คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอาด นาวีเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าไถ่โคโดยไม่มีหลักฐานการลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่า มีผู้ลักโคของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าทรัพย์และพวกพบโคที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย โดยจำเลยนำโคนั้นมาให้เจ้าทรัพย์ และเอาเงินจำนวน 800 บาทจากเจ้าทรัพย์เป็นค่าไถ่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,337
ทางพิจารณาฟังได้ว่าโคของผู้เสียหายนั้นตามโคตัวเมียในฝูงของจำเลยไปจำเลยบอกผู้เสียหายให้ไปเอาโคคืนโดยขอเงินค่าไถ่จากผู้เสียหายแล้วจำเลยคืนโคให้ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยลักโค ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ย่อมไม่ได้ และการที่จำเลยรับเงินค่าไถ่โคจากผู้เสียหาย แม้จะด้วยเจตนาทุจริตและคืนโคให้ผู้เสียหายไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร เพราะฟังไม่ได้เสียแล้วว่าโคของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไปแล้วจำเลยรับไว้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาและพฤติการณ์หลังเกิดความขัดแย้ง
ในกรณีที่จำเลยเกิดเรื่องกับผู้เสียหายในเวลาประชุม ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้น จำเลยออกจากที่ประชุมแล้วการประชุมยังมีต่อไป จนภายหลังเลิกการประชุม และผู้คนมาประชุมกลับไปเกือบหมดแล้ว จำเลยจึงมาทำร้ายผู้เสียหาย ซึ่งการทำขั้นนี้มิได้เกิดจากโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าแล้วทำร้าย แต่เป็นกรณีเกิดโทสะแล้วไปเกิดความคิดที่จะทำร้ายเขาในภายหลัง และเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยจะต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักในการตกลงใจกระทำผิด ในกรณีนี้การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายหลังเกิดความขัดแย้ง แสดงเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน แม้เวลาผ่านไป
ในกรณีที่จำเลยเกิดเรื่องกับผู้เสียหายในเวลาประชุม ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้น จำเลยออกจากที่ประชุมแล้วการประชุมยังมีต่อไป จนภายหลังเลิกการประชุมและผู้คนมาประชุมกลับไปเกือบหมดแล้ว จำเลยจึงมาทำร้ายผู้เสียหาย ซึ่งการทำขั้นนี้มิได้เกิดจากโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้าแล้วทำร้าย แต่เป็นกรณีเกิดโทสะแล้วไปเกิดความคิดที่จะทำร้ายเขาในภายหลัง และเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยจะต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักในการตกลงใจกระทำผิด ในกรณีนี้การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาของสามีภริยา: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและผลผูกพันสัญญา
สัญญาทุกประเภท จะเป็นสัญญาในเรื่องใดๆก็ตาม ที่สามีภริยาได้ทำต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา สามีย่อมบอกล้างสัญญานั้นเสียในเวลาใดๆ ก็ได้ ระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องบอกล้างก่อนถูกภริยาฟ้อง
การที่สามียื่นคำร้องต่อศาลขอบอกล้างสัญญาดังกล่าวที่ภริยานำมาฟ้อง ในคำร้องขอให้ศาลส่งสำเนาคำร้องให้ภริยาด้วย และภริยาได้รับสำเนาคำร้องแล้วเท่ากับภริยาได้รับคำบอกล้างสัญญาจากสามีโดยตรง การบอกล้างจึงชอบด้วยกฎหมาย และย่อมมีผลให้สัญญาสิ้นความผูกพันเสมือนหนึ่งสามีภริยาไม่เคยทำสัญญาไว้ต่อกันเลย จึงไม่มีทางจะบังคับให้สามีปฏิบัติตามสัญญาในช่วงระยะเวลาก่อนบอกล้างได้อีก
อำนาจฟ้องคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาของสามีภริยา: สัญญาใดๆ ที่ทำระหว่างเป็นสามีภริยา สิ้นความผูกพันเมื่อบอกล้าง แม้จะฟ้องร้องไปแล้ว
สัญญาทุกประเภท จะเป็นสัญญาในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ที่สามีภริยาได้ทำต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาแม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา สามีย่อมบอกล้างสัญญานั้นเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องบอกล้างก่อนถูกภริยาฟ้อง
การที่สามียื่นคำร้องต่อศาลขอบอกล้างสัญญาดังกล่าวที่ภริยานำมาฟ้อง ในคำร้องขอให้ศาลส่งสำเนาคำร้องให้ภริยาด้วย และภริยาได้รับสำเนาคำร้องแล้วเท่ากับภริยาได้รับคำบอกล้างสัญญาจากสามีโดยตรง การบอกล้างจึงชอบด้วยกฎหมาย และย่อมมีผลให้สัญญาสิ้นความผูกพันเสมือนหนึ่งสามีภริยาไม่เคยทำสัญญาไว้ต่อกันเลย จึงไม่มีทางจะบังคับให้สามีปฏิบัติตามสัญญาในช่วงระยะเวลาก่อนบอกล้างได้อีก
อำนาจฟ้องคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองรถยนต์เช่าซื้อหลังศาลยกฟ้อง และผลกระทบต่อการยึดทรัพย์ชั่วคราว
เดิมรถยนต์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันวินาศภัยโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัย ต่อมารถยนต์ถูกชนเสียหาย บริษัทรับประกันได้รับมอบไปจัดการซ่อม เมื่อโจทก์ร้องขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโจทก์ได้นำยึดรถยนต์คันอื่นอีก 6 คัน เว้นแต่รถยนต์คันนี้ซึ่งอยู่ในอู่ของบริษัทผู้รับประกันภัยโจทก์มิได้นำยึด ดังนี้เห็นว่ารถยนต์คันนี้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น การที่โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยก็เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนี้ยังเป็นของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่ารถยนต์คันนี้กลับมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ต้องถือว่าในระหว่างรถยนต์คันนี้ได้รับการซ่อมแซมอยู่ในอู่ของบริษัทผู้รับประกันภัย อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตลอดมาจนเสร็จคดี เมื่อศาลพิพากษาให้ส่งมอบจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คันนี้ให้โจทก์
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ 4 คันจากจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบรถยนต์ 4 คันนี้ให้โจทก์รักษาไว้ ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีเฉพาะรถยนต์ 4 คันนี้ โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ ในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างพิจารณา ฉะนั้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลที่ให้ยึดรถยนต์ 4 คันนี้ไว้ชั่วคราวเป็นอันยกเลิกไปในตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1) จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับรถยนต์ 4 คันนี้กลับคืนไปในฐานะผู้เช่าซื้อซึ่งมิได้ผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ 4 คันนี้ไว้ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ครองรถยนต์ 4 คันนี้โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 โจทก์เป็นแต่เพียงผู้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้รักษารถยนต์ 4 คันนี้ไว้ในระหว่างถูกยึดไว้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อการยึดทรัพย์ถูกยกเลิกไป โจทก์ในฐานะผู้รักษาทรัพย์ก็ต้องคืนรถยนต์ที่รับรักษาไว้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองรถยนต์เช่าซื้อหลังคำพิพากษา ศาลสั่งคืนรถยนต์ให้ผู้เช่าซื้อที่ไม่ผิดสัญญา
เดิมรถยนต์อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันวินาศภัยโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัย ต่อมารถยนต์ถูกชนเสียหาย บริษัทรับประกันได้รับมอบไปจัดการซ่อมเมื่อโจทก์ร้องขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโจทก์ได้นำยึดรถยนต์คันอื่นอีก 6 เว้นแต่รถยนต์คันนี้ซึ่งอยู่ในอู่ของบริษัทผู้รับประกันภัยโจทก์มิได้นำยึด ดังนี้เห็นว่ารถยนต์คันนี้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น การที่โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยก็เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนี้ยังเป็นของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่ารถยนต์คันนี้กลับมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ต้องถือว่าในระหว่างรถยนต์ดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมอยู่ในอู่ของบริษัทผู้รับประกันภัย อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตลอดมาจนเสร็จคดี เมื่อศาลพิพากษาให้ส่งมอบจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คันนี้ให้โจทก์
