คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อนุสสรนิติสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกสำหรับความผิดเจ้าพนักงานปลอมหนังสือ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปีก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งไม่กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่า มาตรา ใดตรงกับมาตรา ของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่า และใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง: พิจารณาจากสภาพของกลางและความเชื่อมโยงกับการกระทำผิด แม้ฟ้องไม่ระบุชัด
ถึงแม้ฟ้องของโจทก์ไม่ได้เน้นความไว้ ของกลางที่จับได้พร้อมกับจำเลย เป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ดี ย่อมต้องเข้าใจว่าเป็นสิ่งของที่แสดงถึงความผิดหรือพิรุธของจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ได้ เมื่อโจทก์ขอให้ริบของกลางทั้งหมดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับสภาพของกลางว่า รายการใดพออนุมานได้ว่าจำเลยได้ใช้กระทำผิดอันเป็นของควรริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาการริบของกลางในคดีอาญา: พิจารณาความเชื่อมโยงของของกลางกับการกระทำผิด
ถึงแม้ฟ้องของโจทก์ไม่ได้เน้นความไว้ ของกลางที่จับได้พร้อมกับจำเลย เป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ดี ย่อมต้องเข้าใจว่าเป็นของที่แสดงถึงความผิดหรือพิรุธของจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นของที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดก็ได้ เมื่อโจทก์ขอให้ริบของกลางทั้งหมดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับสภาพของกลางว่า รายการใดพออนุมานได้ว่า จำเลยได้ใช้กระทำผิดอันเป็นควรริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอยืมทรัพย์โดยอ้างเหตุผลที่ไม่เป็นความจริง ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง หากไม่มีผลต่อการให้ยืม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวคำหลอกลวงขอยืมรถจักรยาน2 ล้อ ไปทวงหนี้กับผู้มีชื่อ ดังนี้ ไม่มีมูลความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง เป็นแต่ผิดคำรับรองที่จำเลยให้ไว้ล่วงหน้าว่าจะไปทำกิจอย่างนั้นแล้วมิได้ไปทำเท่านั้นเพราะความสำคัญอยู่ที่จำเลยจะขอยืมรถเจ้าทรัพย์ ส่วนที่ว่าจะไปทวงหนี้ ก็เป็นแต่คำกล่าวประกอบการขอยืม ฟ้องโจทก์ก็มิได้กล่าวว่า ถ้าจำเลยไม่อ้างว่าจะไปทวงหนี้แล้วเจ้าทรัพย์ก็จะไม่ให้ (อ้างฎีกาที่ 1187/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: การขอยืมทรัพย์โดยอ้างเหตุผลอื่น ไม่เป็นความเท็จหลอกลวงหากเจ้าทรัพย์ให้ยืมโดยไม่ติดใจ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวคำหลอกลวงขอยืมรถจักรยาน 2 ล้อ ไปทวงหนี้กับผู้มีชื่อ ดังนี้ ไม่มีมูลความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง เป็นแต่ผิดคำรับรองที่จำเลยให้ไว้ล่วงหน้าว่าจะไปทำกิจอย่างนั้นแล้วมิได้ไปทำเท่านั้น เพราะความสำคัญอยู่ที่จำเลยจะขอยืมรถเจ้าทรัพย์ ส่วนที่ว่าจะไปทวงหนี้ ก็เป็นแต่คำกล่าวประกอบการขอยืม ฟ้องโจทก์ก็มิได้กล่าวว่า ถ้าจำเลยไม่อ้างว่า จะไปทวงหนี้แล้ว เจ้าทรัพย์ก็จะไม่ให้ (อ้างฎีกาที่ 1187/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่อุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนผันโทษในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1-2-3-4 ฐานพยายามปล้น และลงโทษจำเลยที่ 2-3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อหาฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 9 ผ่อนผันไม่เอาโทษแก่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2-3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่2-3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2-3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษจำเลยที่ไม่ใช่ผู้ถูกอุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 - 2 - 3 - 4 ฐานพยายามปล้นและลงโทษจำเลยที่ 2 - 3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 ผ่อนผัน ไม่เอาโทษแต่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 - 3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 2 - 3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 - 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอม (เครื่องหมายทะเบียนปืน) โดยรู้ว่าเป็นของปลอม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
อักษรและเลขหมายที่พานท้ายปืนอันเป็นเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานนั้น ไม่ใช่รอยตราของเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 แต่เป็นเอกสารตาม มาตร า1(7)
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าอักษรเลขหมายที่พานท้ายปืนของจำเลยเป็นของทำปลอมขึ้นเมื่อเจ้าพนักงานมาขอค้นจำเลยได้ นำปืนดังกล่าวออกแสดงให้เจ้าพนักงานดูพร้อมในอนุญาตของจำเลยดังนี้ ต้องถือว่า จำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอม (เครื่องหมายทะเบียนปืน) โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของปลอม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
อักษรและเลขหมายที่พานท้ายปืนอันเป็นเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานนั้น ไม่ใช่รอยตราของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 251 แต่เป็นเอกสารตามมาตรา 1(7)
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าอักษรเลขหมายที่พานท้ายปืนของจำเลยเป็นของทำปลอมขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานมาขอค้นจำเลยได้นำปืนดังกล่าวออกแสดงให้เจ้าพนักงานดูพร้อมใบอนุญาตของจำเลยดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันธรรมสวนะไม่ใช่ 'วันหยุดงาน' ตามพรบ.แรงงาน ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว
การหยุดงานวันธรรมสวนะตามประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499 ถือว่าเป็นวันหยุดราชการปกติประจำสัปดาห์ ลูกจ้างไม่สิทธิได้รับเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดทำงานตามพระราชบัญญัติแรงงาน มาตรา 25
of 34