พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมหลังชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ แม้คดีไม่ถึงที่สุด
หากคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ชนะคดีแล้วคู่ความฝ่ายนั้นก็มีสิทธิที่จะทำคำแถลงขอคืนเงินที่วางไว้ต่อศาลเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายเมื่อศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาให้ชนะคดี
หากคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ชนะคดีแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นก็มีสิทธิที่จะทำคำแถลงขอคืนเงินที่วางไว้ต่อศาลเพื่อใช้ฤชาธรรมเนียมและค่าทนายแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การกำหนดอำนาจสอบสวน
จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็น 70,000 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาทการปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วยต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินที่บ้านในท้องที่บุบผาราม.จำเลยที่1และที่2อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฏ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้งส่วนจำเลยที่2ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิชำระหนี้, อำนาจสอบสวนคดีอาญา
จำเลยขำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียง 10,000 บาทแล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ 10,000 บาท เป็ฯ 70,0100 บาท ต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เพราถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็ฯเอาสารที่แ้จริงแล้ว เจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป 60,000 บาท การปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 264 แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้ แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอาสารสิทธิตามมาตรา 265 และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 ด้วย ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 268 ตามอัตราโทษในมาตรา 265
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ทำปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินให้ที่บ้านในท้องที่บุบผาราม จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฎ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้ง ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย.
คำบรรยายฟ้องที่แสดงว่าวันเวลาที่ระบุไว้นั้นหมายถึงวันเวลาที่ทำปลอมกับที่ใช้เอกสารปลอมด้วย
จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ออกใบรับเงินให้ที่บ้านในท้องที่บุบผาราม จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ที่เทเวศร์ จำเลยที่ 1 ปลอมใบรับเงินนั้นที่ไหนไม่ปรากฎ แต่เอามาใช้อ้างที่ศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ถูกจับในท้องที่นางเลิ้ง ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผาราม เมื่อเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดได้กระทำในท้องที่ใด แต่จำเลยที่ 2 ถูกจับที่สถานีตำรวจบุบผารามเช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบุบผารามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ และย่อมสอบสวนจำเลยที่ 1 ได้ด้วย เพราะมีข้อหาว่าร่วมกันกระทำผิดในคดีนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงินเข้าตนเอง
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาลโดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสียย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดตามมาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงิน
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาล โดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสีย ย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดมาตรา 353.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787-788/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของนิติบุคคลแสดงผ่านผู้แทน หากการกระทำอยู่ในอำนาจหน้าที่และเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล นิติบุคคลจึงต้องรับผิดทางอาญา
เจตนาของนิติบุคคลย่อมแสดงออกทางผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อผู้แทนของนิติบุคคลแสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้แทนในทางการของการดำเนินกิจการตามวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเจตนานั้นก็ผูกพันนิติบุคคล และต้องถือว่าเป็นเจตนาของนิติบุคคลนั้นเองฉะนั้น นิติบุคคลจึงอาจมีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญาและกระทำความผิดซึ่งผู้กระทำต้องมีเจตนารวมทั้งต้องรับโทษทางอาญาเท่าที่ลักษณะแห่งโทษเปิดช่องให้ลงแก่นิติบุคคลได้ ซึ่งต้องพิจารณาตามลักษณะความผิดพฤติการณ์แห่งการกระทำและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคลประกอบกับวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเป็นรายๆ ไป
การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้าอันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของห้างหุ้นส่วนถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วน ฉะนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้าอันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของห้างหุ้นส่วนถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วน ฉะนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีภาษีการค้าและการขายฝิ่นที่ไม่เข้าข่ายสินค้าตามกฎหมาย
1. เมื่อเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้วย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขอายของตามบัญชีอัตราภาษีค้าประเภทที่ 2 นั้น หมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝินซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3 นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า.
(ข้อ 2 ประใหญ่ ครั้งที่ 42 - 43/2504).
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขอายของตามบัญชีอัตราภาษีค้าประเภทที่ 2 นั้น หมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝินซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3 นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า.
(ข้อ 2 ประใหญ่ ครั้งที่ 42 - 43/2504).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าผิดกฎหมาย ฝิ่นไม่ใช่สินค้าที่ขายได้ตามประมวลรัษฎากร
1. เมื่อเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขายของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทที่ 2 นั้นหมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝิ่นซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42-43/2505)
2. ตามความในประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 มาตรา 78,79 การขายของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทที่ 2 นั้นหมายถึงการขายสินค้าซึ่งโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การซื้อขายฝิ่นซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายฝิ่นตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 หมวด 3นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ตามความในประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการเสียภาษีการค้า
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42-43/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์ผู้อื่นโดยทุจริตและไม่ยอมคืนถือเป็นความผิด
นาฬิกาข้อมือแบบหญิงยี่ห้อมิโดเรือนทอง 1 เรือนของผู้เสียหายตกหายเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2502 โดยผู้เสียหายไม่ทราบว่าตกหาย ณ ที่ใด ในวันเดียวกันนั้นเอง บุตรจำเลยเก็บนาฬิกาดังกล่าวได้แล้วนำไปมอบแก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาเก็บไว้ วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายทราบจึงไปขอนาฬิกาคืนจากจำเลย จำเลยได้เอานาฬิกาซึ่งมิใช่ของผู้เสียหายมาให้ดูและยืนยันว่าเป้นนาฬิกาที่บุตรจำเลยเก็บได้ไม่ยอมคืนนาฬิกาของผู้เสียหายให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคต้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2506).
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2506).