คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ศุภอรรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการถอนคืนการให้ทรัพย์สิน กรณีบุตรกล่าวหาบิดาข่มขืนเด็ก
แม้จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาว จะได้อยู่บ้านปรนนิบัติโจทก์ผู้เป็นบิดามาแต่ผู้เดียวในเวลา เดียวกับที่พี่ ๆ น้อง ๆ ไปศึกษาเล่าเรียกหรือไปอยู่ต่างจังหวัดก็ดี การที่โจทก์ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นจำนวนมากราคาสูง และเป็นทรัพย์ส่วนใหญ่ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนบุตรคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า เนื่องจากจากเหตุบางประการที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งในสำนวน เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จำเลยเป็นบุตรสาวของโจทก์ เวลากลางคืนโจทก์ไปตามเด็กหญิง คนใช้ที่บ้านพักจำเลยโดยหาว่าจำเลยเอาเด็กนั้นมากักขังไว้ โจทก์จะให้เด็กกลับบ้านโจทก์ จำเลยไม่ยอม หาว่าโจทก์ปลุกปล้ำเด็กจะเอาเป็นภรรยา เด็กไม่ยอมจึงวิ่งมาหาจำเลย โจทก์จำเลยเถียงกัน จำเลยค่าโจทก์ว่า ไอ้แก่ กูไม่นับถือมึง อ้ายพ่อฉิบหาย โจทก์ตบหน้าจำเลย จำเลยถีบเอาโจทก์ ล้มลง แล้วต่างปล้ำทำร้ายกัน จนร่างกายฟกช้ำดำเขียว ไปทั้งสองฝ่าย โจทก์ด่าจำเลยว่า อีสัตว์อีเหี้ย จำเลยด่าโจทก์ว่า อ้ายแก่ อ้ายเนรคุณ กูไม่นับถือมึง มีคนห้ามจึงเลิกกัน ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์และจำเลยมาสถานีตำรวจ เรื่องจำเลยหาว่าโจทก์ลักโฉนด เกิดโต้เถียงกันอีก จำเลยค่า โจทก์ว่า มึงเนรคุณกู กูไม่นับถือมึง แก่แล้วยังบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก ทั้งนี้ ต่อหน้าคนหลายคน เช่นนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการประพฤติเนรคุณ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) แล้ว คือจำเลยผู้รับได้ทำให้โจทก์ ผู้ให้ เสียชื่อเสียงและหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง เพราะจำเลยได้ว่า โจทก์ข่มขืนเด็ก ซึ่งเป็นความผิดอันจักต้องโทษ ทางอาญา การกล่าวอ้าง ทั้งนี้ จะถือว่าเป็นเพียงการค่าว่า โต้ตอบกันไปกันระหว่างจำเลยกับโจทก์ไม่ได้เพราะคำที่กล่าวนั้น มิใช่เพียงคำ หยาบที่ไร้ความหมาย หรือที่มิได้ตั้งใจจะให้มีความหมาย นอกไปจากเป็นคำหยาบ หากแต่เป็นคำกล่าวยืนยัน ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยยกขึ้นว่าเอากับโจทก์ว่าบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก กรณีดังนี้ โจทก์ย่อม ถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ: การด่าว่าและกล่าวหาเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
แม้จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาวจะได้อยู่บ้านปรนนิบัติโจทก์ผู้เป็นบิดามาแต่ผู้เดียวในเวลาเดียวกับที่พี่ๆ น้องๆไปศึกษาเล่าเรียนหรือไปอยู่ต่างจังหวัดก็ดี การที่โจทก์ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นจำนวนมากราคาสูงและเป็นทรัพย์ส่วนใหญ่ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนบุตรคนอื่นๆ ไม่ได้ ก็มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเนื่องมาจากเหตุบางประการที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งในสำนวนเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จำเลยเป็นบุตรสาวของโจทก์ เวลากลางคืนโจทก์ไปตามเด็กหญิงคนใช้ที่บ้านพักจำเลยโดยหาว่าจำเลยเอาเด็กนั้นมากักขังไว้ โจทก์จะให้เด็กกลับบ้านโจทก์ จำเลยไม่ยอม หาว่าโจทก์ปลุกปล้ำเด็กจะเอาเป็นภรรยา เด็กไม่ยอมจึงวิ่งมาหาจำเลย โจทก์จำเลยเถียงกัน จำเลยด่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่กูไม่นับถือมึงอ้ายพ่อฉิบหาย" โจทก์ตบหน้าจำเลย จำเลยถีบเอาโจทก์ล้มลงแล้วต่างปล้ำทำร้ายกัน จนร่างกายฟกช้ำดำเขียวไปทั้งสองฝ่าย โจทก์ด่าจำเลยว่าอีสัตว์อีเหี้ย จำเลยด่าโจทก์ว่า "อ้ายแก่อ้ายเนรคุณกูไม่นับถือมึง" มีคนห้ามจึงเลิกกัน ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์และจำเลยมาสถานีตำรวจ เรื่องจำเลยหาว่าโจทก์ลักโฉนด เกิดโต้เถียงกันอีก จำเลยด่าโจทก์ว่า "มึงเนรคุณกู กูไม่นับถือมึง แก่แล้วยังบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก" ทั้งนี้ ต่อหน้าคนหลายคนเช่นนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว คือจำเลยผู้รับได้ทำให้โจทก์ผู้ให้ เสียชื่อเสียงและหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงเพราะจำเลยได้ว่าโจทก์ข่มขืนเด็ก ซึ่งเป็นความผิดอันจักต้องโทษทางอาญา การกล่าวอ้างทั้งนี้จะถือว่าเป็นเพียงการด่าว่าโต้ตอบกันไปมาระหว่างจำเลยกับโจทก์ไม่ได้ เพราะคำที่กล่าวนั้น มิใช่เพียงคำหยาบที่ไร้ความหมาย หรือที่มิได้ตั้งใจจะให้มีความหมายนอกไปจากเป็นคำหยาบหากแต่เป็นคำกล่าวยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยยกขึ้นว่าเอากับโจทก์ว่าบ้าตัณหาข่มขืนเด็กกรณีดังนี้ โจทก์ย่อมถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การอุทธรณ์คดีทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าจะมีคำสั่งศาลอุทธรณ์
จำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2492 และถูกฟ้องที่ศาลแขวง พระนครใต้ ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2492 ให้ยกฟ้อง อ้างว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ได้ โจทก์ และจำเลยได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2493 โจทก์ยืนฟ้องจำเลย ต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 จากวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 ยังไม่ล่วงพ้น กำหนด 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะระหว่างก็ที่จำเลย ยังอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้อยู่นั้น ต้องถือว่าคดีมีจำเลยถูกฟ้องนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 79 ถือว่าอายุความยังสดุดหยุดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่ จำเลยได้ฟังคำสั่ง ของศาลอุทธรณ์ คือวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ที่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อมีการอุทธรณ์ และการนับอายุความใหม่เมื่อถอนอุทธรณ์
จำเลยทำผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2492 และถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2492 ให้ยกฟ้อง อ้างว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ได้ โจทก์และจำเลยได้ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2493 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2498 จากวันที่ 16 ตุลาคม 2493 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2498 ยังไม่ล่วงพ้นกำหนด5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะระหว่างที่จำเลยยังอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้อยู่นั้น ต้องถือว่าคดีที่จำเลยถูกฟ้องนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 79 ถือว่าอายุความยังสะดุดหยุดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยได้ฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ คือ วันที่ 16 ตุลาคม 2493 ที่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่17/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดินมีผลบังคับใช้ และอำนาจสั่งขับไล่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินในระหว่างระยะเวลาที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 บังคับไว้ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศใช้ ผู้นั้นก็มิได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้คำรับรองว่าที่ดินได้ทำประโยชน์แล้วในกำหนด 180 วันนับแต่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับตามมาตรา 7 วรรคสองถือว่าที่ดินนั้นปลอดจากการจับจอง ผู้นั้นเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา 15 ก็ดีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ก็ดี ย่อมให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกคำสั่งบังคับให้ผู้ครอบครองที่ดินนั้นออกไปจากที่ดินได้อยู่
นายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิการจับจองและอำนาจของเจ้าพนักงาน
