คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจริญ ฤทธิศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนวนเงินยักยอกที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดมีผลผูกพันในการพิจารณาคดีแพ่งตามไปด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกให้จำคุก 6 เดือน รอการลงโทษไว้ 3 ปี และให้ใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 120,000 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 66,000 บาทนอกนั้นยืนดังนี้ คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจำเลยยักยอกเงินเพียง 66,000 บาท จึงเป็นอันยุติ ซึ่งศาลจะต้องถือตามในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมเป็นข้อตกลงแพ้ชนะตามคำท้า
ท้ากันให้ตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม ว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตาย ซึ่งได้พิมพ์ไว้ในโฉนดจริงหรือไม่ แล้วยอมให้ศาลชี้ขาดตามนั้นเป็นข้อแพ้ชนะ เมื่อผู้ตรวจพิสูจน์ลงความเห็นว่า " ไม่ใช่พิมพ์ลายนิ้วมือของพิมพ์ลายนิ้วมือนิ้วเดียวกัน" ดังนี้ ถือว่าตรงตามคำท้าซึ่งคู่ความได้ตกลงกันไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม หากผลตรงตามที่ตกลงกัน ถือเป็นข้อแพ้ชนะ ศาลต้องบังคับตาม
ท้ากันให้ตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตาย ซึ่งได้พิมพ์ไว้ในโฉนดจริงหรือไม่ แล้วยอมให้ศาลชี้ขาดตามนั้นเป็นข้อแพ้ชนะ เมื่อผู้ตรวจพิสูจน์ลงความเห็นว่า "ไม่ใช่พิมพ์ลายนิ้วมือของพิมพ์ลายนิ้วมือนิ้วเดียวกัน" ดังนี้ ถือว่าตรงตามคำท้าซึ่งคู่ความได้ตกลงกันไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีละเมิดและการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับ
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินของโจทก์ที่จำเลยยักยอกเอาไปตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2494 อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง 20 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(1) แต่ต่อมากฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิก และมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน มูลความผิดของจำเลย ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งใช้ในภายหลังและมีอัตราโทษก่อนแก้ไขเบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 131 อันเป็นกฎหมายซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) อายุความฐานละเมิดในทางแพ่งจึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง แม้จำเลยผู้ยักยอกจะยังมิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดอาญา การใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง และการพิสูจน์ความรับผิด
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินของโจทก์ที่จำเลยยักยอกเอาไปตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2494 อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง 20 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตา 78 (1) แต่ต่อมากฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกและมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทนมูลความผิดของจำเลยต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งใช้ในภายหลังและมีอัตราโทษก่อนแก้ไขเบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 อันเป็นกฎหมายซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) อายุความฐานละเมิดในทางแพ่งจึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรค 2 แม้จำเลยผู้ยักยอกจะยังมิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังเวนคืน: สิทธิเจ้าของยังคงอยู่ แม้พ้นกำหนดเวนคืนและมีการครอบครอง
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งประกาศใช้บังคับโดยอาศัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 เมื่อพ้น 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว โดยยังไม่มี พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับอีกฉบับหนึ่ง กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งกำหนดเขตไว้โดยพระราชกฤษฎีกานั้นยังหาได้ตกมาเป็นของทางราชการไม่ แต่ยังเป็นของเจ้าของเดิมอยู่ ฉะนั้น การที่เจ้าของที่ดินเดิมฟ้องทางราชการ ซึ่งยังครอบครองใช้สอยที่ดินนั้นอยู่ โดยมีคำขอให้ขับไล่เจ้าหน้าที่และบริวารออกไปจากที่ดินนั้น และให้รื้อถอนโยกย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินนั้น ห้ามเข้าเกี่ยวข้องโดยมิได้เรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนี้ ย่อมเป็นคำฟ้องคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าธรรมเนียมตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาเวนคืน: สิทธิยังคงอยู่กับเจ้าของเดิมหากไม่มีกฎหมายเวนคืนฉบับใหม่
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งประกาศใช้บังคับโดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2495 เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว โดยยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัยพ์ออกมาใช้บังคับอีกฉบับหนึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งกำหนดเขตไว้โดยพระราชกฤษฎีกานั้นยังหาได้ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ไม่ ที่ดินในส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งถูกกำหนดไว้จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานั้น โดยอ้างว่ากำหนดอายุ 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ยังคงครอบครองใช้สอยที่ดินของโจทก์อยู่ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากพื้นที่ดินของโจทก์ และให้รื้อถอนโยกย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ และห้ามเข้าเกี่ยวข้องโดยมิได้เรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ในชั้นยื่นฟ้องย่อมเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์เสียค่าธรรมเนียมมาตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ2 ก. เป็นการถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรอฟังคดีอาญาอื่นก่อน ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในคดีอาญา ศาลชั้นต้นสั่งในคำฟ้องว่า ให้รอฟังคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งก่อน เมื่อคดีนั้นถึงที่สุดแล้ว จะได้พิจารณาสั่งต่อไป เช่นนี้ ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์อุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลให้รอฟังคดีอื่นก่อน ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยศาลชั้นต้นสั่งในคำฟ้องนี้ว่า ให้รอฟังคดีอีกเรื่องหนึ่งก่อน เมื่อคดีนั้นถึงที่สุดแล้ว จะได้พิจารณาสั่งต่อไป เช่นนี้ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์อุทธรณ์ได้
(หมายเหตุ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเห็นชอบตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว โจทก์ย่อมฎีกาต่อมาอีกได้ภายในหนึ่งเดือน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: ส่วนได้เสียตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)นั้นผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้ มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้ว อ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี
of 24