คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอาด นาวีเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรม: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมายไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติกับคู่สมรสของผู้รับ
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วให้ถือว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ประสงค์ให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรส: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วถือให้ว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ต้องใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียนเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้นเมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่นเช่น โดยฟ้องคดีต่อศาลหาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้นถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ห้ามฟ้องศาลโดยตรง
ในกรณีตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียน เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้น เมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่น เช่น โดยฟ้องคดีต่อศาล หาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้น ถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากฆ่าโดยเจตนาเป็นประมาท และผลกระทบต่อการบรรยายฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนาข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยทำให้คนตายโดยประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทมาในฟ้อง จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากฆ่าโดยเจตนาเป็นประมาท และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนา ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยทำให้คนตายโดยประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทมาในฟ้อง จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการห้ามฟ้องซ้ำ กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย และศาลได้พิพากษาไปตามยอมแล้วคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145. โจทก์จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ เพราะแม้จะอุทธรณ์ฎีกาในคดีเดิมยังต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยด้วยกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม และการไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย และศาลได้พิพากษาไปตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ เพราะแม้จะอุทธรณ์ฎีกาในคดีเดิมยังต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยด้วยกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีสิทธิเหนือกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อนแต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยเป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนกรณีต้องด้วยมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างผู้ใช้ก่อนและผู้มีสิทธิดีกว่าตามมาตรา 41 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย เป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตน กรณีต้องด้วยมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29 วรรคต้น
of 102