พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่เรียกร้องทรัพย์สินคืนจากผู้ถือครองแทนห้างฯ
การชำระบัญชีนั้น เป็นกระบวนการที่ผู้ชำระบัญชีเข้าทำการตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน หากปรากฏว่าห้างฯ มีหนี้ค้างชำระอยู่แก่บุคคลภายนอก ผู้ชำระบัญชีก็ต้องจัดการนำทรัพย์สินของห้างฯ ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกให้เสร็จสิ้นไป ในทางกลับกัน หากปรากฏว่าห้างฯ มีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินใด ๆ อยู่แก่บุคคลภายนอก ผู้ชำระบัญชีก็ต้องดำเนินการเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนเข้ากองทรัพย์สินของห้างฯ หากบุคคลภายนอกซึ่งมีทรัพย์สินที่ต้องชำระหรือส่งมอบคืน ไม่ยอมชำระหรือส่งมอบคืน ผู้ชำระบัญชีก็ย่อมต้องฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แทนห้างฯ ซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีถือว่าจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินดังกล่าวคืนมายังกองทรัพย์สินของห้างฯ เพื่อจัดการชำระบัญชีในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมโอนที่ดินคืน ผู้ชำระบัญชีก็ต้องฟ้องร้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินดังกล่าวคืน เพื่อผู้ชำระบัญชีจะได้รวบรวมและจัดการทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปตามกฎหมาย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และขอให้บังคับจำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ และส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์หรือแก่ผู้ชำระบัญชีเป็นการไม่ชอบ เพราะหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการในการชำระบัญชีของห้างฯ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากขาดทุนและข้อพิพาทระหว่างหุ้นส่วน
ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยเหตุกิจการของห้างที่จะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้อีก และผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินคดีฟ้องร้องกันหลายเรื่องจนไม่สามารถจะร่วมทำกิจการต่อไปได้ ทั้งผู้ร้องยกเลิกสัมปทานค้าขายน้ำมัน รื้อถอนถังบรรจุน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันคืนแก่บริษัท อ. ไปแล้ว อันเป็นเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ซึ่งเป็นเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (2) และ (3) หาได้อ้างเหตุผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1057 (1) ไม่ เช่นนี้ ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นผู้ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1057 (1) ดังที่ผู้คัดค้านฎีกาหรือไม่ ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องขอในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกำจัดหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีล่วงละเมิดสัญญาหุ้นส่วน และเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1058 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา 1057 หรือมาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้" กับมาตรา 1057 บัญญัติว่า "ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้หุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้คือ (1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก (3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้" บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวนี้ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนแทนการให้เลิกห้าง จึงได้กำหนดในมาตรา 1058 วรรคหนึ่ง ให้ชัดแจ้งว่าศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนแทนการเลิกห้างเพื่อคุ้มครองผู้เป็นหุ้นส่วนอันจะส่งผลก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งเป็นสัญญาหุ้นส่วน ตามมาตรา 1057 (1) คือ จำเลยได้ยักยอกเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ไป และโจทก์ที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนี้ เมื่อการปรับใช้กฎหมายพึงต้องอนุวัตให้ต้องตามเจตนารมณ์ที่บัญญัติกฎหมายนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะแปลกฎหมายในทางที่ไม่ให้อำนาจผู้เป็นหุ้นส่วนขอให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นที่เป็นเหตุให้เรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนแทนการขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนแต่เพียงอย่างเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงอาจมีคำขอให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นแทนการให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ ตามมาตรา 1058 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง
การที่หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนฟ้องขอให้หุ้นส่วนอื่นออกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากมีเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยหุ้นส่วนอื่นนั้น อันเป็นเหตุให้หุ้นส่วนที่ไม่ได้กระทำผิดนั้นมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล กรณีจึงเป็นข้อพิพาทโดยตรงในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโจทก์ทั้งหกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ หาใช่มีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนแต่อย่างใด และหากศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดออกจากห้างแล้ว การดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็สามารถดำเนินการได้โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นยื่นสำเนาคำพิพากษาต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการต่อไป
