พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,016 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารแต่งทนายไม่เป็นหลักฐานสิทธิ การแจ้งความเท็จ และความผิดฐานทนายความ
เมื่อใบแต่งทนายตามฟ้องมีข้อความตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนายโดยไม่ปรากฏข้อความนอกเหนือไปจากข้อความตามแบบพิมพ์ จึงเป็นเรื่องการแต่งตั้งทนายให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ มิใช่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการ ก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามมาตรา 1(9)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้าก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตาม มาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความอันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2509)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้าก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตาม มาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความอันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
แต่เดิมโจทก์ฟ้องคดีอาญาว่า จำเลยโกงเจ้าหนี้โดยจำเลยกู้เงินโจทก์ไปหนี้ยังไม่ได้ชำระก็โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น ศาลเห็นว่าจำเลยได้กู้เงินและยังไม่ได้ชำระจริงดังฟ้อง แต่โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ การที่จำเลยโอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องในทางแพ่งให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยต่างอ้างพยานหลักฐานในคดีอาญา แล้วไม่สืบพยาน ศาลฎีกาเห็นว่าในการพิจารณาคดีอาญานั้น ศาลได้หยิบยกประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยก่อนแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้องแล้วจึงวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคดีอาญา เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยชำระเงินกู้และดอกเบี้ยรายเดียวกันนี้ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ยังคงค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุด
แต่เดิมโจทก์ฟ้องคดีอาญาว่าจำเลยโกงเจ้าหนี้โดยจำเลยกู้เงินโจทก์ไป หนี้ยังไม่ได้ชำระก็โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น ศาลเห็นว่าจำเลยได้กู้เงินและยังไม่ได้ชำระจริงดังฟ้อง แต่โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ การที่จำเลยโอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องในทางแพ่งให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยต่างอ้างพยานหลักฐานในคดีอาญา แล้วไม่สืบพยาน ศาลฎีกาเห็นว่าในการพิจารณาคดีอาญานั้น ศาลได้หยิบยกประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยก่อน แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้อง แล้วจึงวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคดีอาญา เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยชำระเงินกู้และดอกเบี้ยรายเดียวกันนี้ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีแพ่งนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ยังคงค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแลกเปลี่ยนที่ดินไม่ใช่การขาย จึงไม่ผิดสัญญา
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลมีข้อความว่า "ถ้าโจทก์จะขายที่ดินดังกล่าว ต้องขายที่ให้จำเลยในราคา 2,000 บาท เว้นแต่จำเลยไม่ซื้อภายใน 2 เดือน จึงให้โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวได้" นั้นหมายความเฉพาะในกรณีขายที่ดิน การที่กำหนดไว้ว่าถ้าจะขายต้องขายในราคา 2,000 บาท ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่า เจตนาจะผูกมัดในเมื่อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำที่ดินพิพาทนั้นไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบุคคลอื่นได้โดยไม่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเฉพาะการขายที่ดิน การแลกเปลี่ยนที่ดินไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลมีข้อความว่า"ถ้าโจทก์จะขายที่ดินดังกล่าว ต้องขายที่ให้จำเลยในราคา 2,000 บาท เว้นแต่จำเลยไม่ซื้อภายใน 2 เดือนจึงให้โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวได้" นั้น หมายความเฉพาะในกรณีขายที่ดิน การที่กำหนดไว้ว่าถ้าจะขายต้องขายในราคา 2,000 บาท ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าเจตนาจะผูกมัดในเมื่อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำที่ดินพิพาทนั้นไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบุคคลอื่นได้โดยไม่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998-1000/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่าและการฟ้องขับไล่: การส่งค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าเดิมไม่ถือเป็นการชำระหนี้ที่ถูกต้องต่อผู้รับโอนสิทธิ
ตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้ให้เช่าเดิม จำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าเช่าไปชำระให้แก่โจทก์ ฉะนั้น การที่จำเลยส่งค่าเช่าไปชำระแก่โจทก์และทนายโจทก์ทางธนาณัติโจทก์และทนายโจทก์ไม่ยอมรับ ถือได้ว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ
เมื่อจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 คราวติดกัน เมื่อโจทก์ได้ให้ผู้แทนบอกกล่าวเลิกการเช่า จำเลยไม่ออกไป โจทก์จึงฟ้องขับไล่ได้
ในคดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การเช่าของจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เห็นได้ว่าศาลในคดีนั้นมิได้วินิจฉัยหรือชี้ขาดในเรื่องค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องคดีนี้เรียกค่าเช่าที่ค้างได้
จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิในค่าเช่าไป การที่จำเลยชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม จึงจะยกเป็นข้อต่อสู้ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์หาได้ไม่
ข้อที่ว่าสัญญาเช่าได้เปลี่ยนแปลงแล้วเพราะที่ปฏิบัติมา เจ้าของผู้ให้เช่าเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าเองโดยมิได้ถือเอาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงอันนี้ขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และฟ้องก็ไม่ได้บรรยายว่าผู้ให้เช่าเป็นผู้ไปเก็บค่าเช่าเองจริง จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
เมื่อจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 คราวติดกัน เมื่อโจทก์ได้ให้ผู้แทนบอกกล่าวเลิกการเช่า จำเลยไม่ออกไป โจทก์จึงฟ้องขับไล่ได้
ในคดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การเช่าของจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เห็นได้ว่าศาลในคดีนั้นมิได้วินิจฉัยหรือชี้ขาดในเรื่องค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องคดีนี้เรียกค่าเช่าที่ค้างได้
จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิในค่าเช่าไป การที่จำเลยชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม จึงจะยกเป็นข้อต่อสู้ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์หาได้ไม่
ข้อที่ว่าสัญญาเช่าได้เปลี่ยนแปลงแล้วเพราะที่ปฏิบัติมา เจ้าของผู้ให้เช่าเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าเองโดยมิได้ถือเอาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงอันนี้ขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และฟ้องก็ไม่ได้บรรยายว่าผู้ให้เช่าเป็นผู้ไปเก็บค่าเช่าเองจริง จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-997/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกทับที่ดินเดิม เจ้าของเดิมมีสิทธิ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
คำให้การสู้คดีของจำเลยได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ไว้ว่า โฉนดที่ 2884 ของโจทก์ออกทับที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของมาก่อน โฉนดที่ 2884 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ขอออกโฉนดจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโฉนดที่ 2884 ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการนอกประเด็น
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้โอนทรัพย์สิน แม้เป็นคดีก่อนล้มละลาย
เดิมผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยกับพวกขอให้โอนที่ดิน 1 แปลงให้ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และให้ผู้ร้องจ่ายเงินให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยถูกโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแทนผู้ล้มละลาย ดังนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธ ต้องปฏิเสธภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 ถ้าปฏิเสธเกินกำหนดหรือไม่ปฏิเสธเลย ก็ต้องผูกพันตามภาระนั้น และโดยที่มาตรา 22(1) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการตามที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ค้างอยู่เสร็จไป ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำบังคับในคดีที่ผู้ร้องชนะความนั้นได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้โอนทรัพย์สิน แม้เป็นคดีก่อนล้มละลาย
เดิมผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยกับพวกขอให้โอนที่ดิน 1 แปลงให้ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และให้ผู้ร้องจ่ายเงินให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยถูกโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแทนผู้ล้มละลาย ดังนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธต้องปฏิเสธภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 122 ถ้าปฏิเสธเกินกำหนดหรือไม่ปฏิเสธเลย ก็ต้องผูกพันตามภาระนั้น และโดยที่มาตรา 22(1) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการตามที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ค้างอยู่เสร็จไป ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำบังคับในคดีที่ผู้ร้องชนะความนั้นได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
การขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องขอรับเงิน และผู้ขอจะได้รับชำระหนี้เงินตามส่วนเฉลี่ยจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ ฉะนั้น จะนำมาใช้แก่กรณีในเรื่องโอนที่ดินตามคำพิพากษามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีผลผูกพันศาลไม่ได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาลในกรณีที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ แม้จะเห็นควรให้ยกคำขอนั้นเสีย ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับอย่างใด ศาลอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นก็ได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ผู้ขอรับชำระหนี้จะมายื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไปอย่างใดแล้ว ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาล