คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บริรักษ์จรรยาวัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ จำเลยต้องรับผิดเฉพาะการกล่าวต่อบุคคลอื่น ไม่ใช่การทำให้ผู้อื่นนำไปเผยแพร่
จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่นต่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แล้วบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ และนำออกโฆษณาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใดต่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้พิมพ์ข้อความนั้นแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 326 เท่านั้น หาผิดตามมาตรา 328 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเป็นต้องพิสูจน์เจตนาลูกหนี้ขณะทำนิติกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 มีข้อความระบุว่าจะต้องเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การรู้ดังกล่าวนี้จะต้องรู้อยู่ขณะที่ทำนิติกรรมการโอน และฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าวนี้ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนจำหน่ายสินค้าและการคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป
(1) องค์การสรรพาหาร เป็น+ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด
กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เอาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่ายและชำระเงินค่าสินค้าให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้าแล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับขนแทน โดยองค์การสรรพาหาร เสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้า ส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้อตกลงราคานั้น ผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ (ตัวการ)
การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง แม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไป+แล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้ว ก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป จำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้เพื่อไม่ต้องเสียค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การ+ขึ้นไม่ชอบ ให้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
เมื่อองค์การสรรพหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ ๆ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้
ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าจำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการ หากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี
ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร
การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ถึงแม้องค์การสรรพาหาร จะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวาง คนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า: หน้าที่, ความรับผิด, อายุความ และขอบเขตการฟ้องเรียกทรัพย์สิน
(1) องค์การสรรพาหารเป็นราชการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด (2) กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เขาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่าย และชำระเงินค่าสินค้าคืนให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้า แล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือก็ยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับผลแทน โดยองค์การสรรพาหารเสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้าส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้องตกลงราคากับผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ(ตัวการ) (3) การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างใดก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงแม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไปขายแล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้วก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไปจำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้ เพื่อไม่ต้องคืนค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การตั้งขึ้นไม่ชอบ ได้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
(4) เมื่อองค์การสรรพาหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ โจทก์ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้ (5) ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการหากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี (6) ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพาหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร (7) การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถึงแม้องค์การสรรพาหารจะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวางคนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของรวม ต้องตามส่วนสิทธิที่แต่ละคนได้รับตามกฎหมาย ไม่สามารถสันนิษฐานแบ่งเท่ากันได้
การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่ามีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1357 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฏสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกัน โดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฏชัดว่าได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกมาและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฏชัดตามทางนำสืบด้วยแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 1357 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเจ้าของรวมต้องตามสิทธิรับมรดกที่ปรากฏชัดเจน ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายใช้ไม่ได้
การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าตนมีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1157 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฎสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกันโดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฎชัดว่า ได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฎชัดตามทางนำสืบด้วแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 13+7 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายวงแชร์: สัญญาโดยปริยายและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายวงกับลูกวง
ความรับผิดของนายวงในการเล่นแชร์นั้นย่อมแล้วแต่ตกลงสัญญากัน จะเป็นโดยตรงหรือโดยปริยาย คือ อาศัยระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่เคยเล่นกันมาก็ได้ และจะอ้างประเพณีการเล่นแชร์มาใช้ก็ได้ในเมื่อหมายถึงการตกลงเล่นแชร์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติกันมานั่นเอง จึงถือว่าได้ตกลงโดยปริยายเช่นนั้น
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้นนายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเองลูกวงคนอื่นๆ หาได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อลูกวงนั้นๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้วและนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวงนายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะพึงไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้งแล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง แม้ใช้รถที่ไม่ใช่ของตนเอง หากเป็นการใช้ในทางการที่จ้าง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถดับเพลิงของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ของบุคคลอื่นไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายนั้น หากปรากฏว่ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ได้นำมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 2 และขับไปในทางการที่จ้างแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเกวียนและกระบือที่ใช้ในการขนย้ายไม้ผิดกฎหมาย ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิด
การใช้เกวียนและกระบือบรรทุกไม้แปรรูปผิดกฎหมายจากป่ามาไว้ที่เรือนนั้นเป็นการใช้เกวียนและกระบือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิด เกวียนและกระบือต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือและการใช้รายงานผล การวินิจฉัยของศาลตามรายงานของผู้เชี่ยวชาญ
จำเลยขอให้ส่งเอกสารอื่นกับหนังสือสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไปยัง จ. (ซึ่งจำเลยระบุไว้ในบัญชีพยานแล้ว) ผู้ชำนาญการพิเศษ ให้พิสูจน์ลายมือชื่อเป้งว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ จ. พิสูจน์ดังจำเลยแถลงได้ ดังนี้ ถือได้ว่าได้มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้ว เพราะศาลได้ออกคำสั่งกำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญให้ทำการพิสูจน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว
ตามมาตรา 130 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งผู้เชี่ยวชาญอาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ เมื่อศาลสั่งให้ผู้เชี่ยวชาญส่งผลแห่งการพิสูจน์เท่านั้น และโจทก์ก็มิได้เรียกร้องให้ศาลเรียกมาเพื่ออธิบายด้วยวาจาอีก ศาลย่อมวินิจฉัยตามหนังสือรายงานของผู้เชี่ยวชาญได้
of 58