พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโอนและจำนองที่ดินเป็นโมฆะจากเจตนาทุจริต ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจโดยยังไม่กรอกข้อความจำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่1โดยโจทก์ไม่รู้เห็นด้วยนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นจากการทุจริตจึงตกเป็น โมฆะ ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยที่2รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่2มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ เพิกถอนนิติกรรม จำนองระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ที่ไม่ผูกพันจำเลย เพราะตัวแทนทำสัญญาเองโดยไม่ได้รับความยินยอม
แม้ตัวแทนของจำเลยจะได้ทำสัญญาขายไม้ให้แก่โจทก์แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตัวแทนของจำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยกับตัวแทนของจำเลยเองโดยอาศัยโจทก์เป็นเครื่องมือ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ สัญญานั้นย่อมไม่ผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 805
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ที่ไม่ผูกพันจำเลย เนื่องจากตัวแทนทำสัญญาเองโดยไม่ได้รับความยินยอม
แม้ตัวแทนของจำเลยจะได้ทำสัญญาขายไม้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตัวแทนของจำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยกับตัวแทนของจำเลยเองโดยอาศัยโจทก์เป็นเครื่องมือ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ สัญญานั้นย่อมไม่ผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 805
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินต้องทำเป็นหนังสือ หากยังไม่ได้ทำสัญญาเสร็จสมบูรณ์ แม้จะมีการมอบเงินแล้ว สัญญาจึงยังไม่ผูกพัน
โจทก์เป็นข้าราชการครูและเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลย ได้ยื่นคำขอกู้เงินจำเลย 6,500 บาท โดยมอบอำนาจให้ ว. ศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยเป็นผู้รับเงินแทน ในหนังสือมอบอำนาจนั้นระบุไว้ด้วยว่าเมื่อโจทก์ได้รับเงินกู้จากผู้รับมอบอำนาจ โจทก์จะลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันตามแบบของสหกรณ์ให้เสร็จไปจำเลยยอมให้กู้เพียง 6,300 บาท น้อยกว่าที่โจทก์เสนอ และได้มอบเงินให้ ว.รับไปโดย ว. ทำคำรับรองให้ไว้ต่อจำเลยว่าจะนำเงินรายนี้ไปจ่ายให้ผู้กู้ และเมื่อจ่ายเงิน จะได้จัดให้ผู้กู้และผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และหนังสือค้ำประกันต่อหน้า ว. ซึ่งจะได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย แล้วจะได้จัดส่งหนังสือกู้และค้ำประกันต่อจำเลยโดยเร็วที่สุด ว. จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยอยู่ด้วย เมื่อ ว.ยังไม่ได้มอบเงินให้โจทก์ จะถือว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้โจทก์แล้วยังไม่ได้ ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจและคำรับรองของ ว. ก็มีข้อความแสดงอยู่ว่า การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา366 วรรคท้าย ให้นับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือ การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินต้องทำเป็นหนังสือ แม้จะมอบอำนาจให้รับเงินแทน หากยังไม่ได้ทำสัญญากู้เป็นหนังสือ สัญญาไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นข้าราชการครูและเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลย ได้ยื่นคำขอกู้เงินจำเลย 6,500 บาท โดยมอบอำนาจให้ ว. ศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยเป็นผู้รับเงินแทน ในหนังสือมอบอำนาจนั้นระบุไว้ด้วยว่าเมื่อโจทก์ได้รับเงินกู้จากผู้รับมอบอำนาจ โจทก์จะลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันตามแบบของสหกรณ์ให้เสร็จไปจำเลยยอมให้กู้เพียง 6,300 บาท น้อยกว่าที่โจทก์เสนอ และได้มอบเงินให้ ว.รับไป โดย ว. ทำคำรับรองให้ไว้ต่อจำเลยว่าจะนำเงินรายนี้ไปจ่ายให้ผู้กู้ และเมื่อจ่ายเงิน จะได้จัดให้ผู้กู้และผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในหนังสือกู้และหนังสือค้ำประกันต่อหน้า ว. ซึ่งจะได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย แล้วจะได้จัดส่งหนังสือกู้และค้ำประกันต่อจำเลยโดยเร็วที่สุด ว. จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยอยู่ด้วย เมื่อ ว.ยังไม่ได้มอบเงินให้โจทก์ จะถือว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้โจทก์แล้วยังไม่ได้ ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจและคำรับรองของ ว. ก็มีข้อความแสดงอยู่ว่า การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366 วรรคท้าย ให้นับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือ การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2516)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ที่เป็นโมฆะ เนื่องจากการสมยอมกันโดยไม่สุจริต และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับวัด
