พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อการค้า: การใช้ห้องพิพาทเพื่อการค้าทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมเช่าเคหะฯ แม้มีการอยู่อาศัยร่วมด้วย
สัญญาเช่าที่จำเลยทำกับโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่า'เพื่อทำการค้า' เมื่อจำเลยทำการค้า จดทะเบียนการค้าเสียภาษีการค้า ห้องพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าหรือไม่การค้าของจำเลยจะเล็กน้อยเพียงใดก็ไม่สำคัญและแม้จำเลยจะอยู่อาศัยในห้องพิพาทด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่าถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้นจะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้นต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาทดังนี้ ย่อมถือว่าข้อตกลงขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้นเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่าถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้นจะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้นต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาทดังนี้ ย่อมถือว่าข้อตกลงขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้นเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้า และการขึ้นค่าเช่าตามภาษี การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะ
สัญญาเช่าซึ่งจำเลยทำกับโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่า "เพื่อทำการค้า" เมื่อจำเลยทำการค้าจดทะเบียนการค้า เสียภาษีการค้า ห้องพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าหรือไม่ การค้าของจำเลยจะเล็กน้อยเพียงใดก็ไม่สำคัญ และแม้จำเลยจะอยู่อาศัยในห้องพิพาทด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้า ดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขข้อตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่า ถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้น จะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้น ต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ดังนี้ ย่อมถือว่าการขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 30 บาท แต่มีเงื่อนไขข้อตกลงกันอีกว่า การเสียค่าเช่า ถ้าเทศบาลประเมินภาษีขึ้น จะต้องขึ้นค่าเช่าตามนั้น ต่อมาเทศบาลได้ประเมินค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ดังนี้ ย่อมถือว่าการขึ้นค่าเช่าตามที่เทศบาลประเมินภาษีนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานนำเข้าสินค้าและเงินตราต่างประเทศ จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ(ไม่ใช่จำเลย) เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาต ริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเอง แต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลย พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการรับฟังว่าจำเลยนำเข้าเงินตราและสินค้าโดยผิดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ (ไม่ใช่จำเลย)เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาตริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเองแต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นของคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลยพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางได้ด้วยน่าจะเป็นเพราะมีการกระทำเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้วน่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเช่าต้องตรงกัน การเปลี่ยนวัตถุประสงค์เช่าโดยฝ่ายเดียวมิชอบ คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมเช่าไม่ครอบคลุม
เช่าห้องเพื่อการค้า แต่มิได้ทำการค้าเลยเพราะผู้เช่าถูกจำคุกเสีย และไม่มีเงินทุน การที่ผู้เช่าเปลี่ยนเจตนาเช่าเพื่อทำการค้าเป็นอยู่อาศัยเป็นการเปลี่ยนเจตนาฝ่ายเดียว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 552 และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้าแล้วเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย มิชอบตามกฎหมาย
เช่าห้องเพื่อการค้าแต่มิได้ทำการค้าเลยเพราะผู้เช่าถูกจำคุกเสียและไม่มีเงินทุนการที่ผู้เช่าเปลี่ยนเจตนาเช่าเพื่อทำการค้าเป็นอยู่อาศัยเป็นการเปลี่ยนเจตนาฝ่ายเดียว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 552 และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและแต่งทนายต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่ถูกต้อง แม้จะยื่นคำร้องรับรองก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่าในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อแต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนายเมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจกรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้นไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้องอำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิมศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการแต่งทนายที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่า ในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อ แต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนาย เมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจ กรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้น ไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้อง อำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง