คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บริรักษ์จรรยาวัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแย่งการครอบครอง: การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิเสื่อม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้ว แต่ในระหว่างพิจารณาถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไป และให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1, 2, 3, 4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใด และกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองที่ดินต่อเนื่อง แม้มีอุปสรรคชั่วคราว ไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ที่พิพาทเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ไม่มีโฉนด เดิมเป็นของมารดาจำเลย มารดาจำเลยได้ยกที่พิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์ใน พ.ศ. 2494 โจทก์จึงจ้างคนถางที่พิพาทจนเตียนหมด แล้วใน พ.ศ. 2495 และ 2496 โจทก์ก็ทำนาและปลูกถั่วในที่พิพาท โดยทำนา 2 ไร่ ปลูกถั่ว 2 ไร่ นอกนั้นเป็นดอนน้ำไม่ถึง ปลูกอะไรไม่ได้ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการยึดถือโดยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทหมดทั้งแปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ในปีต่อ ๆ มาจนถึง พ.ศ. 2501 โจทก์และผู้ดูแลที่พิพาทแทนโจทก์ได้ปล่อยที่พิพาทว่างไว้เนื่องจากขาดน้ำ ทำผลประโยชน์ไม่ได้ จะถือว่าโจทก์สละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือที่พิพาทตามมาตรา 1377 วรรคแรกหาได้ไม่ ต้องถือว่ามีเหตุชั่วคราวมาขัดขวางมิให้โจทก์เข้ายึดถือทำประโยชน์ อันเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1377 วรรค 2 การครอบครองของโจทก์จึงไม่สิ้นสุดลง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และเจตนาในการครอบครอง แม้มีอุปสรรคชั่วคราวก็ไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ที่พิพาทเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ไม่มีโฉนด เดิมเป็นของมารดาจำเลย มารดาจำเลยได้ยกที่พิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้โจทก์ใน พ.ศ.2494 โจทก์จึงจ้างคนถางที่พิพาทจนเตียนหมด แล้วใน พ.ศ.2495 และ 2496 โจทก์ก็ทำนาและปลูกถั่วในที่พิพาท โดยทำนา 2 ไร่ ปลูกถั่ว 2 ไร่นอกนั้นเป็นที่ดอนน้ำไม่ถึง ปลูกอะไรไม่ได้ ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการยึดถือโดยเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทหมดทั้งแปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ในปีต่อๆ มาจนถึง พ.ศ.2501 โจทก์และผู้ดูแลที่พิพาทแทนโจทก์ได้ปล่อยที่พิพาทว่างไว้เนื่องจากขาดน้ำ ทำผลประโยชน์ไม่ได้จะถือว่าโจทก์สละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือที่พิพาทตามมาตรา 1377 วรรคแรก หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีเหตุชั่วคราวมาขัดขวางมิให้โจทก์เข้ายึดถือทำประโยชน์อันเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1377 วรรคสอง การครอบครองของโจทก์จึงไม่สุดสิ้นลง(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาหลังมรณะและการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ เป็นของโจทก์กับสามีสามีโจทก์ตายไป 7 ปีแล้ว แต่ก่อนตายสามีโจทก์ได้เรียกบุตรทุกคนมาสั่งต่อหน้าว่าที่พิพาทนี้ถ้าสามีโจทก์ตายให้เป็นของโจทก์หรือถ้าโจทก์ตายก่อนก็ให้เป็นของสามีโจทก์ เมื่อสามีโจทก์ตายแล้วโจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทเพื่อตนเองตามที่สามีโจทก์สั่งไว้จำเลยผู้เป็นบุตรคนหนึ่งมิได้ครอบครองที่พิพาท เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนมาตั้งแต่สามีตายเกิน 1 ปีแล้วและที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า ทายาทอื่นจึงเรียกเอาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 สิทธิที่จะรับมรดกของจำเลยจึงเป็นอันหมดไปจะอ้างว่ายังเป็นมรดกของบิดาอยู่อีกไม่ได้ ที่พิพาทย่อมเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาให้ที่ดินแก่บุตรก่อนตาย และการครอบครองเพื่อตนเองหลังมรณะ ทำให้สิทธิมรดกของบุตรรายอื่นสิ้นสุด
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ เป็นของโจทก์กับสามี สามีโจทก์ตายไป 7 ปีแล้ว แต่ก่อนตายสามีโจทก์ได้เรียกบุตรทุกคนมาสั่งต่อหน้าว่า ที่พิพาทนี้ถ้าสามีโจทก์ตายให้เป็นของโจทก์ หรือถ้าโจทก์ตายก่อนก็ให้เป็นของสามีโจทก์ เมื่อสามีโจทก์ตายแล้วโจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทเพื่อตนเองตามที่สามีโจทก์สั่งไว้ จำเลยผู้เป็นบุตรคนหนึ่งมิได้ครอบครองที่พิพาท เมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนมาตั้งแต่สามีตายเกิน 1 ปีแล้ว และที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า ทายาทอื่นจึงเรียกเอาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 สิทธิที่จะรับมรดกของจำเลยจึงเป็นอันหมดไป จะอ้างว่ายังเป็นมรดกของบิดาอยู่อีกไม่ได้ ที่พิพาทย่อมเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการนำสืบพยาน: โจทก์มีสิทธิหักล้างข้ออ้างจำเลย แม้มิได้แถลงรับประเด็น
