คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจริญ ฤทธิศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: การรื้อรั้วผิดกฎหมายและการต่อสู้ขัดขวาง
เจ้าพนักงานมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ให้จัดการรื้อรั้วไซมานและจ้างคนให้ทำการรื้อโดยอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานโดยใกล้ชิด จำเลยทราบแล้วยังขืนเข้าผลักคนรื้อเพื่อขัดขวางการรื้อ ย่อมมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: การรื้อรั้วผิดกฎหมายและการขัดขวางการรื้อ
เจ้าพนักงานมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ให้จัดการรื้อรั้วไชมานและจ้างคนให้ทำการรื้อโดยอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานโดยใกล้ชิด จำเลยทราบแล้วยังขืนเข้าผลักคนรื้อเพื่อขัดขวางการรื้อ ย่อมมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะหนี้กู้ยืมมีประกัน vs. จำนำ และการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปโดยนำใบรับของคลังสินค้ามามอบไว้ ดังนี้ เป็นการกู้เงินโดยมีใบรับของคลังสินค้าเป็นประกันมิใช่จำนำ และต่อมาจำเลยก็นำสินค้านั้นขายไปหมดแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะการกู้เงินที่มีหลักประกัน (ใบรับของคลังสินค้า) และผลกระทบต่อการเป็นเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย รวมถึงผลของการย้ายที่อยู่เพื่อเลี่ยงหนี้
ทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์ และรับเงินไปโดยนำใบรับของคลังสินค้ามามอบไว้ดังนี้ เป็นการกู้เงินโดยมีใบรับของคลังสินค้าเป็นประกัน มิใช่จำนำ และต่อมาจำเลยก็นำสินค้านั้นขายไปหมดแล้วโจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวรเมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบเวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่ เพื่อประวิงการชำระหนี้ หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา8(4)ข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439-440/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการจากการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจากเอกสารปลอม: ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่อหากไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสัญญา
จำเลยทั้งสองรับราชการกรมไปรษณีย์ฯ คนหนึ่งเป็นหัวหน้าแผนกตรวจจ่าย กองบัญชี อีกคนหนึ่งรักษาราชการแทนหัวหน้าแผนกเดียวกันนี้เสมียนในแผนกนี้ได้เซ็นรับรองในใบสำคัญเอกสารขอเบิกเงินค่าเสาโทรเลขจากกรมไปรษณีย์ฯ ซึ่งเป็นเอกสารปลอม ที่เกิดการทุจริตรายนี้ก็เพราะมีการปลอมลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ซึ่งยากที่จำเลยจะทราบได้ เมื่อมีลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ทั้งมีตราประทับมาด้วยจำเลยก็น่าจะเชื่อว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงจำเลยจึงได้เซ็นรับรองในใบสำคัญนั้นในช่องที่มีตัวพิมพ์ไว้ว่า ตรวจถูกต้อง ทั้งนี้ โดยจำเลยเชื่อว่าลายเซ็นปลอมนั้นเป็นลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน จึงมิได้เรียกสัญญามาตรวจสอบและไม่มีระเบียบให้เรียกสัญญามาตรวจสอบ แล้วส่งใบสำคัญเหล่านี้ไปยังกองคลังๆ อนุมัติให้จ่ายเงินได้ เป็นเหตุให้กรมไปรษณีย์ฯ เสียหาย ดังนี้ ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยไม่ต้องรับผิด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาจ้างว่าความ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องร้องได้แม้ไม่มีเอกสาร
สัญญาจ้างว่าความ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลายื่นคำให้การ: หลักการนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การนับระยะเวลายื่นคำให้การภายใน 8 วัน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177,178 บัญญัติไว้นั้นต้องนับตามวิธีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158,160 บัญญัติไว้ คือไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยถ้าระยะเวลานั้นผ่อนออกไป ให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้นเป็นวันต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 22 สิงหาคม 2503 ว่าให้ยึดเวลายื่นคำให้การไป 3 วัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการยื่นคำให้การ ต้องนับวันถัดจากวันสั่งขยายเป็นวันแรก
การนับระยะเวลาภายใน 8 วัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177-178 บัญญัติไว้นั้น ต้องนับตามวิธีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158-190 บัญญัติไว้ คือ ไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย ถ้าระยะเวลานั้นผ่อนออกไป ให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้นเป็นวันต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 22 ส.ค. 2503 ว่าให้ยืดเวลายื่นคำให้การไป 3 วัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้ในวันที่ 25 ส.ค. 2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝาก: เจตนาที่แท้จริง ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง หากมีเพียงสัญญาขายฝาก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับไถ่ถอนการขายฝากที่ดินจากโจทก์และโอนคืนที่ดินให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยจริงตามฟ้อง แต่เจตนาอันแท้จริง โจทก์ขอกู้เงินจำเลย 2,500 บาท ให้ที่ดินเป็นหลักค้ำประกัน จึงได้ทำสัญญาขายฝากกันไว้เป็นนิติกรรมอำพราง และโจทก์ยังตกลงรับไปจัดหาประโยชน์จากที่ดินรายนี้ส่งให้จำเลยเดือนละ 125 บาททุกเดือน แต่โจทก์ส่งผลประโยชน์นั้นให้จำเลยเพียงเดือนเดียวแล้วติดค้างไม่ส่งเลย จำเลยจึงไม่ยอมรับไถ่การขายฝาก
เรื่องนิติกรรมนั้น จำเลยว่าโจทก์ขอกู้เงินและให้ที่ดินเป็นประกันเงินกู้ก่อนแล้วจึงตกลงไปทำสัญญาขายฝากกันเพื่อให้การประกันมีผลตามกฎหมาย ดังนี้ หาใช่นิติกรรมอำพรางไม่ เพราะนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยมีแต่ขายฝากเพียงนิติกรรมเดียว การพูดขอกู้เงินเป็นเพียงการพูดจากันอันเป็นเหตุนำไปให้ทำสัญญาขายฝากเท่านั้น
of 24