คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิวาทนฤพุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 322 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย หากไม่ทำตามแบบก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย การตกลงกันเองไม่สมบูรณ์
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรค 2 น้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(3) และต้องมีหลักฐานการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกเงินของบริษัท แต่ขณะที่ฟ้องนี้โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น โดยถ้อยคำและความหมายย่อมชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของบริษัท อันจะฟ้องความหรือจัดการแทนบริษัทในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) จะขอให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับก็ไม่มีทางจะอนุโลมได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1169 ที่โจทก์อ้างมาก็เป็นเรื่องฟ้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการอันเป็นเรื่องทางแพ่ง
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น และการวินิจฉัยข้อกฎหมายหลังฟังข้อเท็จจริงไม่สมฟ้อง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกเงินของบริษัท แต่ขณะที่ฟ้องนี้โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น โดยถ้อยคำและความหมายย่อมชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของบริษัทอันจะฟ้องความหรือจัดการแทนบริษัทในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (3) จะขอให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับก็ไม่มีทางจะอนุโลมได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ที่โจทก์อ้างมาก็เป็นเรื่องฟ้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการอันเป็นเรื่องทางแพ่ง
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ยึด: สิทธิครอบครอง vs. เจ้าของทรัพย์, ฟ้องซ้ำ, อายุความมรดก
เมื่อเจ้าหนี้นำยึดนาที่อยู่ในการครอบครองของผู้ร้องถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิในการที่ผู้ร้องจะครอบครองที่นาพิพาทต่อไปแล้ว การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึด ประเด็นมีอยู่ว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นหรือไม่ ถ้ามิใช่ ศาลก็ต้องสั่งปล่อย เหตุนี้ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ปล่อยนาพิพาทได้
ผู้ร้องอ้างว่าได้ครอบครองที่นาที่ถูกยึดโดยเจ้าของเดิมนำมาประกันเงินกู้ ขอให้สั่งปล่อยที่นานั้น แม้เจ้าของเดิมตายมากว่า 1 ปีแล้ว ผู้ร้องก็ยังฟ้องร้องอ้างได้ จะนำอายุความมรดกมาบังคับไม่ได้
คดีก่อน ผู้ร้องฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่นาพิพาท แต่คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่าที่นาพิพาทมิใช่ทรัพย์ของจำเลย ขอให้ศาลปล่อยนาพิพาทซึ่งถูกยึด ประเด็นและคู่ความต่างกันการร้องขัดทรัพย์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึด - การขัดทรัพย์ - ไม่เป็นฟ้องซ้ำ - อายุความมรดก
เมื่อเจ้าหนี้มายึดนาที่อยู่ในการครอบครองของผู้ร้อง ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิในการที่ผู้ร้องจะครอบครองที่นาพิพาทต่อไปแล้ว การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ถูกยึด ประเด็นมีอยู่ว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลก็ต้องสั่งปล่อย เหตุนี้ ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ปล่อยพิพาทได้
ผู้ร้องอ้างว่าได้ครอบครองที่นาที่ถูกยึดโดยเจ้าของเดิมนำมาประกันเงินกู้ ขอให้สั่งปล่อยที่นานั้น แม้เจ้าของเดิมตายมากกว่า 1 ปีแล้ว ผู้ร้องก็ยังฟ้องร้องอ้างได้ จะนำอายุความมรดกมาบังคับไม่ได้
คดีก่อน ผู้ร้องฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่นาพิพาท แต่คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่าที่นาพิพาทมิใช่ทรัพย์ของจำเลย ขอให้ศาลปล่อยนาพิพาทซึ่งถูกยึด ประเด็นและคู่ความต่างกัน การร้องขัดทรัพย์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสัญญาจะขายหลายฉบับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาตามยอมความไม่ใช่การแสดงกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาตามยอมความว่าจำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ตามสัญญาจะขายนั้นไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้คนหนึ่งแล้ว มาทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นให้อีกคนหนึ่ง ผู้ซื้อคนหลังฟ้องขอให้บังคับโอนที่ดินก่อน แล้วผู้ซื้อคนแรกจึงฟ้องขอให้โอนโดยจำเลยทำยอมความไม่สู้คดี ดังนี้ ไม่ขัดข้องที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ซื้อคนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานภาษีโภคภัณฑ์: การลงบัญชีไม่ครบถ้วนกับไม่ทำบัญชี มีความแตกต่างกันทางโทษ
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์โจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินบัญชี ภ.ภ.11 คือลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วนส่วน มาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ.11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราวๆ และได้ลงบัญชีภ.ภ.11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลย ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบถ้วนอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 190 แต่ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตาม มาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ย่อมระงับสิทธิในการฟ้อง
คดีความผิดฐานกระทำอนาจารซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้นั้น ถ้ามารดาของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้ถอนคำร้องทุกข์โดยผู้เสียหายยินยอมไม่คัดค้านสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อัยการโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะดำเนินคดีนั้นต่อไปอีก ฉะนั้น การที่อัยการโจทก์แถลงขอผัดเวลายื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยจะไปขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน เพื่อมิให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ย่อมไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ย่อมระงับสิทธิการฟ้อง
คดีความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้นั้นถ้ามารดาของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้ถอนคำร้องทุกข์โดยผู้เสียหายยินยอมไม่คัดค้าน สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) อัยการโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะดำเนินคดีนั้นต่อไปอีก ฉะนั้น การที่อัยการโจทก์แถลงขอผัดเวลายื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยจะไปขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน เพื่อมิให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ย่อมไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด
of 33