พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินรางวัลเจ้าพนักงานจากการจับฝิ่น ต้องทำการสืบสวนและจับกุมเอง หรือนำความมาแจ้งจนจับกุมได้
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่น พ.ศ.2490 ข้อ 4 ที่ว่า'เงินรางวัลเจ้าพนักงานคือ เงินจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการสืบสวนจับกุมจนเป็นผลสำเร็จด้วยตนเองฯลฯ' นั้น หมายถึงการจ่ายให้เจ้าพนักงานผู้ที่ได้ทำการทั้งสืบสวนและจับกุม ฉะนั้นเจ้าพนักงานซึ่งทำการจับกุมแต่อย่างเดียวมิได้ร่วมสืบสวนด้วยจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล
การไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบข้อ 19นั้น จะต้องมีเหตุผลและต้องเป็นเหตุผลที่ชอบที่ควรตามนับแห่งฎีกาที่ 1153/2508
การไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบข้อ 19นั้น จะต้องมีเหตุผลและต้องเป็นเหตุผลที่ชอบที่ควรตามนับแห่งฎีกาที่ 1153/2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในหลักฐานกู้ยืม ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ แม้จะเพิ่มจำนวนเงินภายหลัง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่งต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้นทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิมคือ จำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ยืมเงินหลังทำสัญญาแล้ว ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากจำเลยได้รับเงินกู้จริง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้น ทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิม คือจำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้
ที่พิพาทเป็นของจำเลย. จำเลยยอมให้ผู้ร้องไปขอออกโฉนดที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ถือได้ว่าจำเลยได้ยกที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องโดยเสน่หาโดยที่จำเลยรู้อยู่ว่าจะทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นจะชำระหนี้อีกแม้ผู้ร้องจะไม่รู้ถึงความจริงว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ก็ไม่สำคัญเพียงแต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รู้ฝ่ายเดียวก็พอแล้วโจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้
ที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยยอมให้ผู้ร้องไปขอออกโฉนดที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ถือได้ว่าจำเลยได้ยกที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องโดยเสน่หา โดยที่จำเลยรู้อยู่ว่าจะทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เพราะจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นจะชำระหนี้อีก แม้ผู้ร้องจะไม่รู้ถึงความจริงว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ก็ไม่สำคัญ เพียงแต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รู้ฝ่ายเดียวก็พอแล้ว โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าหูปลาฉลาม และอายุความหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ทำหูปลาฉลามส่งขายตามภัตตาคารทั่วไปเป็นปกติธุระมิใช่ทำตามคำสั่งของผู้จ้างทำเป็นครั้งคราว จึงมิใช่เรื่องจ้างทำของถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้า โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพ่อค้าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าหูปลาฉลามโจทก์อยู่ แต่จำเลยได้รับหูปลาฉลามจากโจทก์ครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการค้า vs. จ้างทำของ และผลกระทบต่ออายุความ
โจทก์ทำหูปลาฉลามส่งขายตามภัตตาคารทั่วไปเป็นปกติธุระ มิใช่ทำตามคำสั่งของผู้จ้าง ทำเป็นครั้งคราว จึงมิใช่เรื่องจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้า โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพ่อค้า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าหูปลาฉลามโจทก์อยู่ แต่จำเลยได้รับหูปลาฉลามจากโจทก์ครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารต้องแสดงหลักฐานการสมคบร่วมกัน การให้การรับสารภาพเพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นความผิด
ฟ้องที่ไม่มีข้อความอันแสดงว่าจำเลยได้สมคบหรือร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264,265,268,83 ที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม จำเป็นต้องแสดงข้อเท็จจริงการสมคบหรือร่วมมือกระทำความผิด
ฟ้องที่ไม่มีข้อความอันแสดงว่าจำเลยได้สมคบหรือร่วมมือกับผู้อื่นในการปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 264, 265, 268, 83 ที่โจทก์อ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การและการสั่งรับ/ไม่รับคำให้การ: คำสั่งศาลเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การนั้น ตามกฎหมายเมื่อศาลสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาให้แล้ว จึงจะถึงชั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือสั่งไม่รับคำให้การต่อไป หากศาลสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา ก็ไม่ต้องพิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป
คำร้องขอขยายระยะเวลาไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(5) เพราะคำร้องดังกล่าวนี้ไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1(5) ฉะนั้น คำสั่งศาลในกรณีนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา.
คำร้องขอขยายระยะเวลาไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(5) เพราะคำร้องดังกล่าวนี้ไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1(5) ฉะนั้น คำสั่งศาลในกรณีนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา.