คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจริญ ฤทธิศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ทางเดินต่อเนื่องในที่ดินของเจ้าของรวม และมีการโอนสิทธิในที่ดิน
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดต่างครอบครองเป็นส่วนสัดเกิด 10 ปี แล้วเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ใช้ทางเดินในที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งมาอีกระยะหนึ่ง จนเกิน 10 ปี แล้ว โอนขายที่ดินส่วนของตนให้โจทก์ไป ดังนี้ โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมเหนือทางเดินนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยการใช้ทางเดินต่อเนื่องในที่ดินเจ้าของรวมและการโอนสิทธิ
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดต่างครอบครองเป็นส่วนสัดเกิน 10 ปีแล้วเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ใช้ทางเดินในที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งมาอีกระยะหนึ่งจนเกิน 10 ปีแล้วโอนขายที่ดินส่วนของตนให้โจทก์ไป ดังนี้โจทก์ย่อมได้สิทธิในภารจำยอมเหนือทางเดินนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาช่วงเวลาการจ่ายเงินเพื่อกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้าง ทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาตามลักษณะการจ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้างทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนมีกฎหมายที่ดิน: การไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 9
จำเลยได้เข้าครอบครองที่นาตั้งแต่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ตลอดมา ประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9 ระบุว่า ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เมื่อจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ดังว่าแล้ว ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 9 จึง ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่ถือเป็นการบุกรุก
จำเลยได้เข้าครอบครองทำนาตั้งแต่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน และจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ตลอดมา ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ระบุว่า ที่ดินของรัฐนั้น ถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เมื่อจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ดังว่าแล้ว ก็ไม่ต้องห้ามมาตรา 9 จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1152/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในชั้นบังคับคดี ศาลมีอำนาจพิจารณาได้โดยไม่ต้องมีการฟ้องร้องเพิกถอนก่อน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบนั้น เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี เจตนารมย์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวกันได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้ว ศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในมาตรา 237 ได้ โดยมิพักต้องให้เจ้าหนี้ไปฟ้องดำเนินคดีฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1152/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการโอนได้ในชั้นบังคับคดีโดยไม่ต้องฟ้องเพิกถอน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ นั้น เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี เจตนารมย์ของการบังคับคดี ยอมให้ว่ากล่าวกัน ได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้ว ศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในมาตรา 237 ได้ โดยมิพักต้องให้เจ้าหนี้ไป ฟ้องดำเนินคดี ฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อน แต่ประการใด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ: การด่าว่าและกล่าวหาเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
แม้จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาวจะได้อยู่บ้านปรนนิบัติโจทก์ผู้เป็นบิดามาแต่ผู้เดียวในเวลาเดียวกับที่พี่ๆ น้องๆไปศึกษาเล่าเรียนหรือไปอยู่ต่างจังหวัดก็ดี การที่โจทก์ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นจำนวนมากราคาสูงและเป็นทรัพย์ส่วนใหญ่ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนบุตรคนอื่นๆ ไม่ได้ ก็มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเนื่องมาจากเหตุบางประการที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งในสำนวนเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จำเลยเป็นบุตรสาวของโจทก์ เวลากลางคืนโจทก์ไปตามเด็กหญิงคนใช้ที่บ้านพักจำเลยโดยหาว่าจำเลยเอาเด็กนั้นมากักขังไว้ โจทก์จะให้เด็กกลับบ้านโจทก์ จำเลยไม่ยอม หาว่าโจทก์ปลุกปล้ำเด็กจะเอาเป็นภรรยา เด็กไม่ยอมจึงวิ่งมาหาจำเลย โจทก์จำเลยเถียงกัน จำเลยด่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่กูไม่นับถือมึงอ้ายพ่อฉิบหาย" โจทก์ตบหน้าจำเลย จำเลยถีบเอาโจทก์ล้มลงแล้วต่างปล้ำทำร้ายกัน จนร่างกายฟกช้ำดำเขียวไปทั้งสองฝ่าย โจทก์ด่าจำเลยว่าอีสัตว์อีเหี้ย จำเลยด่าโจทก์ว่า "อ้ายแก่อ้ายเนรคุณกูไม่นับถือมึง" มีคนห้ามจึงเลิกกัน ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์และจำเลยมาสถานีตำรวจ เรื่องจำเลยหาว่าโจทก์ลักโฉนด เกิดโต้เถียงกันอีก จำเลยด่าโจทก์ว่า "มึงเนรคุณกู กูไม่นับถือมึง แก่แล้วยังบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก" ทั้งนี้ ต่อหน้าคนหลายคนเช่นนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว คือจำเลยผู้รับได้ทำให้โจทก์ผู้ให้ เสียชื่อเสียงและหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงเพราะจำเลยได้ว่าโจทก์ข่มขืนเด็ก ซึ่งเป็นความผิดอันจักต้องโทษทางอาญา การกล่าวอ้างทั้งนี้จะถือว่าเป็นเพียงการด่าว่าโต้ตอบกันไปมาระหว่างจำเลยกับโจทก์ไม่ได้ เพราะคำที่กล่าวนั้น มิใช่เพียงคำหยาบที่ไร้ความหมาย หรือที่มิได้ตั้งใจจะให้มีความหมายนอกไปจากเป็นคำหยาบหากแต่เป็นคำกล่าวยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยยกขึ้นว่าเอากับโจทก์ว่าบ้าตัณหาข่มขืนเด็กกรณีดังนี้ โจทก์ย่อมถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการถอนคืนการให้ทรัพย์สิน กรณีบุตรกล่าวหาบิดาข่มขืนเด็ก
แม้จำเลยซึ่งเป็นบุตรสาว จะได้อยู่บ้านปรนนิบัติโจทก์ผู้เป็นบิดามาแต่ผู้เดียวในเวลา เดียวกับที่พี่ ๆ น้อง ๆ ไปศึกษาเล่าเรียกหรือไปอยู่ต่างจังหวัดก็ดี การที่โจทก์ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นจำนวนมากราคาสูง และเป็นทรัพย์ส่วนใหญ่ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนบุตรคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า เนื่องจากจากเหตุบางประการที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งในสำนวน เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จำเลยเป็นบุตรสาวของโจทก์ เวลากลางคืนโจทก์ไปตามเด็กหญิง คนใช้ที่บ้านพักจำเลยโดยหาว่าจำเลยเอาเด็กนั้นมากักขังไว้ โจทก์จะให้เด็กกลับบ้านโจทก์ จำเลยไม่ยอม หาว่าโจทก์ปลุกปล้ำเด็กจะเอาเป็นภรรยา เด็กไม่ยอมจึงวิ่งมาหาจำเลย โจทก์จำเลยเถียงกัน จำเลยค่าโจทก์ว่า ไอ้แก่ กูไม่นับถือมึง อ้ายพ่อฉิบหาย โจทก์ตบหน้าจำเลย จำเลยถีบเอาโจทก์ ล้มลง แล้วต่างปล้ำทำร้ายกัน จนร่างกายฟกช้ำดำเขียว ไปทั้งสองฝ่าย โจทก์ด่าจำเลยว่า อีสัตว์อีเหี้ย จำเลยด่าโจทก์ว่า อ้ายแก่ อ้ายเนรคุณ กูไม่นับถือมึง มีคนห้ามจึงเลิกกัน ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์และจำเลยมาสถานีตำรวจ เรื่องจำเลยหาว่าโจทก์ลักโฉนด เกิดโต้เถียงกันอีก จำเลยค่า โจทก์ว่า มึงเนรคุณกู กูไม่นับถือมึง แก่แล้วยังบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก ทั้งนี้ ต่อหน้าคนหลายคน เช่นนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการประพฤติเนรคุณ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) แล้ว คือจำเลยผู้รับได้ทำให้โจทก์ ผู้ให้ เสียชื่อเสียงและหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง เพราะจำเลยได้ว่า โจทก์ข่มขืนเด็ก ซึ่งเป็นความผิดอันจักต้องโทษ ทางอาญา การกล่าวอ้าง ทั้งนี้ จะถือว่าเป็นเพียงการค่าว่า โต้ตอบกันไปกันระหว่างจำเลยกับโจทก์ไม่ได้เพราะคำที่กล่าวนั้น มิใช่เพียงคำ หยาบที่ไร้ความหมาย หรือที่มิได้ตั้งใจจะให้มีความหมาย นอกไปจากเป็นคำหยาบ หากแต่เป็นคำกล่าวยืนยัน ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยยกขึ้นว่าเอากับโจทก์ว่าบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก กรณีดังนี้ โจทก์ย่อม ถอนคืนการให้ได้
of 24