พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโมฆะเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย (โรงแรมในที่ธรณีสงฆ์) คู่กรณีไม่ต้องรับผิดซึ่งกันและกัน
เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกันโดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อจะประกอบธุรกิจโรงแรมในอาคารพิพาททั้ง ๆ ที่มีกฎหมายห้ามไว้เช่นนี้จึงเป็นการที่จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์โดยมีวัตถุประสงค์ในมูลเหตุชักจูงใจเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาเช่าจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
เมื่อสัญญาเช่าเป็นโมฆะโจทก์จะมาเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจากจำเลยไม่ได้ ส่วนการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากสัญญาเช่าที่เป็นโมฆะจะต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทโดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นการผิดกฎหมาย จึงถือว่าการที่โจทก์จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งโจทก์และจำเลยหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 และเมื่อโจทก์กับจำเลยต่างก็กระทำการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยจะมาฟ้องแย้งว่าโจทก์กระทำละเมิดหลอกลวงจำเลยด้วยการปกปิดความจริงในเหตุทั้งสาม ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างที่จำเลยนำสืบไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อสัญญาเช่าเป็นโมฆะโจทก์จะมาเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจากจำเลยไม่ได้ ส่วนการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากสัญญาเช่าที่เป็นโมฆะจะต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทโดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นการผิดกฎหมาย จึงถือว่าการที่โจทก์จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ทั้งโจทก์และจำเลยหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 และเมื่อโจทก์กับจำเลยต่างก็กระทำการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยจะมาฟ้องแย้งว่าโจทก์กระทำละเมิดหลอกลวงจำเลยด้วยการปกปิดความจริงในเหตุทั้งสาม ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างที่จำเลยนำสืบไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัส และการวินิจฉัยความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่า
พวกของจำเลยทั้งสามรุมทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง โดย ณ. ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้งเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเจตนาของจำเลยที่ 2 เป็นคนละเจตนากับ ณ. ที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่า ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นหรือคบคิดกับ ณ. ในการใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดในผลของการกระทำของ ณ. เมื่อตามผลการชันสูตรบาลแผลไม่ปรากฏบาดแผลจากการใช้อาวุธปืนตี คงมีเฉพาะบาดแผลที่ถูกแทง และทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายแก่การจากการกระทำของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 เท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 กับพวกในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ 80 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจด้วย ถือได้ว่าการกระทำตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กเพื่อการค้าประเวณี และแสวงหาประโยชน์จากเด็ก: องค์ประกอบความผิดและขอบเขตความรับผิด
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านของจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ชักชวน แต่ขณะอยู่กับจำเลยที่ร้านก็ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 บิดาตลอดเวลา การที่จำเลยรู้เห็นยินยอมให้ลูกค้าใช้ร้านจำเลยเป็นสถานที่ติดต่อพาผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ออกจากร้านไปทำการค้าประเวณีเพื่อสำเร็จความใคร่ที่อื่น โดยจำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยมิชอบจากค่าสุราอาหารที่ลูกค้าต้องสั่งเพิ่มพิเศษและลูกค้าต้องชำระค่าเสียเวลาให้แก่จำเลย ถือว่าจำเลยกระทำการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 จำเลยจึงมีความผิดฐานปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเด็ก ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) ครบถ้วนแล้ว เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 (เดิม) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบก็คือการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีนั่นเอง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีเด็ก ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (5) ครบถ้วนแล้ว เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 (เดิม) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบก็คือการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4423/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หลังทราบผลตรวจพิสูจน์ ทำให้ไม่อาจส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจ
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้" พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดเวลาให้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องก็เพื่อต้องการให้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องโดยเร็วเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 โดยอ้างว่ากัญชาของกลางมีน้ำหนัก 5.51 กรัม ต่อมาผู้ร้องได้รับรายงานการตรวจพิสูจน์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 16 นาฬิกา ปรากฏว่าน้ำหนักเฉพาะกัญชาของกลาง 4.44 กรัม ไม่เกิน 5,000 มิลลิกรัม จึงเข้าเงื่อนไขของมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 ข้อ 3 (2) อันเป็นพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย แต่ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้มีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยเร็วเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา แต่ผู้ร้องไม่ดำเนินการ กลับยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 และครั้งที่ 4 วันที่ 19 กรกฎาคม 2562 และเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 หลังจากทราบผลรายการตรวจพิสูจน์แล้วถึง 33 วัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงชอบจะยกคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ เบี้ยปรับ มูลค่าลดลงที่กำหนด กับให้คืนรถที่เช่าในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 คงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในส่วนเบี้ยปรับและมูลค่าลดลงที่กำหนดให้เหมาะสมเท่านั้น หนี้ในส่วนค่าเช่าที่ค้างชำระซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฎีกาขอให้นำเงินมัดจำจำนวน 7,984,030 บาท ไปหักออกจากค่าเช่าที่ค้างชำระคงเหลือ 31,806,110.38 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องต้องทำต่อคู่สัญญาทันที การอายัดผ่านบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สัญญาไม่ชอบ
