พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉุดคร่าเพื่ออนาจาร-ข่มขืนฯ และการฆ่าเพื่อความสะดวกในการกระทำผิด มีความผิดตามมาตรา 289(6) และ (7)
จำเลยกับพวกร่วมกันฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่จะทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ขณะที่การกระทำผิดฐานฉุดคร่ายังไม่สำเร็จ บิดาของผู้เสียหายวิ่งติดตามไปเพื่อขัดขวาง จำเลยสั่งให้พวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิงบิดาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยผิดฐานร่วมเป็นตัวการฆ่าเพื่อให้เป็นความสะดวกในการที่จำเลยกับพวกจะทำการฉุดคร่าผู้เสียหายเพื่อจำเลยจะได้ตัวผู้เสียหายไว้เพื่อทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นประโยชน์อันเกิดแก่การกระทำผิดตามมาตรา 289(6) และ(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากภาระผูกพันและการประพฤติเนรคุณ จำเป็นต้องมีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้
ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1429 ซึ่งผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ จากทรัพย์สิน หรือได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้นั้น เป็นภาระที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์นั้นๆ และการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา 535(2) ก็จะต้องเป็นกรณีที่มีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้เช่นกัน
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลานสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึงไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลานสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึงไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาและการเพิกถอนเนื่องจากเนรคุณ ภาระติดพันกับทรัพย์สิน
ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1429 ซึ่งผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากทรัพย์สิน หรือได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้นั้น เป็นภาระที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์นั้น ๆ และการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา 535(2) ก็จะต้องเป็นกรณีที่มีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้เช่นกัน
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลายสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึบไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย.
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลายสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึบไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักราชการ/ออกจากราชการตาม ม.63 และการพิจารณาหลังศาลตัดสินคดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 63 นั้น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่ถูกฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือประมาท ให้ออกจากราชการได้ในขณะที่ข้าราชการผู้นั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอาญาหรือระหว่างการสอบสวนเรื่องทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการดำเนินการสอบสวนเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็น+ที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16 -17/2507).
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็น+ที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16 -17/2507).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพัก/ออกจากราชการของข้าราชการระหว่างการพิจารณา/สอบสวน การสั่งพัก/ออกจากราชการตามมาตรา 63 ไม่ต้องรอผลสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 63นั้นผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่ถูกฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือประมาท ให้ออกจากราชการได้ในขณะที่ข้าราชการผู้นั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอาญา หรือระหว่างการสอบสวนเรื่องทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการดำเนินการสอบสวนเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็นสัจที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก)นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2507)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็นสัจที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก)นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับโทษจำคุกและการฎีกาในชั้นบังคับคดี: ศาลสั่งนับโทษตามกฎหมายเมื่อไม่ได้ระบุในคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี มิได้กล่าวว่าให้นับโทษจำคุกตั้งแต่วันใด จำเลยจะฎีกาว่าศาลไม่นับระยะเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามประกาศคณะปฏิวัติหาได้ไม่ เพราะการเริ่มนับวันจำคุกวันใด ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 บัญญัติไว้ ซึ่งศาลจะสั่งในชั้นบังคับคดี เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาขอให้ศาลสั่งนับโทษเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ จึงถือว่าฎีกาของจำเลยมิใช่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา แต่เป็นการฎีกาในการบังคับคดี จำเลยจะฎีกาล่วงหน้ามาก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับโทษจำคุกต้องเป็นไปตามกฎหมายอาญามาตรา 22 มิใช่ตามประกาศคณะปฏิวัติ จำเลยฎีกาล่วงหน้าไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี มิได้กล่าวว่าให้นับโทษจำคุกตั้งแต่วันใด จำเลยจะฎีกาว่าศาลไม่นับระยะเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามประกาศคณะปฏิวัติหาได้ไม่ เพราะการเริ่มนับวันจำคุกวันใด ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22 บัญญัติไว้ ซึ่งศาลจะสั่งในชั้นบังคับคดี เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาขอให้ศาลสั่งนับโทษเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ จึงถือว่าฎีกาของจำเลยมิใช่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา แต่เป็นการฎีกาในการบังคับคดีจำเลยจะฎีกาล่วงหน้ามาก่อนหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องสอด – เหตุสมควรและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
การที่ผู้ร้องสอด ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) (2) นั้น มิได้หมายความว่า ศาลต้องอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ทุกกรณีไป ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตหรือไม่ แล้วแต่คำร้องนั้นมีเหตุสมควรเพียงใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความ ขึ้นอยู่กับเหตุสมควรและไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
การที่ผู้ร้องสอด ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)(2) นั้นมิได้หมายความว่า ศาลต้องอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ทุกกรณีไป ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตหรือไม่ แล้วแต่คำร้องนั้นมีเหตุสมควรเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาไม่สุจริตเพื่อขัดขวางการโอนที่ดิน และการทำสัญญาโดยมิได้เป็นหนี้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาแย่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยให้ราคาสูงกว่าแล้วจำเลยที่ 2 สมยอมกันทำสัญญายอมความเพื่อให้จำเลยที่ 2 ใช้สิทธิอันไม่สุจริตนำสัญญาไปฟ้องศาลเพื่อขายทอดตลาดอันเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีไม่ได้เมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 สมยอมกับจำเลยที่ 1 ทำหลักฐานแห่งหนี้ขึ้นฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้เป็นหนี้กันจริงแล้วยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแปลงนี้การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่งแดงที่ 107/2503 จำเลยที่ 2 นำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดโจทก์ร้องขัดทรัพย์ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ อ้างว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิที่พิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 2 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้ง 3 สมคบกันแสดงเจตนาลวงโดยจำเลยที่ 2 ใช้เล่ห์เพทุบายแย่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญายอมความกันโดยไม่สุจริตเพื่อยึดที่พิพาทมาขายทอดตลาด ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมที่นำมาฟ้องสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับเป็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้ง 3 ว่า ได้สมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาขึ้นโดยไม่สุจริต เพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในเมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 1 เป็นการเพียงพอจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีแพ่งแดงที่ 107/2503 จำเลยที่ 2 นำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดโจทก์ร้องขัดทรัพย์ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ อ้างว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิที่พิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 2 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้ง 3 สมคบกันแสดงเจตนาลวงโดยจำเลยที่ 2 ใช้เล่ห์เพทุบายแย่งซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญายอมความกันโดยไม่สุจริตเพื่อยึดที่พิพาทมาขายทอดตลาด ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมที่นำมาฟ้องสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับเป็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้ง 3 ว่า ได้สมคบกันแสดงเจตนาลวง ทำสัญญาขึ้นโดยไม่สุจริต เพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในเมื่อโจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 1 เป็นการเพียงพอจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม