำให้การต่อสู้คดีว่า การสมรสระหว่างจำเลยกับบุคคลอื่นเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา 1511
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา 1511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวแต่หลายบท: การบุกรุกและทำร้ายร่างกาย ศาลพิพากษาซ้ำไม่ได้หากฟ้องไปแล้ว
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายในเคหสถาน การบุกรุกเป็นกรรมเดียวและวาระเดียวกันกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยฐานบุกรุกอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
ความผิดกรรมเดียวที่ผิดกฎหมายหลายบท บางบทขึ้นศาลทหาร บางบทขึ้นศาลพลเรือน ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลวางโทษจำเลยในบทที่หนัก ก็ชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ๆ พิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ๆ พิพากษาลงโทษจำเลยในบทที่ขึ้นศาลทหารไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในความผิดที่ขึ้นศาลพบเรือนอีกไม่ได้ แม้ความผิดหลังนี้จะมีโทษหนักกว่าก็ตาม.
ความผิดกรรมเดียวที่ผิดกฎหมายหลายบท บางบทขึ้นศาลทหาร บางบทขึ้นศาลพลเรือน ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลวางโทษจำเลยในบทที่หนัก ก็ชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ๆ พิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ๆ พิพากษาลงโทษจำเลยในบทที่ขึ้นศาลทหารไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในความผิดที่ขึ้นศาลพบเรือนอีกไม่ได้ แม้ความผิดหลังนี้จะมีโทษหนักกว่าก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียว: ศาลยกฟ้องเมื่อศาลอื่นพิพากษาลงโทษไปแล้ว
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายในเคหสถานการบุกรุกเป็นกรรมเดียวและวาระเดียวกันกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำผิดกฎหมายหลายบทเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยฐานบุกรุกอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
ความผิดกรรมเดียวที่ผิดกฎหมายหลายบท บางบทขึ้นศาลทหารบางบทขึ้นศาลพลเรือน ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลวางโทษจำเลยในบทที่หนัก ก็ชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยในบทที่ขึ้นศาลทหารไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในความผิดที่ขึ้นศาลพลเรือนอีกไม่ได้ แม้ความผิดหลังนี้จะมีโทษหนักกว่าก็ตาม
ความผิดกรรมเดียวที่ผิดกฎหมายหลายบท บางบทขึ้นศาลทหารบางบทขึ้นศาลพลเรือน ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลวางโทษจำเลยในบทที่หนัก ก็ชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิพากษาในบทที่หนัก ถ้าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยในบทที่ขึ้นศาลทหารไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในความผิดที่ขึ้นศาลพลเรือนอีกไม่ได้ แม้ความผิดหลังนี้จะมีโทษหนักกว่าก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนต่อละเมิดของลูกจ้างตัวการต่างประเทศ
ตัวแทนในประเทศ มีหน้าที่ดำเนินธุระกิจจัดรับส่งสินค้าและผู้โดยสารแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ จะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะในกรณีที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น และไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการนั้นแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทน: ไม่ต้องรับผิดในละเมิดของลูกจ้างตัวการ
ตัวแทนในประเทศ มีหน้าที่ดำเนินธุระกิจจัดรับส่งสินค้าและผู้โดยสารแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ จะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะในกรณีที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น และไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน - สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุการกู้ยืม ถือเป็นหลักฐานได้ แม้ผู้กู้ไม่ลงลายมือชื่อในสัญญา
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทที่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญนั้น จะฟ้องร้องผู้กู้ให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่า หนี้แห่งการกู้ยืมจะเป็นโมฆะไปด้วยยังคงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ที่อาจมีการค้ำประกันได้ตามมาตรา 681
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล้ว
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุผู้กู้ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อในสัญญากู้
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทที่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญนั้น จะฟ้องร้องผู้กู้ให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปว่าหนี้แห่งการกู้ยืมจะเป็นโมฆะไปด้วย ยังคงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ที่อาจมีการค้ำประกันกันได้ตามมาตรา 681
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก้ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล็ว.
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก้ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล็ว.