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างเลขที่ T 078/2560 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 บุคคลภายนอกที่จะต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 คือ จังหวัดตาก ผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้าง ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่บุคคลภายนอกที่จะต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญา อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้าง แต่การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดไปยังผู้คัดค้านที่ 1 ตามคำร้องขอของโจทก์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 และ 7 มีนาคม 2560 โดยไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดไปยังจังหวัดตากเลย แม้หลังจากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 แจ้งการอายัดไปยังจังหวัดตากแล้ว ก็ไม่ใช่เป็นการส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดตามกฎหมายจึงไม่มีผลบังคับ
แม้ฎีกาโจทก์ในตอนแรกระบุว่า นายอำเภอแม่สอด ก็เข้าใจได้ว่า คือ อำเภอแม่สอด ผู้คัดค้านที่ 1 นั้นเอง เนื่องจากไม่สามารถแปลได้ว่า คือ ธ. นายอำเภอแม่สอดในขณะนั้น เนื่องจาก ธ. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะนายอำเภอแม่สอด ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ไม่ใช่ในฐานะส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง (เดิม) ถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอก ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างยังไม่มีการอายัด ดังนั้นการที่โจทก์มายื่นคำร้องผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้จังหวัดตากปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้มาเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 321 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนที่จะต้องมีการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดตาก มีการดำเนินการผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำสั่ง อาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 252 จึงต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนนี้และศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งยกคำร้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้เลย
แม้ฎีกาโจทก์ในตอนแรกระบุว่า นายอำเภอแม่สอด ก็เข้าใจได้ว่า คือ อำเภอแม่สอด ผู้คัดค้านที่ 1 นั้นเอง เนื่องจากไม่สามารถแปลได้ว่า คือ ธ. นายอำเภอแม่สอดในขณะนั้น เนื่องจาก ธ. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะนายอำเภอแม่สอด ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ไม่ใช่ในฐานะส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง (เดิม) ถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอก ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างยังไม่มีการอายัด ดังนั้นการที่โจทก์มายื่นคำร้องผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้จังหวัดตากปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้มาเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 321 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนที่จะต้องมีการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดตาก มีการดำเนินการผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำสั่ง อาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 252 จึงต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนนี้และศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งยกคำร้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดีตามกฎหมาย
พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการเดิม ที่รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี ซึ่งไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคต ให้มีระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการใหม่ โดยการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม ตามมาตรา 5 วรรคสอง และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว จึงถือเป็นรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันกับบำนาญบำเหน็จของข้าราชการ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721-6722/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกันทำร้ายร่างกาย: การแบ่งแยกความรับผิดชอบเมื่อการกระทำรุนแรงเกินเจตนาเริ่มต้น
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พูดจาหรือกระทำการใด ๆ อันอาจถือได้ว่าเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วม ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงต้องการชกต่อยทำร้ายโจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำโดยลำพังของจำเลยที่ 1 อันเป็นการตัดสินใจของจำเลยที่ 1 โดยฉับพลันในขณะนั้นเอง ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสจากการถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง จึงมิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายเท่านั้นการพิจารณาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีอาญาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายโจทก์ร่วม ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บจากการถูกชกต่อยทำร้ายแต่ก็ต้องถือว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ชดใช้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางออนไลน์: การระบุตัวผู้ถูกใส่ความและขอบเขตการเผยแพร่สู่สาธารณชน
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อพิจารณาข้อความตามภาพถ่ายแล้ว แม้ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็นโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นอดีตทหารและเช่าที่ดินจาก บ. ซึ่งอยู่ติดสะพานข้ามแม่น้ำแคว เพื่อประกอบกิจการร้านอาหารชื่อ "พ." ซึ่งมีเพียงร้านเดียวในจังหวัดกาญจนบุรีและยังมีข้อพิพาทฟ้องร้องดำเนินคดีกับ บ. ด้วย เมื่อได้อ่านข้อความตามภาพถ่ายดังกล่าวแล้วก็เข้าใจทันทีว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึงนั้นหมายถึงโจทก์ และอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คดีโจทก์จึงมีมูลเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326
ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 นั้น ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโพสท์นิวส์ออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ดังกล่าวเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 นั้น ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโพสท์นิวส์ออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ดังกล่าวเท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษหลายกรรมต่างวาระในความผิดอนาจารและกระทำชำเรา โจทก์มีสิทธิขอให้ลงโทษทุกกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.3 ว่า ต่อมาภายหลังเกิดเหตุตามฟ้องข้อ 1.2 ซึ่งฟ้องข้อ 1.2 เกิดเหตุเมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2559 จนกระทั่งถึงประมาณเดือนเมษายน 2560 ต่อเนื่องกันตลอดมา วันที่เท่าใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน จำเลยกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลย โดยจำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยกระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ด้วยการสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย เพื่อสนองความใคร่ของจำเลย ทั้งนี้ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม โดยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันอีกรวมจำนวนยี่สิบครั้ง การที่ระบุตอนท้ายฟ้องข้อ 1.3 ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันอีก รวมจำนวนยี่สิบครั้ง เป็นการบรรยายรายละเอียดให้เห็นแล้วว่า จำเลยกระทำผิดลักษณะเดียวกันตามฟ้องข้อ 1.3 รวม 20 ครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน และโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทุกกรรม โดยโจทก์อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ 1.3 เพียงกรรมเดียว จึงไม่ถูกต้อง