คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บริรักษ์จรรยาวัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งครอบครัวเป็นเหตุหย่า: สามีมีหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัว การทิ้งร้างถือเป็นการละทิ้ง
สามีไม่ทำมาหากินอย่างใด ภรรยาบอกให้ทำงานมาเลี้ยงครอบครัวก็โกรธ และขนของออกจากบ้านไปได้หญิงอื่นเป็นภรรยาในเวลากระชั้นชิด ไปแล้วไม่ส่งเงินเลี้ยงดูภรรยากับบุตรเลย แสดงว่าสามีจงใจละทิ้งภรรยา ภรรยาก็ไม่มีความจำเป็นต้องติดตามไปอยู่กับสามี สามีจะอ้างว่าตนเป็นฝ่ายมีสิทธิจะเลือกภูมิลำเนา ให้ภรรยามีหน้าที่ติดตามไปอยู่กับตนหาได้ไม่ เมื่อสามีทิ้งร้ายไปเกิน 1 ปี ภรรยาก็มีสิทธิขอหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าเนื่องจากสามีละทิ้งภรรยาและบุตร โดยไม่เลี้ยงดูและมีภรรยาใหม่
สามีไม่ทำมาหากินอย่างใด ภรรยาบอกให้ทำงานมาเลี้ยงครอบครัวก็โกรธและขนของออกจากบ้านไปได้หญิงอื่นเป็นภรรยาในเวลากระชั้นชิดไปแล้วก็ไม่ส่งเงินเลี้ยงดูภรรยากับบุตรเลย แสดงว่าสามีจงใจละทิ้งภรรยาภรรยาก็ไม่มีความจำเป็นต้องติดตามไปอยู่กับสามีสามีจะอ้างว่าตนเป็นฝ่ายมีสิทธิจะเลือกภูมิลำเนา ให้ภรรยามีหน้าที่ติดตามไปอยู่กับตนหาได้ไม่เมื่อสามีทิ้งร้างไปเกิน 1 ปี ภรรยาก็มีสิทธิขอหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำนาโดยอาศัยสิทธิผู้เช่าเดิม ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่านา
ผู้ที่ทำนาโดยอาศัยสิทธิของผู้เช่านานั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญํติการเช่านา พ.ศ. 2493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในข้อตกลงเรื่องอุปการะบุตรหลังหย่า การตีความอำนาจปกครอง
สามีภรรยาจดทะเบียนหย่ากันและทำหนังสือกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินและบุตรไว้ ณ อำเภอ ข้อตกลงเกี่ยวกับบุตรเขียนไว้ในบันทึกว่า บุตร 4 คน อยู่ในความอุปการะของภรรยา ดังนี้ สามีชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างตามคำให้การของตนได้ว่า คำว่าอุปการะ ที่เขียนไว้นั้น ตนคัดค้านแล้ว ปลัดอำเภอผู้เขียนชี้แจงว่าไม่ใช่อำนาจปกครองอยู่แก่ภรรยา เป็นแต่ให้ภรรยาช่วยอุปการะในฐานเป็นมารดาเท่านั้นนั้น ตนจึงได้ยินยอม รวมทั้งพฤติการณ์ที่แสดงความหมายแห่งข้อตกลงซึ่งสามียกขึ้นต่อสู้ไว้ว่า เป็นแต่ตกลงให้ภรรยาช่วยอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่านั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการตกลงเรื่องอุปการะบุตรหลังหย่า สามารถนำสืบได้ หากมีข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจปกครอง
สามีภรรยาจดทะเบียนหย่ากันและทำหนังสือกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินและบุตรไว้ ณ อำเภอ ข้อตกลงเกี่ยวกับบุตรเขียนไว้ในบันทึกว่า บุตร 4 คน อยู่ในความอุปการะของภรรยา ดังนี้สามีชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างตามคำให้การของตนได้ว่า คำว่า อุปการะที่เขียนไว้นั้น ตนคัดค้านแล้วปลัดอำเภอผู้เขียนชี้แจงว่าไม่ใช่อำนาจปกครองอยู่แก่ภรรยาเป็นแต่ให้ภรรยาช่วยอุปการะในฐานะเป็นมารดาเท่านั้น ตนจึงได้ยินยอมรวมทั้งพฤติการณ์ที่แสดงความหมายแห่งข้อตกลงซึ่งสามียกขึ้นต่อสู้ไว้ว่า เป็นแต่ตกลงให้ภรรยาช่วยอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่านั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429-438/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยคนต่างด้าว: สิทธิครอบครองและอายุความฟ้องร้อง
การได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวและตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นหาได้หมายความแต่เฉพาะการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างเดียวไม่แต่ยังหมายถึงการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในฐานะเจ้าของด้วย
การที่คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวเป็นความผิดอันเกิดขึ้นครั้งหนึ่งคราวเดียว หาใช่เป็นความผิดต่อเนื่องกันไม่ฉะนั้นอายุความฟ้องร้องคดีจึงต้องเริ่มนับหนึ่งแต่วันที่จำเลยกระทำการได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429-438/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าว: สิทธิครอบครอง vs. กรรมสิทธิ์ และประเด็นอายุความ
การได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวและตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น หาได้หมายความแต่เฉพาะการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างเดียวไม่ แต่ยังหมายถึงการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในฐานะเจ้าของด้วย
การที่คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว เป็นความผิดอันเกิดขึ้นครั้งหนึ่งคราวเดียว หาใช่เป็นความผิดต่อเนื่องกันไม่ ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีจึงต้องเริ่มนับหนึ่งแต่วันที่จำเลยกระทำการได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, ตราค่าภาคหลวงปลอม, และการริบไม้
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัท แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลย แต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้หวงห้าม, ตราปลอม, และการริบของกลาง
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัว ไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัทแต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลยแต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกจากลูกสุกร: สิทธิทายาทในดอกผลของสินสมรสหลังเจ้ามรดกเสียชีวิตและการแบ่งค่าใช้จ่าย
ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ลูกสุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยา ส่วนของเจ้ามรดกตกเป็นมรดก ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไร ก็มีส่วนแบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น
แม้จะขายลูกสุกรเหล่านี้ไปหลังจากเจ้ามรดกตาย 2 ปีเศษ ทายาทก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกตามราคาที่ขายได้ (ไม่ใช่ตามราคาของลูกสุกรเมื่อแรกเกิด) ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรจนกระทั่งขายไปนั้น ทายาทผู้เป็นเข้าของรวมต้องช่วยกันออกตามส่วนของตน ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่าลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อนก็ได้ ทายาทที่อ้างว่าตนออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรคนเดียว เมื่อถูกทายาทอื่นฟ้องขอแบ่งมรดกเงินค่าขายสุกร ชอบที่จะขอหักค่าใช้จ่ายนี้มาในคำให้การ
of 58