คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอาด นาวีเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเนื่อง ลักทรัพย์-ฆ่า ปิดบังความผิด ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
การที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายภายหลังที่จำเลยหยิบทรัพย์แล้ว เป็นการกระทำต่อเนื่องกันกับการลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การที่จำเลยกับพวกจะพาทรัพย์หนีหรือเพื่อปกปิดการกระทำผิด หาใช่การชิงทรัพย์ขาดตอนแล้วไม่ จำเลยต้องร่วมรับผิดในผลที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าว แต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลข 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่ จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสารสำคัญแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการควบคุมโรงงานหลัง พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 พระราชกฤษฎีกาเดิมยังคงมีผลบังคับ
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยามคำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " 17 โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะเป็นการตั้งแลเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการควบคุมโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 และผลกระทบต่อโรงงานที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยาม คำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"17.โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่านับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตาม มาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17)แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะมีเป็นการตั้งและเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการยกเลิกการประนอมหนี้ต่อสิทธิของผู้ชำระหนี้ตามข้อตกลง
คดีล้มละลายที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ต่อมาปรากฏแก่ศาลว่าการประนอมหนี้ไม่อาจดำเนินไปได้โดยปราศจากอยุติธรรม ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น คำสั่งศาลที่ให้ยกเลิกการประนอมหนี้ ย่อมไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำไปแล้วตามข้อประนอมหนี้ ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระเงินค่าใช้จ่ายตามคำขอประนอมหนี้ และเงินที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้แล้ว จึงขอคืนเงินดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการประนอมหนี้ล้มละลายไม่กระทบสิทธิการชำระหนี้ที่ได้ทำไปแล้วตามข้อตกลง
คดีล้มละลายที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ ต่อมาปรากฏแก่ศาลว่าการประนอมหนี้ไม่อาจดำเนินไปได้โดยปราศจากอยุติธรรม ศาลจึงได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น คำสั้งศาลที่ให้ยกเลิกการประนอมหนี้ย่อมไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำไปแล้วตามข้อประนอมหนี้ ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระเงินค่าใช้จ่ายตามคำขอประนอมหนี้และเงินที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้แล้ว จึงขอคืนเงินดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เคหะควบคุมตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่าฯ และสิทธิการเช่าหลังขายฝาก
จำเลยเช่าบ้านโจทก์อยู่อาศัยภายหลังที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้วบ้านพิพาทจึงไม่เป็น "เคหะควบคุม" ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ซึ่งบัญญัติว่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ นั้น หมายถึงการต่อสู้คดีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บข้าวโดยไม่มีค่าตอบแทน และการขายข้าวเพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยขายข้าวให้โจทก์ แล้วรับฝากข้าวไว้ในยุ้งโดยไม่มีบำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย จำเลยให้โจทก์มารับข้าวโจทก์ก็ไม่มา จำเลยจึงขายข้าวนั้นไปเพราะเกรงน้ำจะท่วมข้าวเสียหาย หลังจากที่จำเลยได้ขายข้าวของจำเลยเองไปหมดแล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากด้วยการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จ ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่รับฝากไว้เหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการของตนเองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคต้น และเป็นการกระทำเพื่อจะปัดป้องอันตรายอันจะเป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้นโดยมิได้จงใจทำผิดหรือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประการใด จึงไม่ต้องรับผิดดังนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 398

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บข้าวโดยไม่มีค่าตอบแทน และการขายเพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
จำเลยขายข้าวให้โจทก์ แล้วรับฝากข้าวไว้ในยุ้งโดยไม่มีบำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย จำเลยให้โจทก์มารับข้าว โจทก์ก็ไม่มา จำเลยจึงขายข้าวนั้นไปเพราะเกรงน้ำจะท่วมข้าวเสียหาย หลังจากที่จำเลยได้ขายข้าวของจำเลยเองไปหมดแล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากด้วยการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จ ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่รับฝากไว้เหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการของตนเองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคต้น และเป็นการกระทำเพื่อจะปัดป้องอันตรายอันจะเป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้นโดยมิได้จงใจทำผิดหรือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประการใด จึงไม่ต้องรับผิดดังนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 398

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางแผนร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยมีพฤติการณ์หลอกล่อเหยื่อและเตรียมอาวุธ
จำเลยที่ 1 ใช้ให้จำเลยที่ 2,3 ไปตามผู้ตายให้ไปกินข้าวที่บ้านถึง 2 ครั้ง ผู้ตายจึงยอมไป ส่วนจำเลยที่ 1 แทนที่จะคอยต้อนรับผู้ตายที่บ้าน กลับไปรออยู่กลางทางเมื่อจำเลยที่ 1 ยกปืนจะยิงผู้ตายผู้ตายปัดกระบอกปืน จำเลยที่ 2,3,4 ก็กลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายทันที โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขอร้องให้ช่วย พฤติการณ์จึงส่อแสดงว่าจำเลยวางแผนการหลอกผู้ตายมาทำร้ายระหว่างทาง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ยังได้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าผู้ตายกับพวกมาฉุดลูกสาวจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นแผนต่อไปที่จะสู้คดีข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางแผนร่วมกันฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน โดยมีพฤติการณ์หลอกล่อและเตรียมอาวุธ
จำเลยที่ 1 ใช้ให้จำเลยที่ 2,3 ไปตามผู้ตายให้ไปกินข้าวที่บ้านถึง 2 ครั้ง ผู้ตายจึงยอมไป ส่วนจำเลยที่ 1 แทนที่จะคอยต้อนรับผู้ตายที่บ้าน กลับไปรออยู่กลางทาง เมื่อจำเลยที่ 1 ยกปืนจะยิงผู้ตาย ผู้ตายปัดกระบอกปืน จำเลยที่ 2,3,4 ก็กลุ้มรุมทำร้ายผู้ตายทันที โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขอร้องให้ช่วย พฤติการณ์จึงส่อแสดงว่าจำเลยวางแผนการหลอกผู้ตายมาทำร้ายระหว่างทาง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ยังได้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าผู้ตายกับพวกมาฉุดลูกสาวจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นแผนต่อไปที่จะสู่คดี ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนา และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
of 102