พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาจากขนาดบาดแผลและเหตุการณ์ขณะกระทำ
จำเลยตั้งใจจะหนีให้พ้นการจับกุม เป็นการจวนตัวจึงได้แทงไปหมายจะเอาตัวรอดเท่านั้นทั้งบาดแผลที่ตำรวจถูกแทงที่คอก็มีขนาดเล็ก กว้าง 3/4 เซนติเมตรยาว3/4เซนติเมตร ลึก 1 เซนติเมตร ต่อมาประมาณ 1 เดือน ตำรวจก็ตายเพราะแผลที่เย็บไม่ติดกัน ให้อาหารไม่ได้โดยอาหารรั่วออกทางแผล ร่างกายทรุดโทรมลงจนกระทั่งตายเช่นนี้ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะฆ่าให้ถึงตายจำเลยยังไม่มีผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานตาม มาตรา 289 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตาย ตามมาตรา 290 วรรคท้าย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคท้ายจำคุก 18 ปี ลด 1 ใน 3 ตาม มาตรา 78คงจำคุก 12 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289 ศาลฎีกาเห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ผิดตามมาตรา 289 คงผิดตามมาตรา 290 วรรคท้าย แต่ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์วางโทษเบาและลดโทษให้มากไปศาลฎีกามีอำนาจแก้เป็นให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปีลดโทษให้ 4 ปีคงจำคุก 16 ปีได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคท้ายจำคุก 18 ปี ลด 1 ใน 3 ตาม มาตรา 78คงจำคุก 12 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289 ศาลฎีกาเห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ผิดตามมาตรา 289 คงผิดตามมาตรา 290 วรรคท้าย แต่ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์วางโทษเบาและลดโทษให้มากไปศาลฎีกามีอำนาจแก้เป็นให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปีลดโทษให้ 4 ปีคงจำคุก 16 ปีได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การ และประเด็นการฎีกาที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย
คดีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยว่าจะรับเป็นคำให้การเพิ่มเติมหรือไม่นั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การนี้เสียก่อนแล้วจึงให้ดำเนินการพิจารณาต่อไปได้
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่าไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติมแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบในข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่าไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติมแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบในข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การ และการไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยว่าจะรับเป็นคำให้การเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การนี้เสียก่อน แล้วจึงให้ดำเนินการพิจารณาต่อไปได้
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่า ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติม ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบให้ข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่า ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติม ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบให้ข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขอแบ่งที่งอกหลังเคยฟ้องขอแบ่งที่ดินเดิมแล้ว แม้ไม่ได้ระบุในฟ้องเดิม
ก่อนฟ้องคดีก่อน โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีที่งอกครั้นเวลาโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ฟ้องขอแบ่งเพียงที่ดินภายในโฉนดไม่ได้ฟ้องขอแบ่งที่งอกด้วยเหตุที่ฟ้องอ้างว่า ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนางเปลื้องผู้ตายซึ่งเป็นมารดาจำเลย ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมา โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลังขอแบ่งที่งอกอีกอ้างว่าเป็นสินสมรสเช่นคดีก่อนถือว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งทรัพย์สินเดิมที่เคยฟ้องแล้ว แม้จะแยกเป็นส่วนของที่งอก ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ก่อนฟ้องคดีก่อน โจทก์ ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีที่งอก ครั้นเวลาโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ฟ้องขอแบ่งเพียงที่ดินภายในโฉนด ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งที่งอกด้วย เหตุที่ฟ้องอ้างว่า ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนางเปลื้องผู้ตายซึ่งเป็นมารดาจำเลย ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมา โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลัง ขอแบ่งที่งอกอีกอ้างว่าเป็นสินสมรสเช่นคดีก่อน ถือว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินของผู้รับมอบ: สิทธิการครอบครองยังไม่สละ หากไม่ได้มอบหมายอย่างชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และได้ความจากผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นน้องผู้เสียหายๆ ได้ให้จำเลยเอาเงินไปเก็บในตู้ซึ่งเป็นที่เก็บเงินและเสื้อผ้า ตู้นี้อยู่ในห้องนอนของผู้เสียหายผู้เสียหายได้มอบกุญแจตู้ให้จำเลยไปด้วย ข้อเท็จจริงดังนี้จะถือว่าผู้เสียหายสละสิทธิการครอบครองเงินนั้นให้แก่จำเลยแล้ว ยังไม่ได้ผู้เสียหายยังมีสิทธิครอบครองเงินนั้นอยู่ รูปคดีอาจเป็นเรื่องลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก ซึ่งศาลควรฟังพยานโจทก์ต่อไป ไม่ควรสั่งงดสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบกุญแจตู้เก็บเงิน ไม่ถือเป็นการสละสิทธิครอบครอง ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นน้องผู้เสียหาย ๆ ได้ให้จำเลยเอาเงินไปเก็บในตู้ซึ่งเป็นที่เก็บเงินและเสื้อผ่า ตู้นี้อยู่ในห้องนอนของผู้เสียหาย ๆ ได้มอบกุญแจตู้ให้จำเลยไปด้วย ข้อเท็จจริงดังนี้จะถือว่า ผู้เสียหายสละสิทธิการครอบครองเงินนั้นให้แก่จำเลยแล้ว ยังไม่ได้ ผู้เสียหายยังมีสิทธิครอบครองเงินนั้นอยู่ รูปคดีอาจะเป็นเรื่องลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก ซึ่งศาลควรฟังพยานโจทก์ต่อไป ไม่ควรสั่งงดสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางในที่ดินแบ่งแยก: กรณีที่ดินเดิมผืนเดียวกันและภารจำยอมตามกฎหมาย
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับของ ก. และ ว. และเป็นของบิดาโจทก์ ต่อมาบิดาโจทก์ตาย ที่ดินแปลงนั้นได้แบ่งแยกตกได้แก่โจทก์ ก. และ ว. ที่ดินของโจทก์อยู่ด้านในโจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของ ก. และ ว. ออกสู่ทางสาธารณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์หามีสิทธิผ่านออกในที่ดินแปลงอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางออก (ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและมีทางออกอื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับของ ก. และ ว . และเป็นของบิดาโจทก์ ต่อมาบิดาโจทก์ตาย ที่ดินแปลงนั้นได้แบ่งแยกตกได้แก่โจทก์ , ก. และ ว. ที่ดินของโจทก์อยู่ด้านในโจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของ ก.และ ว. ออกสู่ทางสาธารณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์หามีสิทธิผ่านออกในที่ดินแปลงอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาสั่งซื้อเป็นสัญญากู้: ข้อต่อสู้ที่ขัดต่อสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในฐานผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า ผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องการทำสัญญาซื้อขายต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ซื้อคือโจทก์ เกรงว่าผู้ขายจะกลับถ้อยคืนคำ ผู้ซื้อให้ทำเป็นสัญญากู้จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ เป็นเรื่องคู่สัญญาเปลี่ยนความประสงค์เดิม เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นเรื่องคู่สัญญาสมัครใจเปลี่ยนทำสัญญากู้และค้ำประกัน แทนสัญญาซื้อขายเสียแล้ว การที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้เป็นการขัดต่อสัญญากู้และค้ำประกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา