พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าฯ นายหน้าหาลูกค้าไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการประกันภัย
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.2471(แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยฯ (ฉบับที่3) พ.ศ.2489 มาตรา 3) นั้น ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการประกันภัยเอง หาใช่เป็นแต่เพียงตัวแทนหรือนายหน้าเท่านั้นไม่ โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย(ซึ่งเป็นเพียงนายหน้า)ตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นอายุเมื่อชำระเบี้ยเกินกำหนด แม้จะมีการรับเงินภายหลังก็ไม่ถือเป็นการต่ออายุ
การประกันชีวิตซึ่งตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันคราวใดเมื่อถึงกำหนด กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ นั้น เมื่อผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันเมื่อพ้นกำหนดเวลาและล่วงพ้นวันผ่อนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ ไม่มีผลผูกพันต่อไป บริษัทรับประกันจึงไม่ต้องรับผิด แม้ต่อมาผู้เอาประกันจะถึงแก่ความตายก็ตาม
ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันที่มีเงื่อนไขว่ายังไม่สมบูรณ์มีผลบังคับจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่ออายุกรมธรรม์นั้น จะถือว่าการชำระเบี้ยประกันสมบูรณ์และเป็นการต่ออายุกรมธรรม์ย่อมไม่ได้
ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันที่มีเงื่อนไขว่ายังไม่สมบูรณ์มีผลบังคับจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่ออายุกรมธรรม์นั้น จะถือว่าการชำระเบี้ยประกันสมบูรณ์และเป็นการต่ออายุกรมธรรม์ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเปิดทางให้โจทก์ฎีกาในกระทงความผิดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างจากศาลชั้นต้น แม้จะรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกัน
การที่จะปรับบทว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ชอบที่จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทงๆ ไป เสมือนมิได้รวมแต่ละกระทงความผิดฟ้องมาในคดีเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทงหนึ่ง และผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯ มาตรา 16, 33อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลดโทษให้แล้วคงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทพิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ดังนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทงหนึ่ง และผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯ มาตรา 16, 33อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลดโทษให้แล้วคงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทพิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ดังนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาหลายกระทง และขอบเขตการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
การที่จะปรับบทว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ชอบที่จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทง ๆไป เสมือนมิได้ร่วมแต่ละกระทงความผิดฟ้องมาในคดีเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2+1 กระทงหนึ่งและผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 16,33 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ลดโทษให้แล้ว ลงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาท พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯมาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ทั้งนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2+1 กระทงหนึ่งและผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 16,33 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ลดโทษให้แล้ว ลงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาท พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯมาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ทั้งนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เป็นหลักประกันการชำระหนี้จากค่าจ้างเหมางาน การนำสืบข้อตกลงอันแท้จริงทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปแล้ว โจทก์ไปทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และรับเงินโจทก์ โจทก์เชิด พ. เป็นตัวแทนรับจ้างเหมาทำงานของทางราชการ แล้วให้จำเลยกับพ.เป็นผู้ลงแรงและเพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อจำเลยกับพ. รับเงินค่าจ้างจากทางราชการแล้วจะนำมามอบให้โจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยและ พ. ทำหนังสือสัญญากู้ไว้ให้คนละฉบับ โดยมิได้มีการรับเงินตามสัญญานั้น จำเลยกับ พ. ได้มอบเงินให้โจทก์ทุกครั้งที่รับมา คงเหลืองวดสุดท้ายที่ถูกทางราชการหักไว้เป็นค่าปรับ จึงไม่สามารถนำเงินมาให้โจทก์เพื่อขอสัญญากู้คืน ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ได้ เพราะเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้ขึ้นประการหนึ่ง กับนำสืบว่ามูลหนี้อันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้นไม่มี อีกประการหนึ่ง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775-776/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อนุญาตขยายเวลา ยื่นฎีกา เหตุสุดวิสัยไม่ครอบคลุมละเลยหน้าที่ และจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านการยึดทรัพย์
เมื่อเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยืดเวลาให้จำเลยมีโอกาสยื่นฎีกา โดยอ้างว่าทนายจำเลยมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แทน ผู้รับมอบฉันทะนั้นฟังแล้วมิได้แจ้งผลของคำพิพากษาให้ทนายทราบเพราะความเจ็บป่วยพลั้งเผลอหลงลืมทนายจำเลยจึงไม่ทราบผลคำพิพากษา ส่วนจำเลยเองไปต่างจังหวัดและล้มป่วย เพิ่งทุเลาและมาพบกับทนายหลังวันครบกำหนดยื่นฎีกาแล้วพากันไปสืบที่ศาล จึงทราบว่าได้อ่านคำพิพากษาไปจนเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาเสียแล้ว ดังนี้ เหตุเท่าที่อ้างนั้นมิใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาได้ และไม่พึงถือได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายกำหนดเวลายื่นฎีกาด้วยศาลย่อมสั่งยกคำร้องได้โดยมิต้องไต่สวนก่อน
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะรู้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของตน ลูกหนี้ก็ไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านหรือโต้แย้งการนำยึดนั้น ทั้งไม่มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้เจ้าของทรัพย์นั้นทราบด้วย และเมื่อลูกหนี้นั้นไม่ได้ร่วมกับเจ้าหนี้กระทำการยึดทรัพย์นั้นมาขายทอดตลาดด้วยประการใด ก็จะฟังว่าได้ร่วมกระทำละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ไม่ได้แม้เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นถูกนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้และลูกหนี้ก็ยอมรับเอาประโยชน์นั้นด้วย ก็จะถือเป็นเหตุว่าลูกหนี้นั้นได้ร่วมกับเจ้าหนี้กระทำละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ไม่ได้อยู่นั่นเอง
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะรู้ว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของตน ลูกหนี้ก็ไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านหรือโต้แย้งการนำยึดนั้น ทั้งไม่มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้เจ้าของทรัพย์นั้นทราบด้วย และเมื่อลูกหนี้นั้นไม่ได้ร่วมกับเจ้าหนี้กระทำการยึดทรัพย์นั้นมาขายทอดตลาดด้วยประการใด ก็จะฟังว่าได้ร่วมกระทำละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ไม่ได้แม้เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นถูกนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้และลูกหนี้ก็ยอมรับเอาประโยชน์นั้นด้วย ก็จะถือเป็นเหตุว่าลูกหนี้นั้นได้ร่วมกับเจ้าหนี้กระทำละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ไม่ได้อยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อในการขับรถโดยสารรับส่งคนโดยสาร ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
จำเลยมีอาชีพขับรถยนต์รับส่งคนโดยสารประจำทาง จำเลยมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสภาพของรถให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยแก่ผู้โดยสารตลอดจนประชาชนคนเดินถนนและยวดยานต่างๆ ก่อนที่จะนำรถออกเดินรับส่งคนโดยสาร แต่กลับละเลยไม่ปฏิบัติ ได้ขับรถนั้นมาทั้งๆ ห้ามล้อมือใช้การไม่ได้ ทั้งยังฝ่าฝืนรับบรรทุกคนโดยสารเกินอัตราที่ได้รับอนุญาต เมื่อรถมีน้ำหนักมากลงสะพานจึงทำให้แล่นเร็วขึ้นยิ่งยากแก่การควบคุมขับขี่ ครั้นเมื่อรู้ว่าห้ามล้อเท้าใช้การไม่ได้ จำเลยก็ชอบที่จะบรรเทาผลร้ายโดยใช้ความระมัดระวังคุมพวงมาลัยบังคับรถให้เบียดชิดขอบทางไว้ตลอดเวลาให้รถหยุด แต่ก็มิได้ปฏิบัติทั้งๆ มีโอกาสปฏิบัติได้ รถจึงได้แล่นเปะปะไปชนรถยนต์และทับคนตาย ดังนี้ จำเลยต้องมีผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าตึกแถวไม่เป็นเคหะ สิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่ตกลงกันย่อมใช้ได้ แม้ไม่ได้แจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด 5 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ได้กำหนดวิธีบอกเลิกสัญญาเช่ากันไว้ว่า จะต้องบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 1 เดือน เมื่อเช่ากันมาครบกำหนด 5 ปี ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกให้ผู้เช่าทราบก่อนฟ้องตามสัญญาเช่า 1 เดือนแล้ว ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขับไล่ได้ โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
ทำหนังสือสัญญาเช่า เจตนาตกลงกันเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าตึกที่เช่าย่อมไม่ใช่เคหะ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอื่น นอกจากการดังกำหนดไว้ในสัญญาเช่าหาได้ไม่
ทำหนังสือสัญญาเช่า เจตนาตกลงกันเช่าเพื่อประกอบธุรกิจการค้าตึกที่เช่าย่อมไม่ใช่เคหะ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอื่น นอกจากการดังกำหนดไว้ในสัญญาเช่าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738-740/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์/เช็คไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
การพิจารณาของศาลตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น อาจพิจารณาได้จากสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องออกนั่งพิจารณาฟังพยานหลักฐานอะไรอีกก็ได้
เจ้าหนี้ให้เงินตามจำนวนในเช็คแก่ลูกหนี้ไปแลกกับเช็คที่ลูกหนี้ออกให้ลงวันออกล่วงหน้าไว้ แต่วันที่ลงในเช็คเป็นวันภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช็คนี้จึงเพิ่งเกิดมูลหนี้ขึ้นภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่และจะขอรับชำระหนี้จำนวนนี้ในฐานเป็นหนี้กู้ยืมในเมื่อไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมต่อกัน เพียงแต่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเช็คไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม (อ้างฎีกาที่ 1595/2503) จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา94 อีก
เจ้าหนี้ให้เงินตามจำนวนในเช็คแก่ลูกหนี้ไปแลกกับเช็คที่ลูกหนี้ออกให้ลงวันออกล่วงหน้าไว้ แต่วันที่ลงในเช็คเป็นวันภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช็คนี้จึงเพิ่งเกิดมูลหนี้ขึ้นภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่และจะขอรับชำระหนี้จำนวนนี้ในฐานเป็นหนี้กู้ยืมในเมื่อไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมต่อกัน เพียงแต่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเช็คไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม (อ้างฎีกาที่ 1595/2503) จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา94 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาตามคำรับสารภาพ แม้ศาลจะสืบพยานเพิ่มเติมได้ หากข้อเท็จจริงไม่สอดคล้องกับคำรับสารภาพ ศาลต้องยกฟ้อง
แม้คดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ก็ดี แต่ถ้าหากปรากฏข้อเท็จจริงจากพยานที่สืบไว้ก่อนจำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยมิได้กระทำผิดแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185