พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ – ศาลฎีกายกฟ้อง เพราะแม้ฟ้องสมบูรณ์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิด
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วยสำหรับข้อเท็จจริงเป็นอันเสร็จเด็ดขาดแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปก็ไม่มีประโยชน์ หากจะฟังว่าฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ เพราะจะเอาความผิดแก่จำเลยมิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: บทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเฉพาะเจาะจงกว่าบททั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้นไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พระราชบัญญัติจราจรทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: พ.ร.บ.จราจรฯ กำหนดโทษเฉพาะ ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.368
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้น ไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ม . 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พ.ร.บ. จราจร ทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2502)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้แปรรูปโดยเจ้าของ แม้ไม่ได้ดูแลรักษาเอง ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
การที่ลูกจ้างของเจ้าของไม้สักแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนย้ายไม้ของกลางไปตามคำสั่งของเจ้าของ ก็แสดงว่าเจ้าของยังยึดถือเป็นเจ้าของไม้นั้นอยู่ เจ้าของไม้จะไปอยู่ที่ใด จึงไม่ทำให้การครอบครองตามความหมายพระราชบัญญัติป่าไม้ในฐานะเป็นเจ้าของสิ้นสุดไป และตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ก็มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เจ้าของไม้จำต้องดูแลรักษาด้วยตนเองแต่อย่างไรเจ้าของไม้ต้องมีความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้แปรรูปผิดกฎหมาย: เจ้าของไม้ยังคงมีความรับผิดชอบแม้ไม่ได้ดูแลรักษาด้วยตนเอง
การที่ลูกจ้างของเจ้าของไม้สักแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต เคลื่อนย้ายไม้ของกลางไปตามคำสั่งของเจ้าของก็แสดงว่าเจ้าของยังยึดถือเป็นเจ้าของไม้นั้นอยู่ เจ้าของไม้จะไปอยู่ที่ใด จึงไม่ทำให้การครอบครองตามความหมาย พ.ร.บ.ป่าไม้ในฐานะเป็นเจ้าของสิ้นสุดไป และ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก็มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เจ้าของไม้จำต้องดูแลรักษาด้วยตนเองแต่อย่างไร เจ้าของไม้ต้องมีความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจเจ้าพนักงานป่าไม้ยิงยางรถเพื่อหยุดการขนไม้เถื่อน ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากใช้วิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ บอกให้รถยนต์ซึ่งบรรทุกไม้ผิดกฎหมายหยุด รถไม่หยุด จำเลยจึงยิงยางที่ล้อรถเพื่อให้รถหยุดจะได้จับคนและไม้ผิดกฎหมายตามอำนาจโดยใช้วิธีเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 แล้ว การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจพนักงานป่าไม้ในการหยุดยั้งรถบรรทุกไม้ผิดกฎหมาย และข้อยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ บอกให้รถยนต์ซึ่งบันทุกไม้ผิดกฎหมายหยุด รถไม่หยุด จำเลยจึงยิงยางที่ล้อรถเพื่อให้รถหยุดจะได้จับคนและไม้ผิดกฎหมายตามอำนาจโดยใช้วิธีเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์ แห่งเรื่องในการจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 แล้ว การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประทับฟ้องและการวินิจฉัยฎีกาในคดีรับของโจร แม้โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน หากจำเลยได้รับโทษตามความประสงค์แล้ว
ผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรต่อศาลแขวงจำเลยรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลแขวงสั่งคดีมีมูลเฉพาะข้อหาฐานรับของโจร อัยการฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอาญาสั่งประทับฟ้องฐานรับของโจร จำเลยรับสารภาพ โจทก์ จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ประทับฟ้องฐานลักทรัพย์ ังนี้ ผลของคดีจำเลยย่อมรับโทษฐานรับของโจรตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว คดีไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างใด จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์