พบผลลัพธ์ทั้งหมด 322 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลเจ้า: ผู้จัดการศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องแต่เพียงผู้เดียว รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจตราและอุดหนุน
ศาลเจ้าเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและตรวจตราสอดส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลเจ้าได้ไม่
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้น การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลเจ้าในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลเจ้าซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้น การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลเจ้าในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลเจ้าซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสาร แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดวิธีการปลอม หากระบุชัดเจนว่าปลอมทั้งฉบับและเกี่ยวข้องกับเอกสารใด ถือฟ้องชัดแจ้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้สมคบกันทำบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณขึ้นทั้งฉบับแล้วนำไปใช้หรือแสดงต่อนายอำเภอ ๆ หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง จึงได้ออกตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์ให้หนึ่งฉบับ ทำให้นายอำเภอและนายทองเสียหาย ดังนี้ น่าจะเข้าใจได้แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2503)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์ปลอมและการหลอกลวงนายอำเภอ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้สมคบกันทำบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณขึ้นทั้งฉบับ แล้วนำไปใช้หรือแสดงต่อนายอำเภอ นายอำเภอหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงจึงได้ออกตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์ให้หนึ่งฉบับ ทำให้นายอำเภอและนายทองเสียหาย ดังนี้ น่าจะเข้าใจได้แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าด้วยความยินยอมของผู้เช่าในการไม่ซื้อทรัพย์สินตามสัญญาระหว่างเช่า และการต่อสัญญาเช่าโดยปริยาย
สัญญาเช่าเคหะมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วย ว่า จะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ถ้าโจทก์ผู้ให้เช่าได้ปฏิบัติตามสัญญานี้แล้ว จำเลยเพิกเฉย ไม่จัดการอย่างใด ถือได้ว่าตอนนี้จำเลยเลือกเอาในทางไม่ซื้อที่ดินเป็นการยอมออกจากที่ดินตามที่ได้เคยตกลงกันไว้ในสัญญา ความยินยอมตามสัญญาข้อนี้ถือได้ว่า เป็นความยินยอมตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 มาตรา 16 ข้อ 5 ไม่ใช่ความยินยอมที่ขัดหรือหลีกเหลี่ยงพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่อย่างใด โจทก์มีสิทธิให้จำเลยเลิกใช้ทรัพย์สินที่เช่านี้ได้ตามข้อสัญญา (ควรดูฎีกาที่ 1597/2494) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2503)
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิน แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใด ข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันอยู่ได้
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิน แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใด ข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: สิทธิของผู้ให้เช่าในการบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้เช่าไม่ใช้สิทธิซื้อ และความชอบธรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สัญญาเช่าเคหะมีข้อความว่า " ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่า จะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" ถ้าโจทก์ผู้ให้เช่าได้ปฏิบัติตามสัญญานี้แล้ว จำเลยเพิกเฉย ไม่จัดการอย่างใด ถือได้ว่าตอนนี้จำเลยเลือกเอาในทางไม่ซื้อที่ดินเป็นการยอมออกจากที่ดินตามที่ได้เคยตกลงกันไว้ในสัญญา ความยินยอมตามสัญญาข้อนี้ถือได้ว่า เป็นความยินยอมตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 มาตรา 16 ข้อ 5 ไม่ใช่ความยินยอม ที่ขัดหรือหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่อย่างใด โจทก์มีสิทธิให้จำเลยเลิกใช้ทรัพย์สินที่เช่านี้ได้ตามข้อสัญญา (ควรดูฎีกาที่ 1597/2494) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2503)
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิม แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใดข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันได้อยู่
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิม แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใดข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันได้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเรือน (อสังหาริมทรัพย์) ต้องทำตามฟอร์มและจดทะเบียน หากเปลี่ยนข้ออ้างระหว่างดำเนินคดี ถือเป็นการนอกประเด็น
ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ได้ซื้อเรือนที่โจทก์นำยึดโดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแล้ว ขอให้ถอนการยึด แต่จะขอสืบพยานว่า ขัดข้องในการจดทะเบียน เพราะเจ้าของที่ดินไม่ยอม จึงได้จัดการที่จะรื้อถอนไป ซึ่งเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือก็ใช้ได้เช่นนี้ หาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบพยานผิดไปจากที่ตั้งประเด็นวิวาทไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้ออ้างเรื่องสถานะทางกฎหมายของเรือน (อสังหาริมทรัพย์/สังหาริมทรัพย์) และขอบเขตการสืบพยานที่ต้องเป็นไปตามประเด็นที่ตั้งไว้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ได้ซื้อเรือนที่โจทก์นำยึดโดยทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแล้ว ขอให้ถอนการยึด แต่จะขอสืบพยานว่าขัดข้องในการจดทะเบียน เพราะเจ้าของที่ดินไม่ยอม จึงได้จัดการที่จะรื้อถอนไปซึ่งเป็นการซื้อสังหาริมทรัพย์เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือก็ใช้ได้เช่นนี้ หาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบพยานผิดไปจากที่ตั้งประเด็นวิวาทไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ปู่ซื้อให้หลาน: ไม่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ที่ดินและบ้านที่ปู่ซื้อให้หลาน (บุตรของลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ย่อมเป็นทรัพย์ของหลานนั้น และไม่เป็นทรัพย์สินที่เป็นของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือที่อาจะบังคับเอาชำระหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ปู่ซื้อให้หลาน ไม่ถือเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ที่ดินและบ้านที่ปู่ซื้อให้แก่หลาน(บุตรของลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ย่อมเป็นทรัพย์ของหลานนั้นและไม่เป็นทรัพย์สินที่เป็นของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือที่อาจบังคับเอาชำระหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ฟ้องโดยไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ถือเป็นการฟ้องที่สิ้นสุด สิทธิฟ้องยังคงมี
คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาเรื่องที่โจทก์ฟ้องเลย จึงถือไม่ได้ว่า ศาลได้พิพากษาในความผิดที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ต้องห้ามตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2503)