พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อเป็นการป้องกันตนและชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหา
ข้อความที่จำเลยโฆษณาออกอากาศทางวิทยุและพิมพ์แถลงการณ์ออกแจกจ่าย จะเป็นหมิ่นประมาทโจทก์ต่อเมื่อเป็นการใส่ความหากข้อความนั้นเป็นการชี้แจงแก้ข่าวหรือบทความซึ่งโจทก์ตำหนิจำเลยก่อนอย่างรุนแรงและทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนตามคลองธรรมโดยสุภาพแล้ว ก็ได้รับยกเว้นโทษ
เมื่อมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ศาลก็พิพากษายกฟ้อง
พนักงานอัยการมีอำนาจเข้าเป็นทนายแก้ต่างนายกเทศมนตรีซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ได้ แม้จะเป็นการแก้ต่างจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลแขวง เพราะกฎหมายมิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าคดีให้เป็นทนายแก้ต่างจำเลยดังเช่นที่กล่าวไว้ชัดในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ
เมื่อมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ศาลก็พิพากษายกฟ้อง
พนักงานอัยการมีอำนาจเข้าเป็นทนายแก้ต่างนายกเทศมนตรีซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ได้ แม้จะเป็นการแก้ต่างจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลแขวง เพราะกฎหมายมิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าคดีให้เป็นทนายแก้ต่างจำเลยดังเช่นที่กล่าวไว้ชัดในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องได้แม้มีการมอบอำนาจและมีผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ล.เป็นบิดา ฉ. เป็นมารดาของ ภ.พ.และ อ. เมื่อ ล.ตายศึกพิพาทตกเป็นมรดกแก่ ฉ.ภ.พ. และ อ. ผลที่สุดเมื่อ ฉ. ตายอีกก็ตกเป็นมรดกแก่ ภ.พ. และอ. พ. และอ. มอบให้ ภ. เป็นผู้จัดการ ภ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่ง หนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของ ล. หรือ ฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส.นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ 1358 ไม่ตรงกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่า โดยระบุชัดถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และอำนาจฟ้อง
ล. เป็นบิดา ฉ.เป็นมารดาของภ.พ.และอ. เมื่อ ล. ตาย ตึกพิพาทก็ตกเป็นมรดกแก่ฉ.ภ.พ.และอ. ผลที่สุดเมื่อฉ. ตายอีก ก็ตกเป็นมรดกแก่ภ.พ.และอ. พ.และอ.มอบให้ภ. เป็นผู้จัดการภ.มอบอำนาจให้ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่งหนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของล.หรือฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส. นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ1358 ไม่ต้องกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไปเป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไปเป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทวงหนี้ไม่ใช่ค่าไถ่ แม้มีลักษณะรุนแรง ไม่เข้าข่ายความผิดฐานจับคนเพื่อค่าไถ่
จำเลยถูกสลากกินรวบแล้วไปเอาเงินที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้ามือ แต่ผู้เสียหายไม่ให้ จำเลยกับพวกตามไปพบผู้เสียหายแล้วพาผู้เสียหายขึ้นรถไปด้วยกัน จำเลยได้ให้ผู้เสียหายเขียนหนังสือถึงภริยาให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือและได้ให้ผู้เสียหายทำสัญญากู้เงินจำเลยเท่าจำนวนที่ถูกสลากกินรวบไว้แล้วให้ผู้เสียหายกลับไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยเป็นเพียงแต่จะทวงเอาเงินซึ่งจำเลยเชื่อว่าควรจะได้เงินประเภทนี้จึงไม่ใช่สินไถ่หรือค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อค่าไถ่อันเป็นองค์ความผิดประการสำคัญตามมาตรานี้จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจับคนเพื่อค่าไถ่ตามมาตรา 313
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทวงหนี้ไม่ใช่ค่าไถ่ ไม่เป็นความผิดฐานจับคนเรียกค่าไถ่
จำเลยถูกสลากกินรวบแล้วไปเอาเงินที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้ามือ แต่ผู้เสียหายไม่ให้ จำเลยกับพวกตามไปพบผู้เสียหายแล้วพาผู้เสียหายขึ้นรถไปด้วยกัน จำเลยได้ให้ผู้เสียหายเขียนหนังสือถึงภริยาให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือและได้ให้ผู้เสียหายทำสัญญากู้เงินจำเลยตามจำนวนที่ถูกสลากกินรวบไว้แล้วให้ผู้เสียหายกลับไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยเป็นเพียงแต่จะทวงเอาเงินซึ่งจำเลยเชื่อว่าควรจะได้ เงินประเภทนี้จึงไม่ใช่สินไถ่หรือค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 การกรทะำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อค่าไถ่อันเป็นองค์ความผิดประการสำคัญตามมาตรานี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจับคนเพื่อค่าไถ่ตามมาตรา 313
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธอันตราย ตำแหน่งบาดแผลบ่งชี้ถึงเจตนา
จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมแทงท้องผู้ตาย แผลลึกถึง 12 ซ.ม. แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรง และตำแหน่งบาดแผลคือที่ท้องนั้น เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยเลือกแทงที่สำคัญ ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะต้องถึงตาย เช่นนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า พิจารณาจากลักษณะบาดแผลและการเลือกทำร้ายที่สำคัญ
จำเลยใช้มีดพกปลายแหลมแทงท้องผู้ตายแผลลึกถึง 12 เซ็นติเมตร แสดงว่าจำเลยแทนโดยแรงและตำแหน่งบาดแผลคือที่ห้องนั้นเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยเลือกแทนที่สำคัญ ผู้กระทำย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นแล้วว่าจะต้องถึงตาย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ฟ้องคดีโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม (คนอนาถา) และการเพิกถอนคำสั่ง
ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาเมื่อในระหว่างพิจารณาปรากฏว่า โจทก์มีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมได้ ศาล ก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาเสียได้ คำสั่งเช่นนี้ถือเท่ากับศาลได้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งนี้ภายใน 7 วัน ตาม มาตรา 156 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ฟ้องมีทรัพย์สินเพียงพอชำระค่าธรรมเนียม
โดยปกติกระบวนพิจารณาใดที่ศาลได้สั่งไปแล้ว ต่อมาเห็นว่ายังไม่เหมาะสมเพื่อให้การพิจารณาได้ดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมและเหมาะสม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ แล้วสั่งใหม่ตามที่เห็นควร ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถา ในระหว่างพิจารณาปรากฎว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมได้ศาลก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาเสีย คำสั่งเช่นนี้ ถือเท่ากับศาลได้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งนี้ภายในกำหนด 7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำพิพากษาที่พิมพ์ตก ศาลมีอำนาจอธิบายได้ หากบริบทโดยรวมแสดงเจตนาให้ริบของกลาง
ศาลชั้นต้นอ่านต้นร่างคำพิพากษาให้ลงโทษและริบของกลางแล้ว ในสารบบคำพิพากษาก็ลงว่า ริบของกลาง แต่เวลาพิมพ์คำพิพากษาพิมพ์ตกข้อความไม่มีว่า ริบของกลาง โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นอธิบายคำพิพากษาได้