คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ศุภอรรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทาง: การใช้ทางโดยไม่มีหลักฐานการใช้ทางสาธารณะ หรือสิทธิอื่นใดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทางตรอกซึ่งโจทก์และบริวารใช้เดินมาช้านานนั้น โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์กับบริวารใช้ตรอกทางเดินรายนี้เดินไปมาจากบ้านสู่ถนนหลวงประมาณ 20 ปีแล้ว จะเป็นทางสาธารณ ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นอย่างใด ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงยืนยันมาในฟ้องอย่างใดทั้งหาได้บรรยายข้ออ้างให้เห็นว่า สาธารณชนได้ใช้ทางนี้ แต่ประการใดไม่จึงไม่มีมูลที่จะพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สิทธิในทางเดินสาธารณะต้องมีข้อเท็จจริงชัดเจนถึงการใช้ประโยชน์ของสาธารณชน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทางตรอก ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เดินมาช้านานนั้น โดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์กับบริวารใช้ตรอกทางเดินรายนี้เดินไปมาจากบ้านสู่ถนนหลวงประมาณ 20 ปี แล้วจะเป็นทางสาธารณ ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นอย่างใด ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงยืนยันมาในฟ้องอย่างใด ทั้งหาได้บรรยายข้ออ้างให้เห็นว่า สาธารณะชนได้ใช้ทางนี้ แต่ประการใดไม่ จึงไม่มีมูลที่จะพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาชั่วคราวเพื่อยื่นใหม่ภายในอายุความฎีกา และการพิจารณาความแตกต่างระหว่างข้อกล่าวหาในฟ้องกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา
ในคดีอาญา จำเลยถอนฎีกาโดยกล่าวว่าขอถอนชั่วคราวเพื่อไปจัดทำฎีกามายื่นใหม่เมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาใหม่ภายในอายุความฎีกา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2503)
โจทก์กล่าวฟ้องมีสาระสำคัญว่าจำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงและด้วยความประมาทปราศจากการระมัดระวังเป็นเหตุให้รถของจำเลยชนและทับผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตายทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงแม้เมื่อเข้าทางโค้งก็มิได้ลดความเร็ว เป็นเหตุให้รถจำเลยชนเสาบอกแนวโค้งของถนนแล้วแฉลบไปชนผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตายดังนี้ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาชั่วคราวเพื่อยื่นใหม่ภายในอายุความ และการพิจารณาข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับฟ้อง
ในคดีอาญา จำเลยถอนฎีกาโดยกล่าวว่า ขอถอนชั่วคราวเพื่อไปจัดทำฎีกามายืนใหม่ เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาใหม่ภายในอายุความฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2503)
โจทก์กล่าวฟ้องมีสาระสำคัญว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง และด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุในรถของจำเลยชนและทับผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตาย ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง แม้เมื่อเข้าทางโค้งก็มิได้ลดความเร็วเป็นเหตุให้รถจำเลยชนเสาบอกแนวโค้งของถนนแล้วแฉลบไปชนผู้ตายซึ่งเดินอยู่ข้างทางถึงแก่ความตาย ดังนี้ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวพันกัน
คดีซึ่งมีกรณีพัวพันกันอยู่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและความแพ่งศาลย่อมมีอำนาจเรียกสำนวนคดีเหล่านั้นมาประกอบการวินิจฉัยให้ข้อเท็จจริงได้ความแจ่มกระจ่างได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวพันกันเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คดีซึ่งมีกรณีพัวพันกันอยู่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม. อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและความแพ่งศาลย่อมมีอำนาจเรียกสำนวนคดีเหล่านั้นมาประกอบการวินิจฉัยให้ข้อเท็จจริงได้ความแจ่มกระจ่างได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดฐานะ ‘เจ้าพนักงาน’ และความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่: จำเลยไม่ใช่ข้าราชการจึงไม่อยู่ในอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่และจดหลักฐานเท็จแต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้งจากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ยมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงานโดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่และทำหลักฐานเท็จตามฟ้องไม่ได้เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดฐานะ 'เจ้าพนักงาน' สำหรับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยต้องมีคุณสมบัติเป็นข้าราชการหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่ และจดหลักฐานเท็จ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้ง จากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ย มีหน้าที่ควบคุมงานก่อนสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงาน โดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเท็จความฟ้องไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: เจตนาของกฎหมายคืออะไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่วๆ ไปส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้นต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่ากฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พระราชบัญญัติจราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตจราจรทางบก พ.ศ.2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานตนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสดวกของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือเจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่นๆผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: กฎหมายจราจรไม่ได้ประสงค์ลงโทษผู้ไม่ไปรายงานตน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่ว ๆ ไป ส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้น ต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่า กฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พ.ร.บ. จราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พ.ร.บ. นี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานคนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสะดวกทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือ
เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่น ๆ ผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 428/2502 ซึ่งวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
of 19