พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา: ผลกระทบต่อสิทธิในการฟ้องร้อง
มูลกรณีในคดีอาญา โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งตามหลักฐานเอกสารว่า ทั้งสองฝ่ายยินยอมจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากันอีกต่อไป ดังนี้ เป็นการยอมความแก่กันแล้วในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีความผิดส่วนตัว ทำให้สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
มูลกรณีในคดีอาญา โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งตามหลักฐานเอกสารว่า ทั้งสองฝ่ายยินยอมจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากันอีกต่อไป ดังนี้ เป็นการยอมความแก่กันแล้วในความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขการแบ่งผลประโยชน์จากมรดกตามพินัยกรรมเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจที่จะถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดั่งกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้นเวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้แก่บุตร คือ1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ" ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้นมิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไปหากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท" เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ 4 ยังกล่าวอีกว่า"ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วน ที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัวตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดั่งกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้นเวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้แก่บุตร คือ1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ" ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้นมิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไปหากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท" เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ 4 ยังกล่าวอีกว่า"ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วน ที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัวตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการปรับปรุงการจัดการมรดกตามพินัยกรรมเมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง และการตีความเจตนาผู้ทำพินัยกรรม
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจที่จะถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้
พินัยกรรมมีข้อความว่า ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดังกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้น เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้บุตร คือ 1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้น มิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไป หากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ4 ยังกล่าวอีกว่า ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วนที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัว ตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
พินัยกรรมมีข้อความว่า ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดังกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้น เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้บุตร คือ 1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้น มิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไป หากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ4 ยังกล่าวอีกว่า ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วนที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัว ตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ: โจรปล้นทรัพย์ทำร้ายร่างกาย จำเลยป้องกันเพื่อปกป้องตนเองและผู้อื่น
พฤติการณ์ของผู้ตายเป็นโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายนายเหืองจำเลยแล้วยังจะทำซ้ำอีก นายเบืองนายโหนจำเลยเข้าไปป้องกันโดยตีผู้ตายเสียก่อนเพื่อไม่ให้ผู้ตายทำร้ายนายเหืองจำเลย พรรคพวกของผู้ตาย 2 คน ยังกลับมาช่วยผู้ตายอีก ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน ผู้ตายกับพวกจะก่อกรรมรุนแรงอย่างใดต่อไปย่อมรู้ไม่ได้ ในที่สุดผู้ตายก็ตายลงในเวลานั้นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตให้พ้นอันตรายซึ่งเกิดโดยผิดด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การใช้กำลังเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากโจรปล้นทรัพย์
พฤติการณ์ของผู้ตายเป็นโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายนายเหืองจำเลยแล้วยังจะทำซ้ำอีกนายเบือง นายโหนจำเลยเข้าไปป้องกันโดยตีผู้ตายเสียก่อนเพื่อไม่ให้ผู้ตายทำร้ายนายเหืองจำเลย พรรคพวกของผู้ตาย 2 คน ยังกลับมาช่วยผู้ตายอีก ขณะนั้น เป็นเวลากลางคืน ผู้ตายกับพวกจะก่อกรรมรุนแรงอย่างใดต่อไปย่อมรู้ไม่ได้ ในที่สุดผู้ตายก็ตายลงในเวลานั้นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตให้พ้นอันตรายซึ่งเกิดโดยผิดด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: ศาลแยกจำนวนดอกเบี้ยออกจากต้นเงินได้ และคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ผู้กู้ย่อมนำสืบได้ว่า ผู้ให้กู้เอาจำนวนดอกเบี้ยเกินอัตรามารวมเป็นต้นเงินในสัญญากู้ล่วงหน้าเป็นการผิดกฎหมายได้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เป็นโมฆะเพราะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้ และไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องได้มีการผิดนัด ลูกหนี้จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เป็นโมฆะเพราะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้ และไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องได้มีการผิดนัด ลูกหนี้จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เช็คปลอมและฉ้อโกง: เช็คเป็นหนังสือสำคัญทางกฎหมายอาญา
เช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง สั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน จึงเป็นหนังสือซึ่งเป็นสำคัญแก่การตั้งหนี้สินหรือเป็นหลักฐานแก่การเปลี่ยนแก้ เลิกล้าง หรือ โอนหนี้สินเพราะเช็คนั้น ในเบื้องต้นย่อมเป็นหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินแก่ผู้ทรง และผู้สั่งจ่ายเป็นอันสัญญาว่า ถ้าธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง และในเบื้องปลาย เมื่อธนาคารได้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้ออกเช็คแล้ว ก็ย่อมเป็นหนังสือหลักฐานแสดงหนี้สินผูกพันระหว่างผู้ออกเช็คและธนาคารซึ่งผู้ออกเช็คต้องยอมให้ธนาคารหักเงินที่สั่งจ่ายนั้นจากบัญชีเงินฝากของตน หรือถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเกินบัญชีเงินฝากของผู้ออกเช็คไป ธนาคารก็ย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ออกเช็คได้เช็คจึงเป็นหนังสือสำคัญตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญาโดยแท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คคือหนังสือสำคัญทางกฎหมายอาญา การปลอมแปลงเช็คเป็นความผิด
เช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง สั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน จึงเป็นหนังสือซึ่งเป็นสำคัญแก่การตั้งหนี้สิน หรือเป็นหลักฐานแก่การเปลี่ยนแก้ เลิกล้างหรือโอนหนี้สิน เพราะเช็คนั้น ในเบื้องต้นย่อมเป็นหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินแก่ผู้ทรง และผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง และในเบื้องปลาย เมื่อธนาคารได้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้ออกเช็คแล้ว ก็ย่อมเป็นหนังสือหลักฐานแสดงหนี้สินผูกพัน ระหว่างผู้ออกเช็คและธนาคารซึ่งผู้ออกเช็คต้องยอมให้ธนาคารหักเงินที่สั่งจ่ายนั้นจากบัญชีเงินฝากของตน หรือถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเกินบัญชีเงินฝากของผู้ออกเช็คไป ธนาคารก็ย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ออกเช็คได้ เช็คจึงเป็นหนังสือสำคัญตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญาโดยแท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจผู้จัดการธนาคารในการดำเนินคดี และข้อยกเว้นการเสียอากรแสตมป์
การที่ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องต่อศาลนั้น ไม่ใช่เป็นการทำนิติกรรมของธนาคารอุตสาหกรรมและทั้งไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทนของธนาคารอุตสาหกรรมด้วย หากเป็นแต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการธนาคารอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ผู้จัดการทำการยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องในคดีได้หรือไม่ เอกสารต่างๆ ที่ธนาคารอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโจทก์ส่งต่อศาล จึงเป็นแต่เพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นแห่งการมอบหมายให้ดำเนินคดี ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจหรือการตั้งตัวแทนอันจะต้องทำตามแบบ ถ้าจำเลยต้องการโต้แย้งว่าผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมไม่ได้รับมอบหมายให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เป็นหน้าที่ของผู้อ้างเอกสารและผู้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้เห็นประจักษ์