พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสำคัญในคดี: ศาลวินิจฉัยเองจากประเด็นข้อกฎหมาย ไม่ใช่จากพยานหลักฐาน หรือการโต้เถียงของคู่ความ
คำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะการวินิจฉัยว่าเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ มิได้อาศัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่าจริงหรือไม่จริง แต่เป็นความเห็นของศาลเองที่จะต้องวินิจฉัยถึงประเด็นในคดีที่เป็นข้อพิพาท ประกอบด้วยหลักกฎหมายแล้วจึงชี้ขาดสำคัญหรือไม่สำคัญคู่ความจะนำสืบโต้เถียงกันว่าสำคัญหรือไม่สำคัญเสียเองหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิ์ภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256. บัญญัติว่าบุริมสิทธิ์ในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วยถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีกรัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปีดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำะรหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้โดยสารรถจักรยานสามล้อไม่ต้องรับผิดชอบความประมาทของผู้ขับขี่ การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประมาทชนท้ายรถจักรยานสามล้อที่โจทก์โดยสารมาเป็นเหตุให้โจทก์บาดเจ็บ ขอให้ใช้ค่าเสียหาย นั้นแม้ผู้ขับขี่จักรยานสามล้อนั้นจะประมาทด้วยก็ตาม หากโจทก์เป็นเพียงผู้โดยสาร ไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมกับผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อแต่อย่างใดแล้ว จำเลยก็จะขอให้ศาลเรียกผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้โดยสารรถจักรยานสามล้อไม่ต้องรับผิดในความประมาทของผู้ขับขี่ ฟ้องแย้งเรียกผู้ขับขี่เป็นคู่ความร่วมไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประมาทชนท้ายรถจักรยานสามล้อที่โจทก์โดยสารมา เป็นเหตุให้โจทก์บาดเจ็บ ขอให้ใช้ค่าเสียหายนั้น แม้ผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อนั้นจะประมาทด้วยก็ตาม หากโจทก์เป็นเพียงผู้โดยสาร ไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมกับผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อแต่อย่างใดแล้ว จำเลยก็จะขอให้ศาลเรียกผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและพยายามลักทรัพย์ ศาลลงโทษเฉพาะความผิดฐานบุกรุก จึงไม่ถือว่าลงโทษความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ควบไปด้วย
คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกและพยายามลักทรัพย์ แต่ให้ลงโทษฐานบุกรุกซึ่งเป็นบทหนักมาตราเดียวนั้นจะถือว่าเป็นการลงโทษฐานพยายามลักทรัพย์ควบไปด้วยไม่ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาลงโทษในความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ที่จะกักกันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญา: ศาลลงโทษเฉพาะความผิดฐานบุกรุก แม้จะมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ด้วย ก็ไม่ถือว่าลงโทษควบกัน จึงไม่สามารถกักกันได้
คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกและพยายามลักทรัพย์ แต่ให้ลงโทษฐานบุกรุกซึ่งเป็นบทหนักมาตราเดียวกัน จะถือว่าเป็นการลงโทษฐานพยายามลักทรัพย์ควบไปด้วยไม่ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกศาลพิพากษาลงโทษในความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ที่จะกักกันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแย่งการครอบครอง: การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิเสื่อม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้ว แต่ในระหว่างพิจารณาถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไป และให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1, 2, 3, 4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใด และกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย