พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหาย: ครอบครองทรัพย์ = ได้รับความเสียหาย แม้ไม่ใช่เจ้าของ
'ผู้เสียหาย' นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกทำให้เสียหายบุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ก็เป็นผู้เสียหายได้หากได้รับการเสียหายเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง
บรรยายฟ้องว่า ทรัพย์เป็นของผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ทรัพย์นั้นเป็นของบุคคลอื่น ผู้เสียหายครอบครองอยู่ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง
บรรยายฟ้องว่า ทรัพย์เป็นของผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ทรัพย์นั้นเป็นของบุคคลอื่น ผู้เสียหายครอบครองอยู่ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาจำนองเป็นประกัน: สัญญาจำนองไม่เป็นโมฆะหากเป็นการค้ำประกันราคาซื้อขาย
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันผู้ขายได้รับชำระค่าที่ดินไปเกือบหมดแล้ว และผู้ซื้อก็ได้เข้าครอบครองปลูกเรือนลงในที่ดินนั้นเรียบร้อยแล้ว ยังแต่ผู้ขายจะไปทำการแบ่งแยกโฉนดที่พิพาทให้เป็นของผู้ซื้อเท่านั้น ผู้ซื้อกลัวว่าผู้ขายจะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมโอนที่พิพาทในภายหลังจึงขอร้องให้ผู้ขายไปทำสัญญาจำนองเป็นประกันเงินราคาที่ดินที่ซื้อขายกันซึ่งได้ชำระไปแล้วให้อีก โดยผู้ซื้อไม่คิดเอาดอกเบี้ยในการจำนองเว้นแต่ผู้ขายบิดพลิ้วโกงไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อขายจึงจะเอาสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับเรียกราคาที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนจากผู้ขายดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา แต่สัญญาจำนองก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางหากเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดินไปแล้ว สัญญาจำนองจึงไม่เป็นโมฆะแต่ตราบใดที่ผู้ขายยังมิได้ผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยผู้ขายยังมิได้บิดพลิ้ว ไม่ยอมโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อก็จะนำสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับผู้ขายยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเพื่อค้ำประกันสัญญาซื้อขาย: ไม่เป็นโมฆะหากผู้ขายยังไม่ผิดสัญญา
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทกันเป็นเงิน 14,000 บาท ผู้ขายได้รับชำระค่าที่ดินไปเกือบหมดแล้ว ผู้ซื้อก้ได้เข้าครอบครองปลูกเรือนลงในที่ดินนั้นเรียบร้อยแล้ว ยังแต่ผู้ขายจะไปทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้เป็นของผู้ซื้อเท่านั้น ในระหว่างจะแบ่งแยกโฉนด ผู้ซื้อกลัวว่าผู้ขายจะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้ภายหลัง จึงขอร้องให้ผู้ขายไปทำสัญญาจำนองเป็นประกันเงินราคาที่ดิน ที่ซื้อขายกันซึ่งได้ชำระไปแล้วนั้นไปอีก โดยผู้ซื้อจะไม่คิดเอาดอกเบี้ย แก่ ผู้ขายในการจำนองนี้ เว้นแต่ผู้ขายบิดพลิ้ว โกงไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกันไว้แล้ว จึงจะเอาสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับเรียกราคาที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนจากผู้ขาย ดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา ส่วนสัญญาจำนองไม่ใช่นิติกรรมอำพราง แต่เป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดิน ไปแล้วตามสัญญาจะซื้อขายสัญญาจำนอง จึงไม่เป็นโมฆะ และตราบใดที่ผู้ขายยังมิได้ผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยผู้ขายมิได้บิดพลิ้วไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็จะนำสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับผู้ขายยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นซึ่งหน้า vs. ความเดือดร้อนรำคาญ: ถ้อยคำหยาบคายไม่ถึงดูหมิ่น แต่สร้างความเดือดร้อนได้
ถ้อยคำที่จำเลยร้องตะโกนกล่าววาจาแก่ผู้เสียหายซึ่งหน้าและต่อหน้าธารกำนัลในเวลากลางคืนว่า'อ้ายชั้นมึงหากูความอาญาหรือลูกกะโปกกูไม่หดกูลูกนางจักร์โว้ยไม่ใช่ลูกบ้านน้ำเค็มจะเอายังไงก็เอาซีวะจะเอาอ้ายแจะติดคุกก็ได้' นั้นเป็นข้อความที่หยาบคายไม่สุภาพ แต่ไม่มีข้อความอันเป็นการดูหมิ่นนายชั้นผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 แต่ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวประกอบกับวิธีกล่าวและเวลาที่จำเลยกล่าว ย่อมทำให้นายชั้นผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา397 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวคำหยาบคายต่อหน้าธารกำนัล ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น แต่เข้าข่ายทำให้เดือดร้อน
ถ้อยคำที่จำเลยร้องตะโกนกล่าววาจา แก่ผู้เสียหายซึ่งหน้าและต่อหน้าธารกำนัลในเวลากลางคืนว่า อ้ายชั้น มึงหากูความอาญาหรือ ลูกกะโปกกูไม่หด กูลูกนางจักร์ โว้ย ไม่ใช่ลูกบ้านน้ำเค็ม จะเอายังไงก็เอาชีวะ จะเอาอ้ายแจะติดคุกก็ได้ นั้น เป็นข้อความที่หยาบคายไม่สุภาพ แต่ไม่มีข้อความอันเป็นการดูหมิ่นนายชั้นผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา 393 แต่ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวประกอบกับวิธักล่าวและเวลาที่จำเลยกล่าวย่อมทำให้นายชั้นผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรื้อถอนเรือนหลังพิพาท ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนพิพากษาว่าเรือนเป็นของจำเลย เหตุประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนหลังพิพาท อ้างว่าเรือนพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เรือนหลังพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลย ออกจากเรือนหลังพิพาทไม่ได้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องใหม่ว่าเรือนหลังพิพาทเป็นของจำเลยได้ ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยไม่มีสิทธิขอให้รื้อถอนเรือนหลังนี้ไป ดังนี้ประเด็นที่จะวินิจฉัยไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรื้อถอนเรือนบุกรุกที่ดิน: ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนพิพากษาเรื่องกรรมสิทธิ์
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท อ้างว่าเรือนพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดศาลพิพากษาว่าเรือนพิพาทเป็นของจำเลยโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาทไม่ได้ โจทก์มาฟ้องใหม่ว่าเรือนพิพาทเป็นของจำเลยได้ปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิขอให้รื้อถอนเรือนพิพาทไป ดังนี้ ประเด็นที่จะวินิจฉัยไม่ใช่อาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: การจำกัดความรับผิดตาม ม.147 และความผิดตาม ม.158
จำเลยเป็นตำรวจกองบังคับการตำรวจรถไฟมีหน้าที่อารักขาพนักงานรถไฟสืบสวนคดี และถ่ายรูปประกอบคดีในเขตการรถไฟแต่กองบังคับการไม่มีปืนพกและกล้องถ่ายรูปใช้จึงให้จำเลยเบิกจากกองกำกับการตำรวจรถไฟเพื่อใช้ในราชการ เจ้าหน้าที่ได้มอบปืนพก 1 กระบอกและกล้องถ่ายรูป 1 กล้องให้แก่จำเลยไปเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ต่อมาจำเลยหลบหนีราชการและได้เบียดบังเอาปืนและกล้องถ่ายรูปนั้นไว้เป็นของตนโดยทุจริตดังนี้จำเลยมิใช่เจ้าพนักงานซึ่ง ทำจัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 147แห่งประมวลกฎหมายอาญา จำเลยจึงไม่ผิดตามมาตรานี้แต่ผิดตามมาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: หน้าที่ปกครองรักษาทรัพย์ตามมาตรา 147 และความผิดฐานลักทรัพย์ (มาตรา 158)
่จำเลยเป็นตำรวจกองบังคับการตำรวจรถไฟมีหน้าที่อารักขาพนักงานรถไฟ สืบสวนคดี และถ่ายรูปประกอบคีดในเขตการรถไฟ แต่กองบังคับการไม่มีปืนพกและกล้องถ่ายรูปใช้ จึงให้จำเลยเบิกจากกองกำกับการตำรวจรถไฟเพื่อใช้ในราชการ เจ้าหน้าที่ได้มอบปืนพก 1 กระบอก และกล้องรูป 1 กล้อง ให้แก่ จำเลยไปเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ต่อมาจำเลยหลบหนีราชการและได้เบียดบังเอาปืนและกล้องถ่ายรูปนั้นไว้เป็นของตนโดยทุจริต ดังนี้ จำเลยมิใช่เจ้าพนักงานซึ่ง ทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 147 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา จำเลยจึงไม่ผิดตามมาตราซึ่ง แต่ผิดตามมาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นและคัดค้านคำตัดสิน
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในกรณีขาดนัดนั้น จะต้องบรรยายให้เห็นได้ว่ากรณีขาดนัดของตนนั้น ไม่ใช่เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรและต้องกล่าวคัดค้านคำตัดสินของศาลด้วย