คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชำนาญเนติศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องความผิดฐานลักทรัพย์เมื่อจำเลยรับสารภาพฐานรับของโจร และศาลเห็นว่าคดีไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์
ผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรต่อศาลแขวง จำเลยรับสารภาพ ฐานรับของโจร ศาลแขวงสั่งคดีมีมูลเฉพาะข้อหาฐานรับของโจร อัยการฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอาญานั่งประทับฟ้องฐานรับของโจร จำเลยรับสารภาพ โจทก์ จำเลย แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ประทับฟ้องลักทรัพย์ ดังนี้ ผลของคดีจำเลยย่อมรับโทษฐานรับของโจรตามความประสงค์ ของโจทก์แล้ว คดีไม่เป็นประโยชน์แก่โจทย์อย่างใด จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อหลอกลวงบุคคลภายนอก ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ก่อนจำเลยออกเช็ค ผู้ทรงเช็คก็เบิกความว่า ตนรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเงิน อยู่ในธนาคาร แต่หวังว่าจำเลยจะหาเงินเข้าธนาคารให้ทันกำหนด ดังนี้ แสดงว่าผู้ทรงเช็ครู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่มีเงินขณะออกเช็ค และจำเลยก็บอกแล้วว่าไม่มีเงิน ผู้ทรงเช็คก็เบิกความรับรองว่าจำเลยออกเช็คให้ตนโดยไม่ได้หลอกลวงตน ฉะนั้นการที่จำเลยออกเช็ครายพิพาทกันนี้โดยคู่กรณีไม่มีเจตนาจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น คือไม่มีการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกันหากแต่ทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลภายนอกเท่านั้น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม มาตรา 3แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับการใช้เช็ค พ.ศ.2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อหลอกลวงบุคคลภายนอก ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ก่อนจำเลยออกเช็ค ผู้ทรงเช็คก็เบิกความว่า ตนรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเงินอยู่ในธนาคาร แต่หวังว่าจำเลยจะหาเงินเข้าธนาคารให้ทันกำหนด ดังนี้ แสดงว่าผู้ทรงเช็ครู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่มีเงินขณะออกเช็ค และจำเลยก็บอกแล้วว่าไม่มีเงินผู้ทรงเช็คก็เบิกความรับรองว่าจำเลยออกเช็คให้ตนโดยไม่ได้หลอกลวงตน ฉะนั้น การที่จำเลยออกเช็ครายพิพาทกันนี้โดยคู่กรณีไม่มีเจตนาจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น คือไม่มีการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน หากแต่ทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลภายนอกเท่านั้น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636-640/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับการค้างชำระค่าเช่า จำเลยต้องพิสูจน์ข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเรื่องชำระค่าเช่า จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ โจทก์ไม่ยอมรับค่าเช่าจากจำเลยเอง ดังนี้ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้ค้างค่าเช่าโจทก์อยู่จริง จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้สมข้อต่อสู้ เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจำเลยก็ต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636-640/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยอมรับค่าเช่าของเจ้าหนี้ถือเป็นการยอมรับหนี้ของผู้เช่า จำเลยต้องพิสูจน์ข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเรื่องชำระค่าเช่า
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ โจทก์ไม่ยอมรับค่าเช่าจากจำเลยเองดังนี้ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้ค้างค่าเช่าโจทก์อยู่จริง จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้สมข้อต่อสู้ เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจำเลยก็ต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษโรคด้วยน้ำมนต์ไม่ถือเป็นการบำบัดโรคทางจิตวิเคราะห์ตามกฎหมาย
จำเลยใช้น้ำมนต์ให้ผู้ป่วยเป็นโรคจิตอาบและกินและรับเงินเป็นค่ารักษาเป็นค่าน้ำมนต์ในการรักษาบำบัดโรคของผู้ป่วย
ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการบำบัดโรคด้วยจิตวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2490มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์ ศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยหลอกหลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ประชาชนคนดูหลงเชื่อ ได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเอง และได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้ แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดพุขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลย จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วย โดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งเป็นการปกปิดความจริง และแสดงข้อความเท็จจริง ถือว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา ม. 343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างถึง ม. 341, 342 แต่ ม.343 ได้อ้างถึง ม.341,342 อยู่แล้ว และโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยหลอกลวงประชาชน จึงเท่ากับอ้าง ม. 341, 342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่า น้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงประชาชนว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคได้ และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
จำเลยหลอกลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ประชาชนคนดูหลงเชื่อได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเองและได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลยจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยโดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ซึ่งเป็นการปกปิดความจริงและแสดงข้อความเท็จถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง มาตรา341,342. แต่ ม.343 ได้อ้างถึงมาตรา341,342 อยู่แล้วและโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนจึงเท่ากับอ้าง มาตรา341,342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่าน้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานขัดแย้งในคดีอาญา และการใช้อำนาจเรียกสำนวนคดีอื่นมาพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
ในคดีอาญา ฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยสมคบกันจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งถูกฟ้องศาลไปก่อนแล้ว และปรากฏว่าจำเลยในคดีก่อนถูกศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ส่วนจำเลยในคดีหลังถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยที่ถูกศาลลงโทษฎีกา และขอให้ศาลเรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยอีกคนหนึ่งมาประกอบการวินิจฉัย โดยอ้างว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 คดี เป็นพยานชุดเดียวกัน เบิกความ 2 ครั้ง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับตัวจำเลยต่างกัน ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208, 225, 228 เรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยจำเลยมาประกอบการวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าคำพยานโจทก์ที่เบิกความ 2 ครั้ง ขัดแย้งกัน ศาลฎีกาก็ตัดสินยกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐานที่ขัดแย้งกันในคดีอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาสำนวนอื่น
ในคดีอาญา ฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยสมคบกับจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งถูกฟ้องศาลไปก่อนแล้วและปรากฏว่าจำเลยในคดีก่อนถูกศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องส่วนจำเลยในคดีหลังถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ถูกศาลลงโทษฎีกา และขอให้ศาลฎีกาเรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยอีกคนหนึ่งมาประกอบการวินิจฉัยโดยอ้างว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 คดี เป็นพยานชุดเดียวกัน เบิกความ 2ครั้ง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับตัวจำเลยต่างกันดังนี้ ศาลฎีกาย่อมอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208,225,228 เรียกสำนวนคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยจำเลยมาประกอบการวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าคำพยานโจทก์ที่เบิกความ 2 ครั้ง ขัดแย้งกัน ศาลฎีกาก็ตัดสินยกฟ้องได้
of 7