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย. เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า. ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย. แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า.กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด.ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส.ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด. คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท. จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท. เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์.ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป. โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน. แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการซื้อสินค้าจากตนเอง: ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ
กรรมการร้านค้าซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้มีมติแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการร้านค้านั้น ย่อมเป็นเรื่องแต่งตั้งผู้จัดการตามธรรมดา ฉะนั้นผู้จัดการย่อมไม่มีอำนาจที่จะซื้อสินค้าจากร้านของผู้จัดการเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการของร้านค้านั้นก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนมอบหมายตัวแทนรับเงินเดิมพัน & สิทธิเรียกคืนเงิน
การเป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่ายย่อมเป็นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 805
นายบ่อนชนโครับเงินเดิมพันจากคู่พนันทั้งสองฝ่ายไว้ เพื่อมอบเงินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายชนะพนันนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเงินทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ยังมิได้จ่ายเงินไปตามที่ได้รับมอบหมายไว้ผู้วางเงินเดิมพันมีสิทธิที่จะถอนอำนาจที่ได้มอบหมายนั้น คือสั่งให้งดการจ่ายเงินของตนและขอคืนไปได้ และในกรณีเช่นนี้ถือว่านายบ่อนมิใช่คู่พนันขันต่อกับผู้วางเงินเดิมพัน แต่หากเป็นคนกลางหรือเป็นตัวแทนของคู่พนันเท่านั้นจึงไม่เข้าลักษณะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 853 ผู้วางเดิมพันจึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินเดิมพันที่ตนมอบหมายไว้ คืนจากนายบ่อนได้ในเมื่อได้บอกกล่าวขอคืนก่อนนายบ่อนจ่ายเงินนั้นให้คู่พนันอีกฝ่ายหนึ่งไป
นายบ่อนชนโครับเงินเดิมพันจากคู่พนันทั้งสองฝ่ายไว้ เพื่อมอบเงินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายชนะพนันนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเงินทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ยังมิได้จ่ายเงินไปตามที่ได้รับมอบหมายไว้ผู้วางเงินเดิมพันมีสิทธิที่จะถอนอำนาจที่ได้มอบหมายนั้น คือสั่งให้งดการจ่ายเงินของตนและขอคืนไปได้ และในกรณีเช่นนี้ถือว่านายบ่อนมิใช่คู่พนันขันต่อกับผู้วางเงินเดิมพัน แต่หากเป็นคนกลางหรือเป็นตัวแทนของคู่พนันเท่านั้นจึงไม่เข้าลักษณะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 853 ผู้วางเดิมพันจึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินเดิมพันที่ตนมอบหมายไว้ คืนจากนายบ่อนได้ในเมื่อได้บอกกล่าวขอคืนก่อนนายบ่อนจ่ายเงินนั้นให้คู่พนันอีกฝ่ายหนึ่งไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนมอบหมายตัวแทนรับเงินเดิมพัน และสิทธิเรียกคืนเงินจากตัวแทน
การเป็นตัวแทนของทั้สองฝ่ายย่อมเป็นได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 805
นายบ่อนชนโครับเงินเดิมพันจากคู่พะนันทั้งสองฝ่ายไว้ เพื่อมอบเงินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายชะนะพนันนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเงินทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ยังมิได้จ่ายเงินไปตามที่ได้รับมอบหมายไว้ ผู้วางเงินเดิมพันมีสิทธิที่จะถอนอำนาจที่ได้มอบหมายนั้น คือสั่งให้งดการจ่ายเงินของตนและขอคืนไปได้ และในกรณีเช่นนี้ถือว่า นายบ่อนมิใช่คู่พะนันขันต่อกับผู้วางเงินเดิมพัน แต่หากเป็นคนกลางหรือเป็นตัวแทนของคู่พะนันเท่านั้น จึงไม่เข้าลักษณะ ป.พ.พ.มาตรา 853 ผู้วางเดิมพันจึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินเดิมพันที่ตนมอบหมายไว้ คืนจากนายบ่อนได้ ในเมื่อได้บอกกล่าวขอคืนก่อนนายบ่อนจ่ายเงินนั้น ให้คู่พะนันอีกฝ่ายหนึ่งไป.
นายบ่อนชนโครับเงินเดิมพันจากคู่พะนันทั้งสองฝ่ายไว้ เพื่อมอบเงินทั้งหมดให้แก่ฝ่ายชะนะพนันนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเงินทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ยังมิได้จ่ายเงินไปตามที่ได้รับมอบหมายไว้ ผู้วางเงินเดิมพันมีสิทธิที่จะถอนอำนาจที่ได้มอบหมายนั้น คือสั่งให้งดการจ่ายเงินของตนและขอคืนไปได้ และในกรณีเช่นนี้ถือว่า นายบ่อนมิใช่คู่พะนันขันต่อกับผู้วางเงินเดิมพัน แต่หากเป็นคนกลางหรือเป็นตัวแทนของคู่พะนันเท่านั้น จึงไม่เข้าลักษณะ ป.พ.พ.มาตรา 853 ผู้วางเดิมพันจึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินเดิมพันที่ตนมอบหมายไว้ คืนจากนายบ่อนได้ ในเมื่อได้บอกกล่าวขอคืนก่อนนายบ่อนจ่ายเงินนั้น ให้คู่พะนันอีกฝ่ายหนึ่งไป.