พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์ผู้ประกันตัวคดีอาญา และการขอเฉลี่ยทรัพย์
ไม่มีบทกฎหมายใดตัดสิทธิเจ้าตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์ของบุคคลที่ประกันจำเลยในคดีอาญา และหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลหรือการขอให้ถอนการยึดหรือแย่งยึดทรัพย์นั้น การดำเนินการยึดทรัพย์ของทั้งสองฝ่ายตกอยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ซึ่งห้ามมิให้ยึดซ้ำอีกโดยอำนาจในทางร้องขอเฉลี่ย ฉะนั้น ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันฯ ก็ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นย่อมมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยเงินที่ขาดทอดตลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัด อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวินี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวินี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิขึ้น ส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อจำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ เพราะมาตรา 27 ทิวไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวิ นี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิ ขึ้นส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อ จำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้เพราะมาตรา 27 ทวิ ไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลาง มาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและเช่าทรัพย์: การกำหนดสินไถ่และอัตราค่าเช่าเป็นไปตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 499 แสดงว่า แม้คู่สัญญาขายฝากกันเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ก็ยอมให้คู่สัญญากำหนดเงินสินไถ่แตกต่างจากเงินราคาขายฝากได้และไม่จำกัดจำนวน และเมื่อคู่สัญญาไม่ได้กำหนดสินไถ่ไว้ ก็ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝากฉะนั้น เมื่อคู่สัญญาระบุจำนวนเงินราคาขายฝากไว้โดยไม่ระบุสินไถ่อีกผู้ขายฝากก็ไถ่ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้นซึ่งแม้ผิดกับราคาขายฝาก ก็มีผลเช่นเดียวกับระบุสินไถ่ไว้สัญญาขายฝากไม่เป็นโมฆะการกำหนดสินไถ่ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 ไม่ผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 อัตราค่าเช่านั้นกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเรื่องราคาสัญญาขายฝาก ไม่เป็นสารสำคัญในคดี ไม่เข้าข่ายความผิดฐานเบิกความเท็จ
คดีแพ่งจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าบ้านที่ขายฝากและละเมิดนั้น แม้โจทก์ขายฝากเรือนแก่จำเลย 4,000 บาท แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งว่าขายฝากกันราคา 6,400 บาท ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนสัญญาขายฝาก ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยในคดีและการรับเงินระหว่างโจทก์จำเลยจะรับกันต่อหน้าเจ้าพนักงานหรือไม่ก็ไม่สำคัญคำเบิกความของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีคดีโจทก์ไม่มีมูลฐานเบิกความเท็จตามมาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับราคาสัญญาขายฝาก ไม่เป็นสารสำคัญในคดี
คดีแพ่งจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าบ้านที่ขายฝากและละเมิดนั้น แม้โจทก์ขายฝากเรือนแก่จำเลย 4,000 บาท แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งว่าขายฝากกันราคา 6,400 บาท ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนสัญญาขายฝาก ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยในคดี และการรับเงินระหว่างโจทก์จำเลยจะรับกันต่อหน้าเจ้าพนักงานหรือไม่ก็ไม่สำคัญ คำเบิกความของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี คดีโจทก์ไม่มีมูลฐานเบิกความเท็จตามมาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยปริยาย: พฤติการณ์ที่แสดงเจตนาของศาลและคู่ความ
บิดาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการโจทก์ ศาลสั่งคำร้องว่า 'สำเนาให้โจทก์จำเลย สั่งในรายงาน' โจทก์จำเลย ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านประการใด ผู้ร้องจึงดำเนินกระบวนพิจารณา ในการสืบพยานและอื่น ๆ ตลอดมาพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเป็นโจทก์ร่วมแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ผู้ร้องเป็นโจทก์ร่วม แม้ศาลมิได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีพฤติการณ์บ่งชี้ว่าอนุญาต
บิดาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการโจทก์ ศาลสั่งคำร้องว่า "สำเนาให้โจทก์จำเลย สั่งในรายงาน" โจทก์จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านประการใด ผู้ร้องจึงดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานและอื่น ๆ ตลอดมาพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเป็นโจทก์ร่วมแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2510)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย-โอนคืนที่ดิน: สัญญาต่างตอบแทน แม้มิได้จดทะเบียนก็ใช้บังคับได้
จำเลยประสงค์จะได้ที่ดินเพื่อตั้งโรงเลื่อยจักร จึงให้โจทก์โอนที่ดินให้เป็นของจำเลยในเมื่อยังดำเนินกิจการอยู่ และในคราวเดียวกัน โจทก์ประสงค์จะได้คืนที่ดินนั้นมา เมื่อจำเลยเลิกกิจการแล้ว การทำสัญญาโอนทำเป็นการซื้อขาย มูลค่า 4,000 บาท และจดทะเบียน ส่วนสัญญาเรื่องโอนคืนทำเป็นหนังสือไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งจำเลยยอมสัญญาตอบแทนว่าถ้าจำเลยเลิกกิจการ จำเลยจะโอนคืนโดยไม่คิดมูลค่า ข้อตกลงนี้มิใช่การให้ตามกฎหมายลักษณะให้แต่เป็นการปฏิบัติตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากผลที่ได้รับ จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนแม้มิได้ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนก็ย่อมใช้บังคับแก่กันได้ จำเลย ต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและสัญญาโอนคืนที่ดิน: สัญญาต่างตอบแทน แม้มิได้จดทะเบียนก็ใช้บังคับได้
จำเลยประสงค์จะได้ที่ดินเพื่อตั้งโรงเลื่อยจักร จึงให้โจทก์โอนที่ดินให้เป็นของจำเลยในเมื่อยังดำเนินกิจการอยู่ และในคราวเดียวกัน โจทก์ประสงค์จะได้คืนที่ดินนั้นมา เมื่อจำเลยเลิกกิจการแล้ว การทำสัญญาโอนทำเป็นการซื้อขาย มูลค่า 4,000 บาทและจดทะเบียน ส่วนสัญญาเรื่องโอนคืนทำเป็นหนังสือไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งจำเลยยอมสัญญาตอบแทนว่า ถ้าจำเลยเลิกกิจการ จำเลยจะโอนคืนโดยไม่คิดมูลค่า ข้อตกลงนี้มิใช่การให้ตามกฎหมายลักษณะให้ แต่เป็นการปฏิบัติตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากผลที่ได้รับ จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้มิได้ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียน ก็ย่อมใช้บังคับแก่กันได้ จำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญา