คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอาด นาวีเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชอบและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1,2 ออกโฉนดทับที่ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ก่อน การออกโฉนดทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1,2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 3,4 รับจำนองที่พิพาทโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3,4 ฟ้องบังคับจำนองและซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดของศาล ย่อมเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3 โอนทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 5,6 โดยเสน่หา โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยขอให้ออกและรับโฉนดที่พิพาทโดยโจทก์ไม่รู้และการที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์จากที่พิพาท ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของผู้ร้องในคดีริบของกลาง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 หน้าที่นำสืบพิสูจน์ย่อมตกอยู่แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา และหน้าที่การนำสืบพยาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หน้าที่นำสืบพิสูจน์ย่อมตกอยู่แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์ที่เก็บได้: การกระทำโดยเข้าใจว่าเป็นของตกหล่น ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์
ผู้เสียหายนั่งยอง ๆ ซื้อของ เอาถุงเงินวางไว้ในตัก พอซื้อเสร็จก็ลุกขึ้นไป ไปได้ประมาณ 4 วา นึกถึงถุงเงินได้ เข้าใจว่าตกลงที่นั่งซื้อของจึงกลับมาถามและหาตามบริเวณนั้น แต่ไม่พบ ขณะผู้เสียหายทำถุงเงินตกนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยอยู่ตรงไหน เห็นผู้เสียหายทำถุงเงินตกหรือไม่ ขณะนั้นประชาชนมาจ่ายตลาดมาก จำเลยเห็นถุงนั้นตกอยู่ไม่ทราบว่าเป็นของใครจึงเก็บเอาไปเป็นของตนโดยเข้าใจว่าเป็นของที่เจ้าของทำตกหาย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์ที่เก็บได้: การกระทำโดยเข้าใจว่าเป็นของหาย กับความผิดฐานยักยอก
ผู้เสียหายนั่งยองๆ ซื้อของ เอาถุงเงินวางไว้ในตัก พอซื้อเสร็จก็ลุกขึ้นไปไปได้ประมาณ 4 วา นึกถึงถุงเงินได้ เข้าใจว่าตกลงที่นั่งซื้อของจึงกลับมาถามและหาตามบริเวณนั้น แต่ไม่พบ ขณะผู้เสียหายทำถุงเงินตกนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยอยู่ตรงไหน เห็นผู้เสียหายทำถุงเงินตกหรือไม่ ขณะนั้นประชาชนมาจ่ายตลาดมาก จำเลยเห็นถุงนั้นตกอยู่ไม่ทราบว่าเป็นของใครจึงเก็บเอาไปเป็นของตน โดยเข้าใจว่าเป็นของที่เจ้าของทำตกหายจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าแยกส่วนและการเสียภาษี ศาลฎีกาเห็นว่าการเสียภาษีตามสภาพสินค้า ณ เวลาที่นำเข้าเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง) 34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊บร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 26 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วน ๆ นั้น ....... จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บ เมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บจำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากร ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีนำเข้ารถจี๊บ: การตีความอำนาจกรมศุลกากรและการหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง)34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่นเสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊ปร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 20 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วนๆนั้น จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่างๆ นั้น เข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บเมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บ จำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากรก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาประนีประนอม: การจำหน่ายทรัพย์สินหลังพินัยกรรมขัดต่อเจตนารมณ์สัญญาหรือไม่
โจทก์จำเลยและนางศรีทำสัญญาประนีประนอมมีใจความว่า ที่พิพาทตลอดจนสิ่งปลูกสร้างนั้น นางศรีมีสิทธิเก็บผลประโยชน์และจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามความพอใจ เมื่อนางศรีถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์พิพาทยังคงเหลืออยู่เท่าใด ให้ตกเป็นสิทธิของโจทก์จำเลยคนละครึ่ง เห็นได้ว่าสัญญานี้มุ่งประสงค์ให้นางศรีมีอำนาจจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ใดได้ในขณะที่นางศรียังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่นางศรีทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย จึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ภายหลังนางศรีสิ้นชีวิตแล้ว เพราะตามกฎหมายพินัยกรรมย่อมมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย จึงไม่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนตามสัญญาประนีประนอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมจำกัดอำนาจจำหน่ายทรัพย์สิน การทำพินัยกรรมหลังเสียชีวิตไม่ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนตามสัญญา
โจทก์จำเลยและนางศรีทำสัญญาประนีประนอมมีใจความว่าที่พิพาทตลอดจนสิ่งปลูกสร้างนั้น นางศรีมีสิทธิเก็บผลประโยชน์และจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามความพอใจ เมื่อนางศรีถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์พิพาทยังคงเหลืออยู่เท่าใด ให้ตกเป็นสิทธิของโจทก์จำเลยคนละครึ่ง เห็นได้ว่าสัญญานี้มุ่งประสงค์ให้นางศรีมีอำนาจจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ใดได้ในขณะที่นางศรียังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่นางศรีทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ภายหลังนางศรีสิ้นชีวิตแล้ว เพราะตามกฎหมายพินัยกรรมย่อมมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายจึงไม่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนตามสัญญาประนีประนอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1475/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่เมื่อขายสิ่งปลูกสร้างแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดิน และสัญญาเช่าตลอดชีวิตที่ไม่ชัดเจน
แม้โจทก์ที่ 1 จะขายตึกที่ให้จำเลยเช่าอย่างสังหาริมทรัพย์ก่อนครบกำหนดเวลาให้จำเลยส่งมอบตึกคืน แต่เมื่อที่ดินยังเป็นของโจทก์ที่ 1 อยู่ โจทก์ที่ 1 ยังมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำให้การที่ว่าจำเลยเสียเงินค่าตอบแทนให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ให้คำมั่นว่าจะให้จำเลยได้เช่าตึกมีกำหนดชั่วชีวิตจำเลย ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม เป็นคำให้การที่ไม่ชัดว่าเงินนั้นเป็นเงินค่าอะไร จำนวนเท่าใด แต่พอทำให้เข้าใจได้ว่าเงินซึ่งจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงินกินเปล่าจึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน
of 102