พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นปรับ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับ ไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ และเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษเพียงเล็กน้อยไม่เป็นเหตุให้ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษและเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจ: การผูกพันของตัวการต่อบุคคลภายนอก
ทนายความซึ่งได้รับมอบอำนาจในการบังคับคดีตามใบมอบอำนาจที่กระทำตามแบบพิมพ์ของกองหมายนั้น ย่อมไม่มีอำนาจรับเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าปรากฏว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เคยชำระหนี้ บางงวดแก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจเล่นนั้น และผู้มอบอำนาจได้เคยแสดงออกว่า รับรู้ถึงการรับเงินนั้น ดังนี้ ย่อมมีเหตุอันควรที่จะทำให้ลูกหนี้ดังกล่าวเชื่อว่าทนายความผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจรับเงินชำระหนี้แทนผู้มอบอำนาจได้ ฉะนั้น ลูกหนี้ผู้ชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจโดยสุจริตและโดยมีเหตุอันควรเชื่อเช่นนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822
(เรื่องใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์นี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2505)
(เรื่องใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์นี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก - ความเข้าใจผิดโดยสุจริต - ที่ดินสงวน - การครอบครองปรปักษ์
จำเลยเข้าไปปลูกต้นยางพาราในที่ดินซึ่งกรมทางหลวงจับจองและขึ้นทะเบียนเป็นที่สงวนของทางราชการ โดยมีพฤติการณ์ต่างๆ ที่ทำให้จำเลยหลงเข้าใจโดยสุจริตคิดว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินสงวนหวงห้ามมาก่อน เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะเข้าถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อันเป็นของผู้อื่นซึ่งจะเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดไม้ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่ได้รับใบอนุญาตก่อนตัดฟัน ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยขออนุญาตตัดฟันไม้หวงห้าม เจ้าพนักงานป่าไม้แขวงออกไปตรวจคัดเลือกตีตราประจำต้นที่จะอนุญาตให้ตัดฟันได้และก่อนที่จำเลยจะตัดฟันไม้นายอำเภอผู้มีอำนาจก็ได้มีคำสั่งอนุญาตตามที่ขอแล้วด้วย ต่อมาจำเลยตัดไม้นั้น แต่นายอำเภอออกใบอนุญาตให้หลังวันตัดไม้ เช่นนี้เห็นว่า จำเลยยังไม่มีเจตนาฝ่าฝืนตัดฟันไม้ไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องเกิดเมื่อกรรมสิทธิ์แยกขาด การใช้ทางเดินต่อเนื่องหลังแบ่งแยกที่ดินยังไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม
ทางเดินพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของรวม 2 ฝ่ายครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด และในระหว่างนั้น ถึงแม้ผู้เช่าห้องแถวของเจ้าของรวมอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ใช้ทางเดินพิพาทนั้นมาเป็นเวลา 20 ปีเศษก็ตาม และภายหลังเมื่อได้แบ่งแยกโฉนดครอบครองกันเป็นส่วนสัดแล้ว แต่ก็ยังใช้ทางเดินพิพาทนั้นไม่ถึง 10 ปี นับแต่ได้แยกกันครอบครองทางเดินพิพาทย่อมไม่เป็นทางภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยต่อเนื่องหลังแบ่งแยกที่ดิน
ทางเดินพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของรวมสองฝ่ายครอบครองร่วมกันมา โดยมิได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดและในระหว่างนั้น แม้ผู้เช่าห้องแถวของเจ้าของรวมอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ใช้ทางเดินพิพาทนั้นมาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ก็ตาม แต่ภายหลังเมื่อได้แบ่งแยกโฉนดครอบครองกันเป็นส่วนสัดแล้ว ยังใช้ทางเดินพิพาทนั้นต่อมาไม่ถึง 10 ปี นับแต่ได้แยกกันครอบครอง ทางเดินพิพาทย่อมไม่เป็นทางภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเพื่อต่อสู้สิทธิจากการอ้างหนี้ปลอม ไม่เข้าข่ายการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 240 และไม่ขาดอายุความ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่าสมคบกันทำสัญญากู้ปลอมขึ้นฟ้องร้องโดยมิได้เป็นหนี้ต่อกัน เพื่ออาศัยสิทธิตามคำพิพากษามาขอเฉลี่ยในคดีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น โจทก์ย่อมฟ้องได้และมิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วยค่าก่อสร้าง ต่ออายุได้ แม้ไม่ทำสัญญาต่ออายุ แต่สัญญายังไม่สิ้นสุด ผู้เช่ามีสิทธิฟ้องขอจดทะเบียน
สัญญาเช่าตึกแถว ซึ่งผู้เช่าเสียเงินแก่ผู้ให้เช่าเป็นการช่วยค่าก่อสร้างและทั้งสองฝ่ายทำสัญญาเช่ากันไว้ 3 ปี โดยผู้ให้เช่ายอมจะต่ออายุสัญญาเช่าให้อีกคราวละ 3 ปีรวม 14 ปี และจะไปจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานนั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้ผู้เช่าจะได้เช่ามาแล้ว6 ปีโดยไม่มีการต่ออายุสัญญา สัญญานั้นก็ไม่หมดอายุผู้เช่ามีอำนาจฟ้องขอให้จดทะเบียนตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนที่มีกำหนดระยะเวลา และการบังคับตามสัญญาแม้มีข้อโต้แย้ง
ที่ดินเป็นของ ผ. โจทก์ปลูกตึกรายพิพาทลงในที่ดินนี้ให้สามีจำเลยเช่า ได้ทำสัญญาเช่าตึกระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับสามีจำเลยผู้เช่า มีข้อสัญญาว่าให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 100 บาท เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ถ้าผู้เช่าหรือทายาทจะเช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจะต้องต่ออายุสัญญาคราวละ 3 ปีจนกว่าอายุสัญญาจะร่วมกันเป็น 14 ปี ผู้ให้เช่าและเจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าภายในเวลาอันสมควร ผ.ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและตึกก็บันทึกข้อความยอมตกลงตามข้อสัญญานี้ด้วย ในการทำสัญญานี้ สามีจำเลยและจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ 56,000 บาท เป็นค่าช่วยการก่อสร้างด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อเช่ากันได้ราว 1 ปีแล้ว สามีจำเลยตาย แต่ได้มีการบันทึกของโจทก์จำเลยไว้หลังสัญญาเช่าให้จำเลยเช่าต่อไป จำเลยผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องโจทก์ให้ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญานั้นได้ และแม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของที่ดินกับตึก และ ผ.เจ้าของที่ดินก็เป็นคู่สัญญาร่วมด้วย จำเลยก็ไม่จำเป็นต้องฟ้อง ผ.หรือเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม (ในคดีที่จำเลยฟ้องแย้ง) การฟ้องขอให้บังคับโจทก์เช่นนี้ แม้จำเลยปล่อยให้ล่วงเลยมาถึง 6 ปี (นับแต่วันทำสัญญาเช่า)
ก็ไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะได้เช่าห้องพิพาทมาแล้ว 6 ปี โดยไม่ได้ต่ออายุสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็ไม่หมดอายุ เพราะต้องถือตามสัญญาต่างตอบแทน และเมื่อจำเลยมีสิทธิเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ก็ไม่ต้องวินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ
ก็ไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะได้เช่าห้องพิพาทมาแล้ว 6 ปี โดยไม่ได้ต่ออายุสัญญาเช่า สัญญาเช่าก็ไม่หมดอายุ เพราะต้องถือตามสัญญาต่างตอบแทน และเมื่อจำเลยมีสิทธิเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ก็ไม่ต้องวินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