พบผลลัพธ์ทั้งหมด 197 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไขไม่อาจพิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้ ไม่เป็นฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และเรียกค่าซ่อมแซมห้องที่จำเลยออกไป 4,000 บาท ขอให้ยกฟ้องโจทก์ หรือหากจำเลยต้องออกจากห้องเช่านี้ ก็ขอให้ถือคำให้การนี้เป็นฟ้องแย้ง ให้โจทก์ใช้เงินค่าซ่อมแซมห้องเช่า 4,000 บาท แก่จำเลยด้วย ดังนี้ ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยมีเงื่อนไข กล่าวคือ ให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องแย้ง เพราะไม่อาจพิจารณารวมกับคำฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและการพิสูจน์การชำระหนี้ค่าที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความชัดเจนของฟ้องและการรับฟังข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันที่ระบุในฟ้อง โจทก์ถูกจำเลยใช้อุบายหลอกลวงปลุกปั่นให้โจทก์ลงชื่อมอบอำนาจแก่จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในราคา 70,000 บาท เมื่อขายได้แล้ว จะเอาเงินมาให้ แต่เมื่อวันที่ระบุในฟ้อง จำเลยกลับไปสมคบกันกรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนั้น เอานายเผือด พึ่งความชอบ สวมแทนจำเลย ที่ 1 โดยเจตนาให้จำเลยทุกคนพ้นความรับผิด ที่จะต้องชำระราคาที่ดินต่อโจทก์ ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนแล้ว ก็รีบขายให้ผู้อื่นต่อไป จนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ยังไม่ได้รับราคาที่ดินเลย และเมื่อทวงถามจำเลยก็ปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องเรียกร้องเอา ดังนี้เห็นว่าเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ การหลอกลวงให้มอบอำนาจโอนที่ดิน และการรับชำระราคาสินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันที่ระบุในฟ้อง โจทก์ถูกจำเลยใช้อุบายหลอกลวงปลุกปั่นให้โจทก์ลงชื่อมอบอำนาจแก่จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในราคา 70,000 บาทเมื่อขายได้แล้ว จะเอาเงินมาให้ แต่เมื่อวันที่ระบุในฟ้อง จำเลยกลับไปสมคบกันกรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนั้น เอานายเผือด พึ่งความชอบสวมแทนจำเลยที่ 1 โดยเจตนาให้จำเลยทุกคนพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระราคาที่ดินต่อโจทก์ ซึ่งเมื่อจำเลยที่2 รับโอนแล้ว ก็รีบขายให้ผู้อื่นต่อไป จนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ยังไม่ได้รับราคาที่ดินเลย และเมื่อทวงถามจำเลยก็ปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องเรียกร้องเอา ดังนี้เห็นว่าเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินแลกคืนใบเบิกทางของเจ้าพนักงานป่าไม้ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก หากไม่มีการข่มขู่หรือบังคับ
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ มีอำนาจที่จะยึดใบเบิกทางนำไม้ไว้ เพื่อตรวจสอบได้ และได้ยึดใบเบิกทางนำไม้ของคนอื่นจากผู้เสียหาย โดยมีเหตุผล แล้วจำเลยเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับใบเบิกทางนำไม้ที่จำเลยยึดไว้ ยังไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เพราะไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดใบเบิกทางโดยเจ้าพนักงานป่าไม้และการเรียกร้องเงิน ไม่เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ มีอำนาจที่จะยึดใบเบิกทางนำไม้ไว้เพื่อตรวจสอบได้ และได้ยึดใบเบิกทางนำไม้ของคนอื่นจากผู้เสียหายโดยมีเหตุผล แล้วจำเลยเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับใบเบิกทางนำไม้ที่จำเลยยึดไว้ ยังไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เพราะไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังคงอยู่และมีการใช้ต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าความทุกข์ทางจิตใจ
ผู้ตายมีอายุ 44 ปี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้นั่งรถยนต์ของจำเลยไปชนต้นไม้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าในปัจจุบันชีวิตของบุคคลทั่ว ๆ ไป ในสังคมที่มีการแพทย์และการสาธารณสุขดี ยาวกว่าแต่ก่อน ผู้ตายมีร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จึงควรคำนวณได้ว่า ผู้ตายอาจมีชีวิตทำมาหาได้ต่อไปข้างหน้าอีก 10 ปี
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจ
ผู้ตายมีอายุ 44 ปี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้นั่งรถยนต์ของจำเลยไปชนต้นไม้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าในปัจจุบันชีวิตของบุคคลทั่วๆ ไปในสังคมที่มีการแพทย์และการสาธารณสุขดี ยาวกว่าแต่ก่อน ผู้ตายมีร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จึงควรคำนวณได้ว่า ผู้ตายอาจมีชีวิตทำมาหาได้ต่อไปข้างหน้าอีก 10 ปี
สามีไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตายเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
สามีไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตายเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: ความต่อเนื่องของเขตอำนาจตามกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯ กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่าให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ. อ. และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม กองบัญชาการตำตรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)