พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (เกวียน, โค) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยการรับสารภาพของจำเลย
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำการแปรรูปไม้สักและมีไม้สักแปรรูปไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าเกวียน 1 เล่ม โค 2 ตัวของกลางที่โจทก์ขอให้ริบนั้นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยร่วมกันใช้ในการกระทำผิดและใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดคดีนี้ ย่อมหมายความว่า รวมทั้งจำเลยร่วมกันใช้เกวียนและโคนั้นเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด คือ การแปรรูปไม้สักและมีไม้สักแปรรูปไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยนั่นเอง เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่ต่อสู้คดี ก็ต้องถือว่า เกวียนและโคของกลางนั้นเป็นของที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันต้องริบเสียตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสัญชาติไทยหลังเคยขอเป็นคนต่างด้าว และผลกระทบของกฎหมายสัญชาติที่แก้ไข
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมากองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัดโจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมืองอธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติโจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยและไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีนโจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุดจำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่งในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ.2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20(2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่งในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ.2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20(2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสัญชาติไทยหลังขอเป็นคนต่างด้าวและผลกระทบของกฎหมายสัญชาติฉบับต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมา กองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัด โจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมือง อธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติ โจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย และไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีน โจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุด จำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่ง ในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 20 (2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่ง ในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 20 (2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนมือของเรือนเป็นเรือนหอและอำนาจยึดทรัพย์ การให้เงินค่าเรือนหอทำให้เรือนตกเป็นสินเดิมของจำเลย
เรือนพิพาทเดิมเป็นของผู้ร้องและปลูกอยู่ในที่ดินของผู้ร้องเมื่อจำเลยมาแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้องฝ่ายผู้ร้องได้เรียกเอาเงินเป็นค่าเรือนหอและมอบเรือนนั้นให้เป็นที่อยู่อาศัยของคู่สมรสเรือนนั้นจึงเปลี่ยนมือจากผู้ร้องมาเป็นเรือนหออันเป็นสินเดิมของจำเลย กรณีมิใช่เรื่องซื้อขายหรือยกให้ไม่จำต้องมีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เรือนพิพาทเป็นของจำเลย ดังแบบอย่างฎีกาที่ 1693/2500
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารพยานไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารพยานไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนมือเรือนเป็นเรือนหอ: ไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1299 หากไม่ใช่การซื้อขายหรือยกให้
เรือนพิพาทเดิมเป็นของผู้ร้องและปลูกอยู่ในที่ดินของผู้ร้อง เมื่อจำเลยมาแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้อง ฝ่ายผู้ร้องได้เรียกเอาเงินเป็นค่าเรือนหอและมอบเรือนนั้นให้เป็นที่อยู่อาศัยของคู่สมรส เรือนนั้นจึงเปลี่ยนมือจากผู้ร้องมาเป็นเรือนหออันเป็นสินเดิมของจำเลย กรณีมิใช่เรื่องซื้อขายหรือยกให้ ไม่จำต้องมีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เรือนพิพาทเป็นของจำเลย ดังแบบอย่างฎีกาที่ 1693/2500
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาวุธปืนสงคราม การอ้างเหตุเคยได้รับอนุญาตไม่ลบล้างกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามตามกฎกระทรวงไว้โดยมิได้รับอนุญาตจำเลยรับสารภาพศาลสอบโจทก์ โจทก์แถลงว่าทางราชการเคยอนุญาตให้ผู้ที่ครอบครองปืนชนิดนี้จดทะเบียนให้มีและใช้ได้ ยังมีราษฎรที่ได้รับอนุญาตมีและใช้ปืนนี้ได้
เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่า รับว่ามีปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามจะอ้างคำแถลงของโจทก์มาลบล้างกฎกระทรวงฯไม่ได้ คงมีผลเพียงเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น
เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่า รับว่ามีปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามจะอ้างคำแถลงของโจทก์มาลบล้างกฎกระทรวงฯไม่ได้ คงมีผลเพียงเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เคยมีอนุญาตก่อนหน้าก็ไม่ลบล้างกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามตามกฎกระทรวงไว้โดยมิได้รับอนุญาต จำเลยรับสารภาพ ศาลสอบโจทก์ โจทก์แถลงว่าทางราชการเคยอนุญาตให้ผู้ที่ครอบครองปืนชนิดนี้จดทะเบียนให้มีและใช้ได้ ยังมีราษฎรที่ได้รับอนุญาตมีและใช้ปืนนี้ได้อยู่
เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่า รับว่ามีปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม จะอ้างคำแถลงของโจทก์มาลบล้างกฎกระทรวงฯ ไม่ได้ คงมีผลเพียงเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น
เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่า รับว่ามีปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม จะอ้างคำแถลงของโจทก์มาลบล้างกฎกระทรวงฯ ไม่ได้ คงมีผลเพียงเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอัยการฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด ม.350, การเป็นโจทก์ร่วม และข้อจำกัดการต่อสู้คดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2,3 นั้นจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้นโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2,3 นั้นจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้นโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด, และการยกฟ้องกระทบสิทธิโจทก์ร่วม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2, 3 นั้น จำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้น โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้ การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2, 3 นั้น จำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้น โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้ การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต: ความผิดต่อเนื่องและอายุความ
การที่จำเลยซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นป่าจากบุคคลอื่นมา 2 ปีแล้ว เข้าไปยึดถือครอบครองปลูกปอในที่นั้นย่อมเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 และความผิดในฐานนี้เป็นความผิดที่ทำต่อเนื่องกันเรื่อยไป
จำเลยครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตต่อเนื่องกันเรื่อยมา และนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ไปพบการยึดถือครอบครองของจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความ
จำเลยครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตต่อเนื่องกันเรื่อยมา และนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ไปพบการยึดถือครอบครองของจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความ