คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิวาทนฤพุฒิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 322 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการบอกล้างสัญญากู้โดยสามีต่อภรรยา: สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินส่วนตัว
ภรรยาทำสัญญากู้เงินของเขามาและสามีได้บอกล้างสัญญาแล้วแม้การบอกล้างของสามีจะเป็นผลทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะได้ก็แต่เฉพาะเพียงเท่าที่ผูกพันสินบริคณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 เท่านั้น หาได้กระทำให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ เพราะหญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วนิติกรรมที่ทำขึ้นจึงยังสมบูรณ์ผูกพันในทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาตาม มาตรา 37 ประกอบด้วย มาตรา 1479ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินส่วนของภรรยาได้
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืมเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่าที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนสืบพยานหลายครั้งที่ไม่ใช่ความผิดโจทก์ ศาลมิควรสั่งจำหน่ายคดีโดยง่าย
การขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ถึง 6 ครั้ง ถ้าแต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ศาลก็ไม่ควรสั่งจำหน่ายคดี
ในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้ง ที่ 4 พยานโจทก์บางคนโทรเลขแจ้งว่าป่วย บางคนเซ็นทราบนัดแล้ว ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง โจทก์แถลงขอให้ศาลออกหมายจับพยานศาลสั่งให้ไต่สวนก่อนออกหมายจับและสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปและออกหมายเรียกพยานโดยกำหนดวันไว้ด้วย เป็นวันหลังจากนัดนัดไต่สวนเพื่อออกหมายจับพยาน การที่ในวันนัดไต่สวนไม่มีคู่ความมาศาลเลย ทั้ง 2 ฝ่าย เช่นนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้ เพราะการออกหมายเรียกให้พยานมาเบิกความในวันต่อไปนั้น ก็เท่ากับให้โอกาศพยานอีกครั้ง การไต่สวนเพื่ออกหมายจับก็ย่อมไม่จำเป็นซึ่งโจทก์อาจเข้าใจเช่นนี้ก็ได้ จึงไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากความล่าช้าในการสืบพยาน มิใช่ความผิดของโจทก์ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบ
การขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ถึง 6 ครั้ง ถ้าแต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ศาลก็ไม่ควรสั่งจำหน่ายคดี
ในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 4 พยานโจทก์บางคนโทรเลขแจ้งว่าป่วย บางคนเซ็นทราบนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง โจทก์แถลงขอให้ศาลออกหมายจับพยานศาลสั่งให้ไต่สวนก่อนออกหมายจับและสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปและออกหมายเรียกพยานโดยกำหนดวันไว้ด้วยเป็นวันหลังจากวันนัดไต่สวนเพื่อออกหมายจับพยาน การที่ในวันนัดไต่สวนไม่มีคู่ความมาศาลเลย ทั้ง 2 ฝ่าย เช่นนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เพราะการออกหมายเรียกให้พยานมาเบิกความในวันต่อไปนั้น ก็เท่ากับให้โอกาสพยานอีกครั้ง การไต่สวนเพื่อออกหมายจับก็ย่อมไม่จำเป็นซึ่งโจทก์อาจเข้าใจ เช่นนี้ก็ได้ จึงไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: สมคบร่วมกระทำผิดได้ แม้ไม่ใช่ผู้ออกเช็ค
การกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นไม่จำต้องกระทำโดยบุคคลเพียงคนหนึ่งคนเดียว แต่บุคคลหลายคนอาจสมคบร่วมกระทำผิดด้วยกันได้
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสมคบกับพวกออกเช็คไม่มีเงิน จำเลยเป็นผู้กรอกรายการต่าง ๆ ในเช็คนั้น และระบุชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมาในฟ้องด้วย เช่นนี้ ศาลอาญาก็ชอบที่จะต้องรับประทับฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็คสมคบร่วมกันได้ แม้ไม่ใช่ผู้ออกเช็คโดยตรง
การกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 นั้น ไม่จำต้องกระทำโดยบุคคลเพียงคนหนึ่งคนเดียว แต่บุคคลหลายคนอาจสมคบร่วมกระทำผิดด้วยกันได้
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสมคบกับพวกออกเช็คไม่มีเงินจำเลยเป็นผู้กรอกรายการต่างๆ ในเช็คนั้น และระบุชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมาในฟ้องด้วย เช่นนี้ศาลอาญาก็ชอบที่จะต้องรับประทับฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค. 2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่าวันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้นเป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันออกเช็คตามกฎหมายคือวันลงในเช็ค แม้จะเขียนเช็คล่วงหน้า ก็ไม่ถือเป็นวันทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2499 จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน ขอให้ลงโทษชั้นพิจารณาตัวโจทก์เบิกความว่า วันที่ 20 ส.ค.2499 จำเลยเขียนเช็คและเอามาแลกเงินสดจากโจทก์ไป ในเช็คนั้นลงวันสั่งจ่าย วันที่ 29 ส.ค. 2499 เช่นนี้ จะถือว่า ทางพิจารณาได้ความว่า ทำผิดวันที่ 20 ต่างกับฟ้องซึ่งระบุว่า จำเลยออกเช็ควันที่ 29 และยกฟ้องเสียเลย หาได้ไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่า วันที่ 29 ส.ค. 2499 เป็นวันที่จำเลยออกเช็คส่วนวันที่ 20 ส.ค. 2499 นั้น เป็นเพียงวันเขียนเช็คและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้เพราะจำเลยรับว่า ได้ออกเช็คจริงแต่เป็นวันอื่น
(อ้างฎีกาที่ 415/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ลูกจ้าง' โรงงานสุรา ไม่ใช่ 'เจ้าพนักงาน' ทำให้ฟ้องทุจริตไม่ได้ แม้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบข้อบังคับของโรงงานสุราแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นผู้บรรจุแต่งตั้งก็ตาม ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่ต้องรับอนุมัติจาก ก.พ.การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งเป็นไปตามข้อบังคับของโรงงานสุรา ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ จำเลยได้รับเงินเดือนจากรายได้ของโรงงานสุราไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินเมื่อจะออกจากงานก็ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญจำเลยทำงานอยู่ในโรงงานสุราโดยมีค่าจ้าง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น ถือว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายและถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไปเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารในคดีลักทรัพย์: ประกาศคณะปฏิวัติ vs. กฎอัยการศึก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ในฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 30 กันยายน 2502 เวลากลางวันเช่นนี้ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโจทก์จะนำคดีมาฟ้องยังศาลพลเรือนหาได้ไม่ เพราะตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ข้อ 1(9) ระบุมาตรา 334 ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารไว้ด้วยแม้ในพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2502 ซึ่งออกภายหลังจะมิได้ระบุ มาตรา 334 ก็ตาม แต่พระราชบัญญัตินี้ได้ระบุไว้ชัดใน มาตรา 6 ว่า ไม่กระทบกระทั่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีลักทรัพย์ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติและ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ในฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 30 ก.ย. 2502 เวลากลางวัน เช่นนี้ ต้องฟ้องต่อศาลทหาร โจทก์จะนำคดีมาฟ้องยังศาลพลเรือนได้หาไม่ เพราะตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ข้อ 1 (9) ระบุมาตรา 334 ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารไว้ด้วย แม้ใน พ.ร.บ. กฎอัยการศึก (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2502 ซึ่งออกภายหลังจะมิได้ระบุมาตรา334 ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ชัดใน มาตรา 6 ว่าไม่กระทบกระทั่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 แต่ อย่างใด
of 33