การที่หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนฟ้องขอให้หุ้นส่วนอื่นออกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากมีเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยหุ้นส่วนอื่นนั้น อันเป็นเหตุให้หุ้นส่วนที่ไม่ได้กระทำผิดนั้นมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล กรณีจึงเป็นข้อพิพาทโดยตรงในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโจทก์ทั้งหกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ หาใช่มีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนแต่อย่างใด และหากศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดออกจากห้างแล้ว การดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็สามารถดำเนินการได้โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นยื่นสำเนาคำพิพากษาต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากความขัดแย้งรุนแรงและการขาดความไว้วางใจ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: ความไม่ลงรอยกัน, การไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และความเสียหายต่อลูกค้า
สัญญาร่วมลงทุนและแบ่งผลประโยชน์กำหนดหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์รับจะดูแลจัดการเกี่ยวกับการเงินบัญชี การขาย การติดต่อลูกค้า และกิจการอื่น ๆ ที่กี่ยวกับงานของโครงการจัดสรรที่ดินที่ดำเนินการอยู่ ส่วนหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดไว้ว่า รับจะดูแลในการพัฒนาที่ดิน การขอรังวัด แบ่งแยก ออกโฉนดใหม่ ตลอดจนถึงงานด้านสาธารณูปโภค ด้านการขายและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานของโครงการ ตั้งแต่ลงทุนเป็นหุ้นส่วนกันมายังไม่ได้มีการสะสางบัญชีกันเลยว่าจะมีรายรับและรายจ่ายเพียงใด ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองก็ไม่ปรองดองกัน เหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) หากปล่อยให้ห้างหุ้นส่วนดำรงคงอยู่ต่อไป ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างก็มุ่งจะขายที่ดินส่วนที่เหลือและรับเงินจากลูกค้าของตนโดยไม่นำพาต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะเป็นผลเสียต่อหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่งและต่อลูกค้าอันจะเป็นมูลเหตุให้เกิดคดีฟ้องร้องกันต่อไปอีก จึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนและการแบ่งผลกำไรที่ผิดสัญญา ห้างหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: การชำระบัญชีและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยทั้งสองร่วมเป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต่อมาวันที่ 22 เมษายน 2538 โจทก์และจำเลยทั้งสองโต้เถียงกันเพราะไม่ต้องการให้โจทก์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของร้านค้าอีกต่อไป จ. ทนายความของโจทก์จึงเสนอให้เลิกหุ้นส่วนกัน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าทันที หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองก็แยกไปเปิดบัญชีกระแสรายวันแทนบัญชีเดิมของห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าว และมีการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญาต่อกันอีกด้วย ย่อมเห็นได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีเจตนาเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วในวันที่ 22 เมษายนส่วนการชำระบัญชีที่ยังไม่แล้วเสร็จหามีผลให้รับฟังว่าคู่กรณียังคงมีเจตนาร่วมดำเนินกิจการอยู่เช่นเดิมไม่ เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของร้านค้าแม้จะเริ่มกระทำตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จเพราะคู่กรณียังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับผลการตรวจสอบ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 ที่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวให้ถูกต้องและยุติเสียก่อน ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถอนเงินตามคำสั่งศาลเพิกถอนการอายัดก่อนพิพากษา การถอนเกินจำนวนที่ศาลสั่งต้องคืน
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เลิกห้างจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินก่อนพิพากษาโดยคิดตามอัตราส่วนการลงหุ้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 2 โดยแบ่งเป็น9 ส่วน และให้เพิกถอนเพียง 4 ส่วนใน 9 ส่วน เป็นเงิน 26,492,000 บาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสใช้เงินหมุนเวียนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1ต่อไปได้ แม้ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จะแสดงรายละเอียดว่าเงินที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัด 4 ส่วนนั้น เป็นเงิน 48,496,745.08 บาทก็ตามแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเพียง 26,492,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งในยอดเงินดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้เพิกถอนการอายัดนั้นว่าเพียงพอที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่ศาลสั่งได้แม้ส่วนที่เกินจะเป็นเงินดอกเบี้ยของเงินฝากที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดก็ตาม แต่เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เลิกห้างและมีการชำระบัญชีต่อไป จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินส่วนที่ถอนจากธนาคารเกินไปมาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนและการกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: หุ้นส่วนยังไม่เลิกห้าง สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนยังไม่มีผลกระทบต่อผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆ ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246