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ 4 คันจากจำเลยที่ 1 แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบรถยนต์ 4 คันนี้ให้โจทก์รักษาไว้ ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีเฉพาะรถยนต์ 4 คันนี้โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ให้ยกฟ้องโจทก์ในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างพิจารณา ฉะนั้นจึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลที่ให้ยึดรถยนต์ 4 คันนี้ไว้ชั่วคราวเป็นอันยกเลิกไปในตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1) จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับรถยนต์ 4 คันที่กลับคืนไปในฐานะผู้เช่าซื้อซึ่งมิได้ผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ 4 คันนี้ไว้ได้เพราะโจทก์มิใช่ผู้ครองรถยนต์ 4 คันนี้โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 โจทก์เป็นแต่เพียงผู้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้รักษารถยนต์ 4 คันนี้ไว้ในระหว่างถูกยึดไว้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อการยึดทรัพย์ถูกยกเลิกไป โจทก์ในฐานะผู้รักษาทรัพย์ก็ต้องคืนรถยนต์ที่รับรักษาไว้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: เงื่อนไขการเตือนให้แก้ไขทางก่อนสิ้นสิทธิใช้ทาง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า เมื่อปรากฏว่าเส้นทางไม่เรียบร้อยเป็นหลุมเป็นบ่อ จำเลยได้เตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ไม่ทำให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยมาแถลงต่อศาลและศาลได้ไปดูสภาพของทางไม่เรียบร้อยดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ข้อความที่ว่าจำเลยเตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยนั้น เป็นข้อสัญญาประการหนึ่งที่จะทำให้โจทก์สิ้นสิทธิในการใช้ทางพิพาท กล่าวคือ แม้จะได้ความว่าทางไม่เรียบร้อยเพราะโจทก์ผิดสัญญาหากจำเลยยังไม่เตือนโจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ยังไม่สิ้นสิทธิที่จะใช้ทางพิพาท
คำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นรวมถึงค่าทนายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเตือนให้แก้ไขทางก่อนสิ้นสิทธิใช้ทาง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าเมื่อปรากฏว่าเส้นทางไม่เรียบร้อยเป็นหลุมเป็นบ่อ จำเลยได้เตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้วโจทก์ไม่ทำให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยมาแถลงต่อศาลและศาลได้ไปดูสภาพของทางไม่เรียบร้อยดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ขาดสิทธิในการที่ใช้ทางนั้นต่อไป ดังนี้ ข้อความที่ว่าจำเลยเตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยนั้น เป็นข้อสัญญาประการหนึ่งที่จะทำให้โจทก์สิ้นสิทธิในการใช้ทางพิพาท กล่าวคือ แม้จะได้ความว่าทางไม่เรียบร้อยเพราะโจทก์ผิดสัญญา หากจำเลยยังไม่เตือนโจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ยังไม่สิ้นสิทธิที่จะใช้ทางพิพาท
คำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น รวมถึงค่าทนายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายและการแจ้งความเท็จ: ใบแต่งทนายไม่ใช่เอกสารสิทธิ การยื่นคำร้องไม่ใช่ความผิดฐานแจ้งความเท็จ
เมื่อใบแต่งทนายตามฟ้องมีข้อความตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนาย โดยไม่ปรากฏข้อความนอกเหนือไปจากข้อความตามแบบพิมพ์ จึงเป็นเรื่องการแต่งตั้งทนายให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ มิใช่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามมาตรา 1(9)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้า ก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความ อันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269.
(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2509).
of 102