คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
การุณย์นราทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน: การเรียกร้องค่าเช่าที่ดินหลังศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่พิพาท อ้างว่าภริยาโจทก์โอนขายให้จำเลยไปโดยไม่ได้รับความยินยอม คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริต พิพากษาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินรายพิพาทระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย ดังนี้ ถ้าโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกว่านับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับโอนที่ดินรายพิพาทและห้องแถวไปจากภริยาโจทก์ จำเลยได้เก็บค่าเช่าที่ดินและห้องแถวไปจำนวนหนึ่ง ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนนั้นแก่โจทก์ ย่อมเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขจำนวนค่าเสียหายและดอกเบี้ยในคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น แม้โจทก์ฎีกาขึ้นมาฝ่ายเดียวและศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นได้รวมจำนวนค่าเสียหายตามรายการที่กำหนดให้แก่โจทก์ผิดพลาดเกินจำนวนอันแท้จริงไป 1,000 บาท ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามมาตรา143แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาแก้จำนวนค่าเสียหายให้ถูกต้องได้ และที่ศาลชั้นต้นมิได้กล่าวในคำพิพากษาให้ชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าเสียหายที่ให้โจทก์ได้รับด้วยนั้น ให้คิดในอัตราเท่าใดและเริ่มแต่เมื่อใด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ชัดแจ้งได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาแก้ไขจำนวนค่าเสียหายและกำหนดดอกเบี้ยในคดีละเมิด แม้มีการฎีกาฝ่ายเดียว
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น แม้โจทก์ฎีกาขึ้นมาฝ่ายเดียว และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นได้รวมจำนวนค่าเสียหายตามรายการที่กำหนดให้แก่โจทก์ผิดพลาดเกินจำนวนอันแท้จริงไป 1,000 บาท ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพิพากษาแก้จำนวนค่าเสียหายให้ถูกต้องได้ และที่ศาลชั้นต้นมิได้กล่าวในคำพิพากษาให้ชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าเสียหายที่ให้โจทก์ได้รับด้วยนั้น ให้คิดในอัตราเท่าใดและเริ่มแต่เมื่อใด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ชัดแจ้งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโต้แย้งสัญชาติหลังถูกสั่งให้ออกจากประเทศ การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวไม่ขัดขวางการพิสูจน์สัญชาติไทย
เมื่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองสั่งไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักรและให้ออกไปให้พ้น ถ้าผู้นั้นได้โต้แย้งคำสั่งว่าเขาเป็นคนเกิดในประเทศไทย จะแต่งทนายร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ดังนี้ ถือว่ามีข้อโต้แย้ง ชอบที่จะฟ้องศาลได้
การที่ได้แสดงตนและเอกสารว่าเป็นคนต่างด้าวมาก่อนแล้วก็กลับพิสูจน์ความจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโต้แย้งสัญชาติ: การแสดงเจตนาคัดค้านคำสั่งห้ามเข้าประเทศ ถือเป็นการโต้แย้งสัญชาติและมีสิทธิฟ้องร้องได้
เมื่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองสั่งไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักร และให้ออกไปให้พ้น ถ้าผู้นั้นได้โต้แย้งคำสั่งว่าเขาเป็นคนเกิดในประเทศไทย จะแต่งทนายร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ดังนี้ ถือว่ามีข้อโต้แย้ง ชอบที่จะฟ้องศาลได้
การที่ได้แสดงตนและเอกสารว่าเป็นคนต่างด้วยมาก่อนแล้ว ก็กลับพิสูจน์ความจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนในการได้มาซึ่งที่ดิน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนฯลฯพ.ศ.2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า 'ห้างหุ้นส่วน'ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนอันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความหมายในประมวลกฎหมายที่ดินนั้นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้นถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความมิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วน ฯลฯ พ.ศ. 2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า "ห้างหุ้นส่วน" ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน อันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความในประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความ มิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้ เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องแบ่งมรดกซ้ำซ้อน แม้เปลี่ยนฐานสิทธิเรียกร้อง ศาลยกฟ้องตามมาตรา 173
ถ้าปรากฏว่าได้เคยฟ้องเรียกทรัพย์มรดกรายเดียวกันมาครั้งหนึ่งและคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีก ถึงแม้ว่าการฟ้องสองคราวนี้จะอ้างสิทธิต่างกัน โดยคดีแรกอ้างความเป็นทายาทปกครองมรดกร่วมกันมา ส่วนคดีหลังอ้างสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ดี ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถของกลางที่ถูกยึดและการซื้อขายโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาต ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริต โดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดี บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้น ต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาลและศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้ รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถของกลาง ผู้ซื้อโดยสุจริตได้รับกรรมสิทธิ์ แม้รถยังถูกยึดเป็นของกลางอยู่
รถยนต์ของกลางของจำเลยในคดีความผิดฐานรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร และใช้รถยนต์วิ่งบนทางหลวงที่ยังมิได้เปิดเป็นถนนสาธารณโดยไม่รับอนุญาตซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้และได้มอบให้บุคคลอื่นรักษาไว้ในระหว่างคดี หากจำเลยได้เอารถคันนั้นไปโอนขายให้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกได้รับซื้อไว้โดยสุจริตโดยไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดีบุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นต่อมาภายหลังเมื่อคดีถึงศาล และศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บุคคลภายนอกผู้นั้นย่อมร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นได้รูปคดีเช่นนี้จะปรับด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่
of 57