คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บริรักษ์จรรยาวัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์ผู้อื่นโดยทุจริตและไม่ยอมคืนถือเป็นความผิด
นาฬิกาข้อมือแบบหญิงยี่ห้อมิโดเรือนทอง 1 เรือนของผู้เสียหายตกหายเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2502 โดยผู้เสียหายไม่ทราบว่าตกหาย ณ ที่ใด ในวันเดียวกันนั้นเอง บุตรจำเลยเก็บนาฬิกาดังกล่าวได้แล้วนำไปมอบแก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาเก็บไว้ วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายทราบจึงไปขอนาฬิกาคืนจากจำเลย จำเลยได้เอานาฬิกาซึ่งมิใช่ของผู้เสียหายมาให้ดูและยืนยันว่าเป้นนาฬิกาที่บุตรจำเลยเก็บได้ไม่ยอมคืนนาฬิกาของผู้เสียหายให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคต้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลย เมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โ่จทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความ หากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลยเมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความหากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่: การชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา, คุณภาพสินค้า, ค่าเสียหาย, และการหักเงินทดรอง
(1) เมื่อจำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา แม้จะส่งของทันเวลาแต่ไม่ตรงตามคำพรรณาในสัญญาจะบังคับให้โจทก์ผู้ซื้อยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาได้ไม่และกรณีอย่างนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไรย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเองส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่: การชำระหนี้ไม่ตรงตามสัญญา, ค่าเสียหาย, และการหักเงินที่จ่ายทดรอง
(1) เมื่อจำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณาในสัญญาจะบังคับให้โจทก์ผู้ซื้อยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาได้ไม่ และกรณีอย่างนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไร ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอาสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเอง ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการโดยเจ้าพนักงาน: การกระทำที่เป็นการสร้างเอกสารใหม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นเอกสารเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีออกหนังสืออนุญาตให้บุคคลหนึ่งปลูกสร้างอาคารประชิดที่ดินข้างเคียงได้แล้วต่อมาจำเลยขอหนังสือนั้นคืน และปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่จำเลยมีหน้าที่ขึ้นทั้งฉบับ เป็นไม่อนุญาตให้สร้างอาคารนำเข้าเก็บในเรื่องแทนสำเนาหนังสืออนุญาตตัวจริง ดังนี้ เป็นฟ้องที่แสดงอยู่ว่าจำเลยได้กระทำเอกสารขึ้นฉบับหนึ่งโดยมุ่งหมายให้เข้าใจว่าเป็นเอกสารอีกฉบับหนึ่งอันเป็นการปลอมเอกสาร อาจมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการโดยเจ้าพนักงาน: การสร้างเอกสารใหม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นของเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีออกหนังสืออนุญาตให้บุคคลหนึ่งปลูกสร้างอาคารประชิดที่ดินข้างเคียงได้ แล้วต่อมาจำเลยขอหนังสือนั้นคืน และปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่จำเลยมีหน้าที่ขึ้นทั้งฉบับ เป็นไม่อนุญาตให้สร้างอาคารนำเข้าเก็บในเรื่องแทนสำเนาหนังสืออนุญาตตัวจริง ดังนี้ เป็นฟ้องที่แสดงอยู่ว่าจำเลยได้กระทำเอาสารขึ้นฉบับหนึ่งโดยมุ่งหมายให้เข้าใจว่าเป็นเอกสารอีกฉบับหนึ่ง อันเป็นการปลอมเอกสาร อาจมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 161 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความอำนาจตาม พ.ร.บ.การประมง: เครื่องมือห้ามใช้เด็ดขาด vs. เครื่องมือห้ามใช้ในฤดูปลามีไข่ และผลต่อการริบของกลาง
เครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติการประมง มาตรา 32 (2) นั้น จะต้องกำหนดลักษณะของเครื่องมือที่ห้ามใช้เป็นอย่าง ๆ ไว้ให้รู้ หากนำเครื่องมือนั้นมาใช้ทำการประมง ก็ต้องริบตามมาตรา 70
เมื่อได้กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้ในฤดูปลามีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก ตามพระราชบัญญัติการประมงมาตรา 32 (5) แล้ว เครื่องมือทำการประมงอย่างอื่นก็เป็นเครื่องมือที่ต้องห้าม แต่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด ตามมาตรา 32 (2) เพราะเพียงแต่ห้ามในฤดูปลามีไข่เท่านั้นการจะริบเครื่องมือหรือไม่จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลตามมาตรา 69.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการห้ามใช้เครื่องมือประมงและการริบเครื่องมือตาม พ.ร.บ.การประมง
เครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติการประมง มาตรา 32(2)นั้น จะต้องกำหนดลักษณะของเครื่องมือที่ห้ามใช้เป็นอย่างๆ ไว้ให้รู้ หากนำเครื่องมือนั้นมาใช้ทำการประมง ก็ต้องริบตาม มาตรา70
เมื่อได้กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้ในฤดูปลามีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกตามพระราชบัญญัติการประมง มาตรา 32(5)แล้วเครื่องมือทำการประมงอย่างอื่นก็เป็นเครื่องมือที่ต้องห้ามแต่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด ตาม มาตรา 32(2) เพราะเพียงแต่ห้ามในฤดูปลามีไข่เท่านั้น การจะริบเครื่องมือหรือไม่ จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลตามมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสำคัญในคดี: ศาลวินิจฉัยเองจากประเด็นข้อกฎหมาย ไม่ใช่จากพยานหลักฐาน หรือการโต้เถียงของคู่ความ
คำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะการวินิจฉัยว่าเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ มิได้อาศัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่าจริงหรือไม่จริง แต่เป็นความเห็นของศาลเองที่จะต้องวินิจฉัยถึงประเด็นในคดีที่เป็นข้อพิพาท ประกอบด้วยหลักกฎหมายแล้วจึงชี้ขาดสำคัญหรือไม่สำคัญคู่ความจะนำสืบโต้เถียงกันว่าสำคัญหรือไม่สำคัญเสียเองหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2506)
of 58