พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ความรับผิดชอบของจำเลยและผลกระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 1 วัน โดยอ้างเหตุหลงลืมนั้น ถือว่าเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ เพราะเมื่อจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีหน้าที่จดจำและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หากยอมให้จำเลยอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ก็ย่อมทำให้กฎหมายที่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเป็นอันไร้ผล และการที่จำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การก็ไม่ได้อีก เพราะถ้าถือเช่นนั้น ก็จะบังเกิดผลว่าจำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ค่าเสียหายจากการละเมิดต่อเนื่อง แม้มีการเปลี่ยนแปลงค่าเสียหายรายวัน ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่าละเมิดเข้ามาระเบิดเอาหินไปจากที่อันเป็ฯสิทธิของโจทก์ และเรียกค่าเสียหาย 140,000 บาท กับค่าเสียหายวันละ 840 บาท ตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะหยุดทำการระเบิดและขุดต่อยหิน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดพิจารณา และจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่อยู่ โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกสำนวนหนึ่งว่า จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 60,000 บาท กับค่าเสียหายวันละ 420 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะสละการครอบครองรื้อถอนโรงเรือน สะพาน และวัตถุระเบิดออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144, 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ค่าเสียหายจากการละเมิดต่อเนื่อง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากละเมิดเดิมซ้ำไม่ได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่าละเมิดเข้ามาระเบิดเอาหินไปจากที่อันเป็นสิทธิของโจทก์ และเรียกค่าเสียหาย 140,000 บาทกับค่าเสียหายวันละ 840 บาท ตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะหยุดทำการระเบิดและขุดต่อยหิน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดพิจารณา และจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่อยู่ โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกสำนวนหนึ่งว่า จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท ซึ่งโจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 60,000 บาท กับค่าเสียหายวันละ 420 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะสละการครอบครองรื้อถอนโรงเรือน สะพานและวัตถุระเบิดออกไปจากที่พิพาทดังนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144,148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ยังมีสิทธิดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 มีความหมายว่า แม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ในระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี. ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ทนายความยังคงมีอำนาจดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนอำนาจ
ป.พ.พ. มาตรา 1249 มีความหมายว่าแม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นทนายของบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกทุเรียน: การปฏิบัติตามสัญญาและสิทธิบอกเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใดแต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็วในระยะแรกที่พอปลูกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสวนและการปฏิบัติตามสัญญา: หน้าที่ของผู้เช่าในการปลูกทุเรียนตามวัตถุประสงค์ของสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใด แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็ว ในระยะแรกที่พอปลูกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเริ่มเมื่อจำเลยปฏิเสธการรื้อรั้ว ไม่ใช่เมื่อเริ่มทำรั้ว
การที่จำเลยรับรองจะรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปนั้น เป็นการแสดงว่ายังเคารพสิทธิครอบครองของโจทก์อยู่ หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ หากจำเลยขัดขืนเถียงสิทธิไม่ยอมรื้อถอนรั้วออกไปเมื่อใด อายุความจึงจะเริ่มนับแต่วันนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อใด? การรับรองจะรื้อรั้วไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
การที่จำเลยรับรองจะรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปนั้น เป็นการแสดงว่ายังเคารพสิทธิครอบครองของโจทก์อยู่ หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ หากจำเลยขัดขืนเถียงสิทธิไม่ยอมรื้อถอนรั้วออกไปเมื่อใด อายุความจึงจะเริ่มนับแต่วันนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์เป็นอุปกรณ์ในการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้เจ้าของรถจะไม่มีส่วนรู้เห็น
การสั่งริบของกลางในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยิมได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ส. 2484 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยิมได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ส. 2484 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