พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนและการกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: หุ้นส่วนยังไม่เลิกห้าง สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนยังไม่มีผลกระทบต่อผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆ ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงร่วมลงทุนซื้อที่ดินจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน การชำระบัญชีและการฟ้องเรียกเงินจากหุ้นส่วน
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคน ดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทห้างหุ้นส่วน: การผิดข้อตกลงลงทุน, การแบ่งกำไร, และการฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน ย่อมเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลรับไว้พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากเหตุหุ้นส่วนผู้จัดการประพฤติผิดสัญญาและมีเหตุให้ห้างฯ ดำรงอยู่ไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ประพฤติผิดสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดนับว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมสามารถฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ตามกฎหมายขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยได้โดยตรงโดยหาจำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยไม่ เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะแทนโจทก์ที่ 1 และคำขอบังคับก็ได้ระบุขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงโจทก์ที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้หาเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับชำระหนี้ขาดทุนโดยไม่ต้องชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบหนี้สินจากการซื้อเชื่อเพื่อขายผ่อนส่ง แม้ห้างหุ้นส่วนเลิกทำการแล้ว
จำเลยเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ซื้อเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดร.โดยให้ว.นำไปขายผ่อนส่งเพื่อแบ่งกำไรกัน เมื่อ ว.รับเครื่องไฟฟ้าทั้งหมดไปแล้ว ว.มิได้นำไปขายผ่อนส่ง แต่กลับนำไปจำนำและไม่นำเงินมาชำระให้แก่โจทก์และจำเลย โจทก์ต้องชำระค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ส่วนว. ได้หลบหนีไปไม่สามารถติดตามเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำเนินต่อไปได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3) ต้องเลิกกัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ก็ไม่มี คงเหลือ ว. เป็นลูกหนี้ แต่ไม่สามารถที่จะติดตามเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เพราะหลบหนี ส่วนที่ขาดทุนทั้งหมดก็คือเงินทดรองค่าซื้อเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่โจทก์ได้ชำระแก่ห้างร. ไปเพื่อจัดการค้าของห้าง การที่จะให้ดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะคงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์จำเลยนำสืบไว้แล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ส่วนขาดทุนให้แก่โจทก์ไปทีเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญขาดทุน เลิกห้าง-ชำระบัญชี: ศาลสั่งบังคับรับผิดได้ แม้ยังมิได้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: ผู้ร้องมีสิทธิเริ่มคดีทั้งแบบมีข้อพิพาทและไม่มีข้อพิพาท หากมีผู้คัดค้าน ศาลต้องดำเนินคดีแบบมีข้อพิพาท
การขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057 นั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้ หรือจะเริ่มต้นด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้และในกรณีหลังนี้หากมีหุ้นส่วนอื่นไม่เห็นพ้องด้วย ย่อมมี สิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 และศาลต้องดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท