พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษาหลังคดีถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจดำเนินการได้
เมื่อเสร็จการพิจารณาแล้ว ก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งอายัดหรือให้ระงับการโอนที่ดิน ของจำเลยไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 254, 255, 257 ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและมีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุด ดังนี้ ศาลฎีกาไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาว่า ด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออายัดทรัพย์หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่อาจดำเนินการได้
เมื่อเสร็จการพิจารณาแล้ว ก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งอายัดหรือให้ระงับการโอนที่ดินของจำเลยไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254,255,257 ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและมีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุด ดังนี้ ศาลฎีกาก็ไม่อาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิการจับจองและอำนาจของเจ้าพนักงาน
ผู้ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินในระหว่างระยะเวลาที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 บังคับไว้ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศใช้ ผู้นั้นก็มิได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำรับรองว่าที่ดินได้ทำประโยชน์แล้วในกำหนด 180 วันนับแต่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับตามมาตรา 7 วรรค 2 ถือว่า ที่ดินนั้นปลอดจากการจับจอง ผู้นั้นเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่โดยชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติออกโฉนด ที่ ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 15 ก็ดี ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ก็ดี ย่อมให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกคำสั่งบังคับให้ผู้ครอบครองที่ดินนั้น ออกไปจากที่ดินได้อยู่
นายอำเภอได้ออกคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122 และพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้
นายอำเภอได้ออกคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122 และพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดินมีผลบังคับใช้ และอำนาจสั่งขับไล่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินในระหว่างระยะเวลาที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 บังคับไว้ เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินประกาศใช้ ผู้นั้นก็มิได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้คำรับรองว่าที่ดินได้ทำประโยชน์แล้วในกำหนด 180 วันนับแต่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับตามมาตรา 7 วรรคสองถือว่าที่ดินนั้นปลอดจากการจับจอง ผู้นั้นเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา 15 ก็ดีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ก็ดี ย่อมให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกคำสั่งบังคับให้ผู้ครอบครองที่ดินนั้นออกไปจากที่ดินได้อยู่
นายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้
นายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่มาตรา 122และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 ให้ผู้ที่เข้าครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินออกไปจากที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจับกุมของสารวัตรกำนัน และความผิดต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
สารวัตรกำนันเป็นผู้ช่วยกำนัน เมื่อกำนันมีหน้าที่และอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด สารวัตรกำนันก็ย่อมช่วยกำนันทำการจับกุมผู้กระทำความผิดได้ และการช่วยทำการจับกุมผู้กระทำผิดนี้ ไม่จำเป็นจะต้องให้กำนันเรียกร้องให้ช่วยหรือต้องมีตัวกำนันอยู่ด้วย เพราะกฎหมายให้มีหน้าที่ช่วยกำนันอยู่ในตัวเป็นปกติแล้ว เมื่อจำเลยต่อสู้และทำร้ายสารวัตรกำนันในการจับกุมจำเลยและควบคุมจำเลยส่งพนักงานสอบสวน ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยต่อสู้ผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และทำร้ายผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามมาตรา 289 อันเป็นความผิดตามมาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสารวัตรกำนันในการจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
สารวัตกำนันเป็นผู้ช่วยกำนัน เมื่อกำนันมีหน้าที่และอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด สารวัตรกำนันก็ย่อมช่วยกำนันทำการจับกุมผู้กระทำผิดนี้ ไม่จำเป็นจะต้องให้กำนันเรียกร้องให้ช่วยหรือต้องมีตัวกำนันอยู่ด้วย เพราะกฎหมายให้มีหน้าที่ช่วยกำนันอยู่ในตัวเป็นปกติแล้ว เมื่อจำเลยต่อสู้และทำร้ายสารวัตรกำนันในการจับกุมจำเลยและควบคุมจำเลยส่งพนักงานสอบสวน ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยต่อสู้ผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติตามหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และทำร้ายผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตาม มาตรา 289 อันเป็นความผิดตามมาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมและแก้ไขผลกระทบต่อคู่ความได้
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เรื่องระบุพยานหลักฐานนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ตอน คือ ตอนแรกว่า ด้วยการระบุพยานหลักฐานครั้งแรก ตอนที่ 2 ว่าด้วยการระบุพยานเพิ่มเติม ให้ระบุเพิ่มเติมได้เสมอในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ ตอนที่ 3 ว่าด้วย การระบุพยานหลักฐาน จะเป็นระบุครั้งแรกก็ดี ระบุเพิ่มเติมก็ดี หากไม่เข้าตอน 1 และ 2 แล้ว ต้องขออนุญาตศาลก่อน ความประสงค์ของบทบัญญัตินี้ก็เพื่อมิให้คู่ความจู่โจมกันในทางพยานหลักฐานโดยไม่รู้สึกตัว ในทางปฏิบัติ จึงชอบที่จะพิจารณาว่า การที่คู่ความฝ่ายใดไม่ระบุพยานภายในกำหนด นั้น เป็นโดยประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี หรือว่าพลั้งพลาดไป หาได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีไม่ และการที่ไม่ระบุพยานนั้น มีทางพอจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือไม่ หากเป็นเรื่องไม่ใช่เอาเปรียบและมีทางจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งระบุพยานเพิ่มเติมบ้าง เสียค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องเลื่อนคดีเป็นต้น ก็ชอบที่ศาลจะใช้อำนาจตามตอน 3 โดยสั่งตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ตัวความตามสมควร
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงสืบ พยานที่ระบุขอสืบ ก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาศจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้ เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ 492/2500 ประกอบ)
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงสืบ พยานที่ระบุขอสืบ ก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาศจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้ เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ 492/2500 ประกอบ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานหลักฐานล่าช้า ศาลพิจารณาเจตนาและแก้ไขเยียวยาความเสียหายได้ เพื่อความเป็นธรรม
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88เรื่องระบุพยานหลักฐานนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ตอน คือตอนแรกว่าด้วยการระบุพยานหลักฐานครั้งแรก ตอนที่ 2ว่าด้วยการระบุพยานเพิ่มเติมให้ระบุเพิ่มเติมได้เสมอในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ ตอนที่ 3 ว่าด้วย การระบุพยานหลักฐาน จะเป็นระบุครั้งแรกก็ดี ระบุเพิ่มเติมก็ดี หากไม่เข้าตอน 1 และ 2 แล้ว ต้องขออนุญาตศาลก่อน ความประสงค์ของบทบัญญัตินี้ก็เพื่อมิให้คู่ความจู่โจมกันในทางพยานหลักฐานโดยไม่รู้สึกตัว ในทางปฏิบัติจึงชอบที่จะพิจารณาว่า การที่คู่ความฝ่ายใดไม่ระบุพยานภายในกำหนดนั้น เป็นโดยประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี หรือว่าพลั้งพลาดไป หาได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีไม่ และการที่ไม่ระบุพยานนั้น มีทางพอจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือไม่ หากเป็นเรื่องไม่ใช่เอาเปรียบและมีทางจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายเช่น อาจให้อีกฝ่ายหนึ่งระบุพยานเพิ่มเติมบ้างเสียค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องเลื่อนคดี เป็นต้น ก็ชอบที่ศาลจะใช้อำนาจตามตอน 3 โดยสั่งตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ตัวความตามสมควร
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงลืม พยานที่ระบุขอสืบก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาสจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมย์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ492/2500ประกอบ)
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงลืม พยานที่ระบุขอสืบก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาสจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมย์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ492/2500ประกอบ)