พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉุดคร่า: การลากผู้เสียหายเป็นระยะทางพอสมควร ถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้จะมีผู้เข้าช่วยเหลือ
ผู้เสียหายกับปู่แม่และน้าสาวนั่งดูเขาเล่นตรุษกันที่ปากตรอกบ้านจำเลยกับพวกเข้ามาที่ตัวผู้เสียหาย จำเลยคว้าแขนผู้เสียหายซึ่งนั่งอยู่ดึงลากไปเลยถูกไถลากไปกับพื้นดิน พวกจำเลยเข้ากั้นไม่ให้แม่และน้าสาวช่วยแม่ผู้เสียหายเข้ากอดตัวผู้เสียหายไว้และต่างร้องเอะอะกันขึ้น จำเลยปล่อยผู้เสียหายแล้วยังกลับมาลากอีก แม่ผู้เสียหายก็เข้ากอดไว้จนผู้เสียหายหลุดจากมือจำเลยจำเลยฉุดผู้เสียหายไถดินไปสัก 2 วา แล้วผู้เสียหายกับพวกก็พากันหนีไปเข้าบ้านการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉุดคร่าสำเร็จแล้ว ไม่ใช่เพียงฐานพยายาม (อ้างฎีกาที่ 982/2482 จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายไป 1 วา ผู้เสียหายสบัดหลุดไปเกาะเอวนางเพียร เป็นเรื่องฉุดคร่าสำเร็จแล้วไม่ใช่พยายาม)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้ศาลอุทธรณ์แก้เป็นจำคุก 3 เดือน และไม่รอการลงโทษเช่นนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมากก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้ศาลอุทธรณ์แก้เป็นจำคุก 3 เดือน และไม่รอการลงโทษเช่นนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมากก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีจำเลยปฏิเสธ: โจทก์ต้องฟ้องข้อหาเดิมเท่านั้น
ถ้าศาลได้สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยใหม่แล้ว โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยตามข้อหาที่โจทก์ได้เสนอต่อศาลตามฟ้องเดิมของโจทก์เท่านั้น โจทก์จะมาฟ้องจำเลยในข้อหาอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีจำเลยปฏิเสธฟ้อง โจทก์ต้องฟ้องคดีเดิมใหม่เท่านั้น
ถ้าศาลได้สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยใหม่แล้ว โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยตามข้อหาที่โจทก์ได้เสนอต่อศาลตามฟ้องเดิมของโจทก์เท่านั้น โจทก์จะมาฟ้องจำเลยในข้อหาอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินแลกคืนใบเบิกทางของเจ้าพนักงานป่าไม้ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก หากไม่มีการข่มขู่หรือบังคับ
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ มีอำนาจที่จะยึดใบเบิกทางนำไม้ไว้ เพื่อตรวจสอบได้ และได้ยึดใบเบิกทางนำไม้ของคนอื่นจากผู้เสียหาย โดยมีเหตุผล แล้วจำเลยเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับใบเบิกทางนำไม้ที่จำเลยยึดไว้ ยังไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เพราะไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดใบเบิกทางโดยเจ้าพนักงานป่าไม้และการเรียกร้องเงิน ไม่เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ มีอำนาจที่จะยึดใบเบิกทางนำไม้ไว้เพื่อตรวจสอบได้ และได้ยึดใบเบิกทางนำไม้ของคนอื่นจากผู้เสียหายโดยมีเหตุผล แล้วจำเลยเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับใบเบิกทางนำไม้ที่จำเลยยึดไว้ ยังไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เพราะไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังคงอยู่และมีการใช้ต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: ความต่อเนื่องของเขตอำนาจตามกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯ กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่าให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ. อ. และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม กองบัญชาการตำตรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: การกำหนดเขตอำนาจตาม พรบ. จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ และการคงอยู่ของประกาศเดิม
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯกำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่า ให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์-ประโยชน์มิได้รับ: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากแม้ฟ้องสมบูรณ์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิด
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย สำหรับข้อเท็จจริงเป็นอันเสร็จเด็ดขาดแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปก็ไม่มีประโยชน์ หากจะฟังว่าฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ เพราะจะเอาความผิดแก่จำเลยมิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย