คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิวาทนฤพุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 322 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อ จำเป็นต้องมีการสอบถามจำเลยและรับรองว่าเป็นคนเดียวกัน
การสั่งให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีก่อนนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อความปรากฏว่าจำเลยเป็นคนๆ เดียวกันกับจำเลยในคดีก่อนซึ่งศาลลงโทษไปแล้วการที่จำเลยได้ให้การปฏิเสธความผิด ไม่ได้พูดถึงเรื่องโจทก์ขอให้นับโทษต่อกันแต่ก็มิได้มีการสอบถามจดบันทึกในเรื่องที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อไว้แต่ประการใดเช่นนี้ ยังไม่มีทางนับโทษต่อให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีเช็คไม่มีเงิน ทำให้สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ แม้จะไม่ได้ระบุถึงทางอาญาโดยชัดแจ้ง
จำเลยออกเช็คครั้งแรกสั่งจ่ายเมื่อครบ 10 เดือนครั้นถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ผู้เสียหายจึงร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงินแต่มีคนไกล่เกลี่ย ผู้เสียหายจึงให้จำเลยผัดไปอีก 6 เดือน โดยจำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ผู้เสียหาย ครั้นถึงกำหนดขึ้นเงินเช็คฉบับใหม่ธนาคารก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินอีกเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคารผู้เสียหายจึงฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค ในคดีแพ่งคู่ความทำยอมกันโดยจำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ภายใน 15 วัน ในวันเดียวกันนั้นเอง ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้อัยการโจทก์จะมาฟ้องจำเลยในกรณีเดียวกันนี้เป็นคดีอาญาฐานออกเช็คไม่มีเงินตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ อีกหาได้ไม่เพราะคดีนี้เกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์มุ่งประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา แต่ก็ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ผู้เสียหายก็ตกลงให้จำเลยออกเช็คให้ใหม่ ครั้นไม่ได้รับชำระอีก ผู้เสียหายก็ฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ดำเนินทางอาญา ต่อมาได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยชำระเงินภายใน 15 วัน นับจากวันทำยอมในคดีแพ่งแม้ในสัญญายอมตามที่ผู้เสียหายและจำเลยกระทำกันในคดีแพ่งนี้จะไม่ได้พูดถึงทางอาญาเลยแต่ตามพฤติการณ์ต่างๆที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ปฏิบัติต่อกันมาดังกล่าว ย่อมมุ่งหมายจะให้ระงับคดีในทางอาญาด้วยฉะนั้น แม้ผู้เสียหายจะไปร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้แก่จำเลยอีกก็ตามแต่เมื่อกรณีออกเช็คไม่มีเงินนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัวการที่ผู้เสียหายกับจำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันในกรณีนี้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญารายนี้มาฟ้องจึงระงับไป(ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับสิทธินำคดีอาญาฐานออกเช็คไม่มีเงินได้ เนื่องจากเป็นความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยออกเช็คครั้งแรกสั่งจ่ายเมื่อครบ 10 เดือน ครั้นถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ผู้เสียหายจึงร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงิน แต่มีคนไกล่เกลี่ย ผู้เสียหายจึงให้จำเลยผัดไปอีก 6 เดือน โดยจำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ผู้เสียหาย ครั้นถึงกำหนดขึ้นเงินเช็คฉบับใหม่ให้ผู้เสียหาย ครั้นถึงกำหนดขึ้นเงินเช็คฉบับใหม่ธนาคารก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินอีกเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคาร ผู้เสียหายจึงฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค ในคดีแพ่ง คู่ความทำยอมกันโดยจำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ภายใน 15 วัน ในวันเดียววันนั้นเอง ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ อัยการโจทก์จะมาฟ้องจำเลย ในกรณีเดียวกันนี้เป็นคดีอาญาฐานออกเช็คไม่มีเงินตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ อีกหาได้ไม่ เพราะคดีนี้เกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์มุ่งประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา แต่ก็ปรากฏว่า ผู้เสียหายเคยร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ผู้เสียหายก็ตกลงให้จำเลยออกเช็คให้ใหม่ ครั้นไม่ได้รับชำระอีก ผู้เสียหายก็ฟ้องเป็นคดีแพ่ง ไม่ได้ดำเนินทางอาญา ต่อมาได้
ตกลงประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยชำระเงินภายใน 15 วัน นับจากวันทำยอมในคดีแพ่ง แม้ในสัญญายอมตามที่ผู้เสียหายและจำเลยกระทำกันในคดีแพ่งนี้จะไม่ได้พูดถึงทางอาญาเลย แต่ตามพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ปฏิบัติต่อกันมาดังกล่าว ย่อมมุ่งหมายจะให้ระงับคดีในทางอาญาด้วย ฉะนั้น แม้ผู้เสียจะไปร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ครายนี้ แก่จำเลยอีกก็ตาม แต่เมื่อกรณีออกเช็คไม่มีเงินนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว การที่ผู้เสียหายกับจำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันในกรณีนี้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญารายนี้มาฟ้องจึงระงับไป (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดียึดทรัพย์สินสมรส: ศาลต้องให้คู่ความผู้มีส่วนได้เสีย (ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม) โต้แย้งก่อนมีคำสั่ง
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานกองหมายยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และทำการขาดทอดตลาดได้เงินมา และกองหมายได้กันเงินส่วนของภรรยาไว้ โจทก์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์รายนี้เป็นสินสมรส ขอให้ศาลสั่งกองหมายแก้บัญชีโดยไม่ต้องหักเงินเป็นส่วนของภรรยาศาลชั้นต้นสอบโจทก์และเจ้าพนักงานกองหมายและมีคำสั่งว่า ที่ดินที่ขายเป็นสินบริคณห์ ให้กองหมายจ่ายเงินค่าขายที่ทั้งหมดชำระหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษา นั้นหาเป็นการชอบไม่ เพราะภรรยามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับสามี ถือได้ว่าภรรยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (2) แต่ศาลชั้นต้นไม่เคยไต่สวนหรือสอบผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่ประการใด จึงสมควรให้โอกาสแก่ภรรยาของจำเลยจะโต้แย้งประการใดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดียึดทรัพย์สินสมรส: สิทธิของผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมและหน้าที่ของศาลในการไต่สวน
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานกองหมายยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และทำการขายทอดตลาดได้เงินมา และกองหมายได้กันเงินส่วนของภรรยาไว้ โจทก์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์รายนี้เป็นสินสมรสขอให้ศาลสั่งกองหมายแก้บัญชีโดยไม่ต้องหักเงินเป็นส่วนของภรรยาศาลชั้นต้นสอบโจทก์และเจ้าพนักงานกองหมายและมีคำสั่งว่า ที่ดินที่ขายเป็นสินบริคณห์ ให้กองหมายจ่ายเงินค่าขายที่ทั้งหมดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา นั้นหาเป็นการชอบไม่เพราะภรรยามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับสามีถือได้ว่าภรรยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) แต่ศาลชั้นต้นไม่เคยไต่สวนหรือสอบผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่ประการใดจึงสมควรให้โอกาสแก่ภรรยาของจำเลยจะโต้แย้งประการใดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าต่างชนิดกันเป็นการลวงขายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ม. 29 วรรค 2 ไม่ใช่แต่เพียงเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติ ม. 29 วรรคแรก หากแต่เป็นบทบัญญัติที่มีผลทั่วไปด้วยว่า หากมีการลวงขายเกิดขึ้นแล้ว ทางแก้ของผู้เสียหายจะพึงมีอยู่อย่างใด อาทิเช่น ในมูลกรณีละเมิด ก็พึงมีอยู่อย่างนั้น มิพักต้องคำนึงว่า ผู้ใดจดทะเบียนไว้หรือไม่ หรือจดทะเบียนก่อนหลังกันอย่างไร
ความหมายคำว่า "ลวงขาย" ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ม. 29 วรรค 2 มิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น หากแต่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงกรณีต่าง ๆ ซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น ซึ่งมีความหมายได้ว่าไม่ใช่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น หากแต่เป็นการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเอาคำว่า "แฟ๊บ" (FAB) ในลักษณะและสีเช่นเดียว กับของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลย ก็ย่อมเป็นการลวงขาย ผิดกฎหมายเรื่องละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองสิทธิแม้ไม่ได้จดทะเบียน และขอบเขตการลวงขายที่ครอบคลุมความเป็นเจ้าของ
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา29 วรรค 2 ไม่ใช่แต่เพียงเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติ มาตรา 29 วรรคแรกหากแต่เป็นบทบัญญัติที่มีผลทั่วไปด้วยว่า หากมีการลวงขายเกิดขึ้นแล้วทางแก้ของผู้เสียหายจะพึงมีอยู่อย่างใด อาทิเช่น ในมูลกรณีละเมิดก็พึงมีอยู่อย่างนั้น มิพักต้องคำนึงว่าผู้ใดจดทะเบียนไว้หรือไม่ หรือจดทะเบียนก่อนหลังกันอย่างไร
ความหมายคำว่า 'ลวงขาย' ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง มิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น หากแต่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงกรณีต่างๆ ซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นซึ่งมีความหมายได้ว่าไม่ใช่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้นหากแต่เป็นการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
ฉะนั้นเมื่อจำเลยเอาคำว่า 'แฟ๊บ'(FAB) ในลักษณะและสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลย ก็ย่อมเป็นการลวงขายผิดกฎหมายเรื่องละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ: ศาลไม่อนุญาตหากเป็นการกล่าวอ้างการกระทำผิดใหม่
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยทุจริต ยักยอกเงินผลประโยชน์และเงินประเภทต่าง ๆ ของเทศบาลรวมเงิน 33,449 บาท 42 สตางค์ จำเลยให้การปฏิเสธ สืบพยาน 4 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องโดยแยกลักษณะ ประเภทเงิน และจำนวนเงินเพิ่มขึ้นอีก 155,079 บาท 76 สตางค์ และจำนวนเงินตามรายการที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ ไม่ได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ และสอบสวนในข้อหาใหม่ดังนี้ คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างการกระทำผิดของจำเลยขึ้นใหม่ จึงทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม มาตรา 164 ตอนต้นของ ป.วิ.อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมในคดีอาญา: การกล่าวอ้างการกระทำผิดใหม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยทุจริต ยักยอกเงินผลประโยชน์และเงินประเภทต่างๆ ของเทศบาลรวมเงิน 33,449 บาท 42 สตางค์ จำเลยให้การปฏิเสธ สืบพยาน 4 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องโดยแยกลักษณะประเภทเงิน และจำนวนเงินเพิ่มขึ้นอีก 155,079 บาท 76 สตางค์ และจำนวนเงินตามรายการที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ไม่ได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ และสอบสวนในข้อหาใหม่ดังนี้ คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างการกระทำผิดของจำเลยขึ้นใหม่จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วถึงการกระทำที่จำเลยถูกกล่าวหาขึ้นใหม่จึงทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 164 ตอนต้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการบอกล้างสัญญากู้เงินโดยสามีต่อภรรยา และการสืบพยานขัดแย้งเอกสาร
ภรรยาทำสัญญากู้เงินของเขามาและสามีได้บอกล้างสัญญาแล้ว แม้การบอกล้างของสามีจะเป็นผลทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะได้ก็แต่เฉพาะเพียงเท่าที่ผูกพันสินบริคณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 เท่านั้น หาได้กระทำให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ เพราะหญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว นิติกรรมที่ทำขึ้นจึงยังสมบูรณ์ผูกพันในทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาตาม มาตรา 37 ประกอบด้วย มาตรา 1479 ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินส่วนของภรรยาได้
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืนเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
of 33