คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอาด นาวีเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีผลผูกพันศาลไม่ได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาลในกรณีที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ แม้จะเห็นควรให้ยกคำขอนั้นเสีย ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับอย่างใด ศาลอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นก็ได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ผู้ขอรับชำระหนี้จะมายื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไปอย่างใดแล้ว ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายลงทุนต้องเกิดเป็นทุนรอน ส่วนบำเหน็จกรรมการและเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (19)
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่จะเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัท รายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้น เป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19).
(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายลงทุนต้องเกิดเป็นทุนรอน ส่วนบำเหน็จกรรมการและเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ถือเป็นรายจ่ายตามกฎหมายภาษี
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่จะเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัทรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้นเป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19)(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแทงในขณะต่อสู้กอดปล้ำ ไม่พอฟังเจตนาฆ่า ต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมแทงถูกผู้ตาย 1 ทีที่หน้าอก ขณะที่ทั้งสองกำลังต่อสู้กอดปล้ำกัน ผู้ตายถึงแก่ความตาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแทงในขณะต่อสู้กอดปล้ำ ยังไม่พอพิสูจน์เจตนาฆ่า ศาลลงโทษฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมแทงถูกผู้ตาย 1 ทีที่หน้าอกขณะที่ทั้งสองกำลังต่อสู้กอดปล้ำกัน ผู้ตายถึงแก่ความตาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณา และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณา การถามคำให้การจำเลยก็เป็นการพิจารณา ถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 -11/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนการพิจารณาคดี และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย. ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณาถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10-11/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้ต้องมียินยอมชัดแจ้ง การชำระหนี้ภายใต้การถูกบีบบังคับไม่ถือเป็นความยินยอม
โจทก์กู้เงินจากจำเลยโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เสนอขอขึ้นดอกเบี้ยแก่โจทก์เป็นร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลยแต่กลับเป็นการแสดงเจตนาปฏิเสธโดยปริยาย ข้อเสนอของจำเลยจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญากู้เดิม
การที่โจทก์ยอมชำระดอกเบี้ยให้จำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีก็เพราะถูกจำเลยบีบบังคับ มิฉะนั้นจำเลยจะไม่ยอมให้โจทก์ไถ่จำนองถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและการที่จำเลยได้รับดอกเบี้ยเกินจากที่ตกลงไว้จากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยต้องคืนเงินดอกเบี้ยส่วนที่เกินนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญา และการชำระหนี้โดยถูกบีบบังคับ
โจทก์กู้เงินจากจำเลยโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เสนอขอขึ้นดอกเบี้ยแก่โจทก์เป็นร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลย แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาปฏิเสธโดยปริยาย ข้อเสนอของจำเลยจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญากู้เดิม
การที่โจทก์ยอมชำระดอกเบี้ยให้จำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีก็เพราะถูกจำเลยบีบบังคับ มิฉะนั้นจำเลยจะไม่ยอมให้โจทก์ไถ่จำนอง ถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ และการที่จำเลยได้รับดอกเบี้ยเกินจากที่ตกลงไว้จากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยต้องคืนเงินดอกเบี้ยส่วนที่เกินนั้นให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินรางวัลเจ้าพนักงาน: ต้องทำการทั้งสืบสวนและจับกุม หรือแจ้งเบาะแสจนจับกุมได้
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่น พ.ศ. 2490 ข้อ 4 ที่ว่า "เงินรางวัลเจ้าพนักงาน คือ เงินจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการสืบสวนจับกุมจนเป็นผลสำเร็จด้วยตนเอง ฯลฯ" นั้น หมายถึงการจ่ายให้เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการทั้งสืบสวนและจับกุม ฉะนั้น เจ้าพนักงานซึ่งทำการจับกุมแต่อย่างเดียวมิได้ร่วมสืบสวนด้วย จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
การไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบข้อ 19 นั้น จะต้องมีเหตุผล และต้องเป็นเหตุผลที่ชอบที่ควร ตามนัยแห่งฎีกาที่ 1153/2508.
of 102