ผู้ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินในระหว่างระยะเวลาที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 บังคับไว้ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศใช้ ผู้นั้นก็มิได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำรับรองว่าที่ดินได้ทำประโยชน์แล้วในกำหนด 180 วันนับแต่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับตามมาตรา 7 วรรค 2 ถือว่า ที่ดินนั้นปลอดจากการจับจอง ผู้นั้นเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่โดยชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติออกโฉนด ที่ ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 15 ก็ดี ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ก็ดี ย่อมให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกคำสั่งบังคับให้ผู้ครอบครองที่ดินนั้น ออกไปจากที่ดินได้อยู่
นายอำเภอได้ออกคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122 และพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมและแก้ไขผลกระทบต่อคู่ความได้
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เรื่องระบุพยานหลักฐานนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ตอน คือ ตอนแรกว่า ด้วยการระบุพยานหลักฐานครั้งแรก ตอนที่ 2 ว่าด้วยการระบุพยานเพิ่มเติม ให้ระบุเพิ่มเติมได้เสมอในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ ตอนที่ 3 ว่าด้วย การระบุพยานหลักฐาน จะเป็นระบุครั้งแรกก็ดี ระบุเพิ่มเติมก็ดี หากไม่เข้าตอน 1 และ 2 แล้ว ต้องขออนุญาตศาลก่อน ความประสงค์ของบทบัญญัตินี้ก็เพื่อมิให้คู่ความจู่โจมกันในทางพยานหลักฐานโดยไม่รู้สึกตัว ในทางปฏิบัติ จึงชอบที่จะพิจารณาว่า การที่คู่ความฝ่ายใดไม่ระบุพยานภายในกำหนด นั้น เป็นโดยประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี หรือว่าพลั้งพลาดไป หาได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีไม่ และการที่ไม่ระบุพยานนั้น มีทางพอจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือไม่ หากเป็นเรื่องไม่ใช่เอาเปรียบและมีทางจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งระบุพยานเพิ่มเติมบ้าง เสียค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องเลื่อนคดีเป็นต้น ก็ชอบที่ศาลจะใช้อำนาจตามตอน 3 โดยสั่งตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ตัวความตามสมควร
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงสืบ พยานที่ระบุขอสืบ ก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาศจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้ เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ 492/2500 ประกอบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานหลักฐานล่าช้า ศาลพิจารณาเจตนาและแก้ไขเยียวยาความเสียหายได้ เพื่อความเป็นธรรม
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88เรื่องระบุพยานหลักฐานนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ตอน คือตอนแรกว่าด้วยการระบุพยานหลักฐานครั้งแรก ตอนที่ 2ว่าด้วยการระบุพยานเพิ่มเติมให้ระบุเพิ่มเติมได้เสมอในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ ตอนที่ 3 ว่าด้วย การระบุพยานหลักฐาน จะเป็นระบุครั้งแรกก็ดี ระบุเพิ่มเติมก็ดี หากไม่เข้าตอน 1 และ 2 แล้ว ต้องขออนุญาตศาลก่อน ความประสงค์ของบทบัญญัตินี้ก็เพื่อมิให้คู่ความจู่โจมกันในทางพยานหลักฐานโดยไม่รู้สึกตัว ในทางปฏิบัติจึงชอบที่จะพิจารณาว่า การที่คู่ความฝ่ายใดไม่ระบุพยานภายในกำหนดนั้น เป็นโดยประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี หรือว่าพลั้งพลาดไป หาได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีไม่ และการที่ไม่ระบุพยานนั้น มีทางพอจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือไม่ หากเป็นเรื่องไม่ใช่เอาเปรียบและมีทางจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายเช่น อาจให้อีกฝ่ายหนึ่งระบุพยานเพิ่มเติมบ้างเสียค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องเลื่อนคดี เป็นต้น ก็ชอบที่ศาลจะใช้อำนาจตามตอน 3 โดยสั่งตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ตัวความตามสมควร
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงลืม พยานที่ระบุขอสืบก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาสจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมย์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ492/2500ประกอบ)
of 19