(1) ในกรณีที่คู่ความทำสัญญาซื้อขายของ และฝ่ายหนึ่งต่อสู้ว่าได้แปลงหนี้แต่นำสืบได้เพียงว่า อีกฝ่ายหนึ่งได้พูดว่าให้หาเงินมาให้เร็ว ถ้าช้าจะคิดดอกเบี้ยบ้างนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรค 2 ยังไม่เป็นหลักฐานมั่นคงถึงกับจะฟังว่าได้มีการแปลงหนี้กันใหม่
(2) จำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 ฉะนั้น ในการที่จำเลยต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นนั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแถลงรับหรือปฏิเสธ
(3) โดยเหตุผลในข้อ (2) ข้างบนนี้และเมื่อจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้ออ้างของจำเลย โจทก์ก็ย่อมนำสืบหักล้างได้ เพราะถ้าพยานหลักฐานใดเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่ฝ่ายใดจะต้องนำสืบ พยานหลักฐานนั้นก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 87 (1) คือ มิใช่ว่าจะมีสิทธินำสืบแต่เฉพาะข้อที่ตนอ้างและมีหน้าที่ตามมาตรา 84, 85 เท่านั้น ข้อความที่ฝ่ายหนึ่งอ้างขึ้นฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่ได้อ้างข้อความนั้นก็สืบหักล้างได้ จะเป็นการสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนหรือหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คงเป็นพยานในประเด็นเดียวกัน ซึ่งต่างนำสืบโต้เถียงกันนั่นเอง
(4) การนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยชำระหนี้รายอื่นเช่นนี้จะถือว่าโจทก์รับตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว และโจทก์อ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้รับว่าได้แปลงหนี้ใหม่ตามที่จำเลยอ้าง
(5) เมื่อศาลสอบถามโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แถลงให้เป็นประเด็นไว้ตามมาตรา 183 โจทก์ย่อมไม่มีประเด็นนำสืบ ตามฎีกาที่ 972/2492 แต่ถ้าศาลไม่ได้สอบถาม โจทก์มีสิทธินำสืบหักล้างได้ และเมื่อโจทก์ได้ถามค้านไว้ตามมาตรา 89 แล้ว ศาลย่อมรับฟังข้อนำสืบของโจทก์ได้ว่าเงินที่จำเลยชำระนั้นเป็นการชำระหนี้รายอื่น
(ข้อ (2), (3), (4), (5) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 44/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ การนำสืบพยาน และหน้าที่แถลงประเด็นของคู่ความ
(1) ในกรณีที่คู่ความทำสัญญาซื้อขายของและฝ่ายหนึ่งต่อสู้ว่าได้แปลงหนี้ แต่นำสืบได้เพียงว่า อีกฝ่ายหนึ่งได้พูดว่าให้หาเงินมาให้เร็ว ถ้าช้าจะคิดดอกเบี้ยบ้าง นั้นตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสองยังไม่ได้เป็นหลักฐานมั่นคงถึงกับจะฟังว่าได้มีการแปลงหนี้กันใหม่
(2) จำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามฉะนั้น ในการที่จำเลยต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นนั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแถลงรับหรือปฏิเสธ
(3) โดยเหตุผลในข้อ (2) ข้างบนนี้และเมื่อจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้ออ้างของจำเลยโจทก์ก็ย่อมนำสืบหักล้างได้ เพราะถ้าพยานหลักฐานใดเกี่ยวถึงข้อเท็จจริง ที่ฝ่ายใดจะต้องนำสืบ พยานหลักฐานนั้นก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 87(1) คือ มิใช่ว่าจะมีสิทธินำสืบแต่เฉพาะข้อที่ตนอ้างและมีหน้าที่ตามมาตรา 84,85 เท่านั้น ข้อความที่ฝ่ายหนึ่งอ้างขึ้นฝ่ายเดียวอีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่ได้อ้างข้อความนั้นก็สืบหักล้างได้จะเป็นการสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนหรือหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คงเป็นพยานในประเด็นเดียวกัน ซึ่งต่างนำสืบโต้เถียงกันนั่นเอง
(4) การนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยชำระหนี้รายอื่นเช่นนี้จะถือว่าโจทก์รับตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว และโจทก์อ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้รับว่าได้แปลงหนี้ใหม่ตามที่จำเลยอ้าง
(5) เมื่อศาลสอบถามโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แถลงให้เป็นประเด็นไว้ตามมาตรา 183 โจทก์ย่อมไม่มีประเด็นนำสืบ ตามฎีกาที่ 972/2492 แต่ถ้าศาลไม่ได้สอบถาม โจทก์มีสิทธินำสืบหักล้างได้ และเมื่อโจทก์ได้ถามค้านไว้ตามมาตรา 89 แล้ว ศาลย่อมรับฟังข้อนำสืบของโจทก์ได้ว่าเงินที่จำเลยชำระนั้นเป็นการชำระหนี้รายอื่น
(ข้อ (2),(3),(4),(5), ประชุมใหญ่ ครั้งที่44/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้และกำไรสุทธิทางภาษี: เงินได้ต้องได้รับมาแล้ว ไม่ใช่แค่สิทธิเรียกร้อง
(1) ความในมาตรา 39 นั้น เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้ต้องได้รับจริง จึงจะนำมาคำนวณภาษีได้ สิทธิเรียกร้องในอนาคตไม่ใช่เงินได้
ความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
คำว่า 'กิจการที่กระทำ' ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์สินค้าผิดกฎหมาย: โจทก์ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาก่อนจำเลย
เมื่อคดียังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าสินค้าของกลางเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือว่าเป็นของที่ผลิตขึ้นในประเทศ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความก่อน ถ้าได้ความว่าเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีแล้ว จึงจะเป็นหน้าที่ของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าได้นำเข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
of 58